ข่าวประจำวันที่ 26 พฤษภาคม 2566

ข่าวในประเทศ

A person in a pink dress

Description automatically generated with low confidence

นางวรวรรณ ชิตอรุณ

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

 

1. หลายสินค้าส่งออกอ่วมหลังจากทั้งยุโรป-สหรัฐบังคับใช้ CBAM-CCA (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 26 พฤษภาคม 2566)

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า มาตรการปรับภาษีคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดนของสหภาพยุโรป หรือ ซีแบม (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) หนึ่งในมาตรการภายใต้นโยบายแผนปฏิรูปสีเขียวของสหภาพยุโรป เพื่อป้องกันการรั่วไหลของคาร์บอน (Carbon Leakage) และลดความเหลื่อมล้ำในการแข่งขันจากผู้ผลิตต่างชาติที่มีมาตรการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เข้มข้นน้อยกว่าสหภาพยุโรป จะมี ผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ทั้งนี้ คาดว่าจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรั่วไหลของคาร์บอนในกระบวนการผลิต ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ ปุ๋ย พลาสติก และไฮโดรเจน โดย สินค้าไทยที่มีความเสี่ยงและได้รับผลกระทบจากมาตรการนี้มี 3 อุตสาหกรรม ได้แก่ พลาสติก เหล็ก และอะลูมิเนียม ซึ่งในปี 2565 พลาสติกมีมูลค่าส่งออก 676 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือสัดส่วน 2.4% เหล็กอยู่ที่ 201 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 0.7% และอะลูมิเนียม อยู่ที่ 111 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วน 0.4% ของมูลค่าสินค้าทั้งหมดที่ส่งไปยังสหภาพยุโรป

 

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้สหรัฐอเมริกายังอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างกฎหมายการเก็บภาษีคาร์บอน (Clean Competition Act : CCA) เพื่อกำหนดราคาคาร์บอนจากสินค้าที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกเข้มข้นที่ผลิตในประเทศและจากการนำเข้าซีแบมมีผลบังคับใช้วันที่ 1 มกราคม 2569 โดยสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรั่วไหลของคาร์บอนซีแบมที่ไทยส่งไปสหรัฐอเมริกามี 2 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ พลาสติกและอะลูมิเนียม ในปี 2565 โดยพลาสติกมูลค่าส่งออกรวม 1,245 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 2.1% และอะลูมิเนียมอยู่ที่ 884 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วน 1.5% ของมูลค่าสินค้าที่ส่งไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศไทยจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการซีแบม แม้ปัจจุบันสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาไม่ใช่ตลาดหลักที่ไทยส่งออกสินค้าดังกล่าวข้างต้นที่มีความเสี่ยงสูงต่อการปล่อยคาร์บอน แต่จะเป็นประโยชน์ต่อไปสำหรับการเตรียมความพร้อมที่จะปรับตัวรองรับการดำเนินมาตรการซีแบมของประเทศอื่นที่มีแนวโน้มจะบังคับใช้ในอนาคต เช่น จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ เป็นต้น

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายกีรติ รัชโน

ปลัดกระทรวงพาณิชย์

 

 

2. พาณิชย์ถกเอกชนดันส่งออกครึ่งปีหลัง (ที่มา: ข่าวสด, ประจำวันที่ 26 พฤษภาคม 2566)

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมจัดทำแผนผลักดันการส่งออกช่วงครึ่งหลังของปี 2566 ร่วมกับทูตพาณิชย์จากทั่วโลก และตัวแทนจากภาคเอกชน เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาผู้ขนส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย ว่า เตรียมผลักดันการส่งออกใน 7 ภูมิภาค รวม 350 กิจกรรม โดยกำหนดเป้าส่งออกดังนี้ 1. ตะวันออกกลาง และแอฟริกา 20% คิดเป็นมูลค่า 5,380 ล้านบาท 2. เอเชียตะวันออกและโอเชียเนีย 2.2% คิดเป็นมูลค่า 4,163 ล้านบาท 3. จีนและฮ่องกง แบ่งเป็นเป้าจีน 1% และเป้าฮ่องกง 2% คิดเป็นมูลค่ารวม 3,238 ล้านบาท 4. ยุโรป เป้า +1% คิดเป็นมูลค่า 2,450 ล้านบาท 5. อเมริกา แบ่งเป็น เป้าอเมริกาเหนือ 4.5% และเป้าละตินอเมริกา 4% คิดเป็นมูลค่ารวม 2,380 ล้านบาท 6. เอเชียใต้ 10% คิดเป็นมูลค่า 980 ล้านบาท และ 7. อาเซียน 6.6% คิดเป็นมูลค่า 808 ล้านบาท โดยจะเดินหน้าเปิดตลาดใหม่ รักษาตลาดเดิม และฟื้นฟูตลาดเก่า ปูพรมเจาะตลาดเมืองรอง โดยเฉพาะในอาเซียน สหรัฐ และยุโรป ทั้งนี้ สำหรับแผนผลักดันส่งออก 7 ภูมิภาครวม 350 กิจกรรม จะช่วยทำให้มูลค่าส่งออกทั้งปีเพิ่มขึ้นได้อีกประมาณ 19,400 ล้านบาท ทำให้มูลค่าการส่งออกรวมปีนี้ น่าจะขยับขึ้นเป็น 290,300-293,000 ล้านเหรียญสหรัฐสูงกว่าเป้าหมายเดิม ที่มูลค่า 289,938-292,809 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่อัตราเติบโตทั้งปีจะยังเท่าเดิมคือเป็นบวก 1-2%

 

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การส่งออกไทยมีปัจจัยเสี่ยงคาดเดาไม่ได้จำนวนมาก อาทิ เศรษฐกิจสหรัฐ การชะลอการฟื้นตัวของจีน ค่าเงินบาทที่ผันผวน ดังนั้น จำเป็นต้องทำแผนผลักดันการส่งออกเข้มข้นช่วงครึ่งปีหลัง ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันทำงานหนักต้องฮึดเชื่อว่าทั้งปีจะโตได้ 1-2% ตามเป้าหมาย เพราะส่งออกได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว

 

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์

รองประธานกรรมการหอการค้าไทย

 

3. ชี้ขึ้นค่าแรงทุบส่งออกพินาศ (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 26 พฤษภาคม 2566)

นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยหลังประชุมร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และทูตพาณิชย์ทั่วโลก เพื่อปรับแผนรับมือการส่งออกในครึ่งปีหลังว่า ผู้ส่งออกมีความเป็นห่วงเรื่องนโยบายการขึ้นค่าแรงของรัฐบาล จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กระทบต่อการส่งออกของไทย เพราะหากค่าแรงขึ้นจะทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่ม และการแข่งขันยากกว่าเดิม กลุ่มนายจ้างไม่ได้คัดค้านการขึ้นค่าแรง แต่การปรับขึ้นค่าแรงตามนโยบายหาเสียงถือว่าอันตรายมากจะทำให้นักลงทุนต้องคิดหนัก โดยเฉพาะบริษัทใหม่ๆ จะชะลอการลงทุนไปเพราะความไม่ชัดเจนของค่าแรง ส่วนบริษัทเก่าที่ลงทุนอยู่แล้วก็จะมีภาระต้นทุนเพิ่มอย่างเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ เมื่อปลายปีที่แล้วเพิ่งมีการขึ้นค่าแรงไปแล้วรอบหนึ่ง ดังนั้นการจะปรับขึ้นอีกนั้นจะต้องดูความเหมาะสมของพื้นที่ด้วย ซึ่งวันนี้ยังไม่รู้ว่ารัฐบาลใหม่เป็นใคร นโยบายค่าแรงสรุปสุดท้ายจะเป็นแบบไหน แต่ที่จริงเรื่องค่าแรงมีกรอบกฎหมายดูแลอยู่แล้ว จึงอยากฝากรัฐบาลใหม่ให้ดูข้อกฎหมาย ระเบียบ และรับฟังความเห็นอย่างรอบด้านทั้งข้าราชการ เอกชน กลุ่มแรงงานเพื่อกำหนดค่าแรงให้เหมาะสม

 

อย่างไรก็ตาม แผลเก่านักลงทุนที่เพิ่งโดนจากการขึ้นค่าแรงรอบก่อน รวมถึงราคาพลังงาน ค่าไฟที่สูงขึ้นยังไม่หายดี หากมีการปรับขึ้นค่าแรงอีก ก็จะยิ่งซ้ำแผลเก่าให้เจ็บกว่าเดิม แต่ไม่ใช่แค่ผู้ส่งออกอย่างเดียวเท่านั้น การขึ้นค่าแรงยังกระทบอีกหลายส่วน เช่น เอสเอ็มอี ภาคการท่องเที่ยวและบริการ ภาคการเกษตร ที่ได้รับผลกระทบเยอะ เพราะภาคแรงงานในระบบเกษตรมี 12 ล้านคน และพืชหลายชนิดทั้ง ปาล์ม ยาง อ้อย ผลไม้ ข้าว ต่างก็ใช้แรงงานในการเก็บผลผลิตทั้งนั้น

 

ข่าวต่างประเทศ

A close up of a flag

Description automatically generated

 

4. สิงคโปร์หวังพึ่งท่องเที่ยวฟื้น หนุนศก.ประเทศพ้นถดถอย (ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, ประจำวันที่ 26 พฤษภาคม 2566)

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก เปิดเผยรายงานว่า รัฐบาลสิงคโปร์เชื่อมั่นว่าการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวที่เข้ามาส่งเสริมภาคการบริการ จะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถหลีกเลี่ยงภาวะเศรษฐกิจถดถอยในปีนี้ได้ แม้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะซบเซาก็ตาม โดยรายงานระบุว่า เจ้าหน้าที่ยังคงคาดการณ์การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) ไว้ที่ระดับ 0.5-2.5% โดยระบุว่า เศรษฐกิจจะขยายตัวในระดับดังกล่าว นอกจากนี้ กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรม (MTI) ยังเผยแพร่การคาดการณ์สำหรับเศรษฐกิจในไตรมาส 1/2566 ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจีดีพีปรับตัวลดลง 0.4% เมื่อเทียบรายปี จากไตรมาส 4/2565 ซึ่งดีกว่าคาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่าจะปรับตัวลดลง 0.7%

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนางยง ยิก เว่ย หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ MTI กล่าวว่า มีการคาดการณ์ว่าจะไม่เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยทางเทคนิคในปีนี้ แต่หากพิจารณาจากความเสี่ยงขาลงต่างๆ และแนวโน้มเศรษฐกิจที่อ่อนแอ จึงไม่สามารถตัดความเป็นไปได้ที่ว่าเศรษฐกิจบางไตรมาสจะหดตัวลงเมื่อเทียบรายไตรมาสในปีนี้ ทั้งนี้ แม้ MTI ยอมรับว่าความเสี่ยงขาลงในเศรษฐกิจโลกได้เพิ่มขึ้นและอาจสร้างภาระต่อการบริโภคและการลงทุนทางธุรกิจมากขึ้น แต่ก็ยังยืนยันว่า ภาคบริการยังคงมีความยืดหยุ่นและมีส่วนทำให้เศรษฐกิจขยายตัว รวมถึงการจ้างงานด้วย

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)