ข่าวประจำวันที่ 30 พฤษภาคม 2566

ข่าวในประเทศ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

 

1. พาณิชย์ปลื้ม THAIFEX คึกคัก เจรจาซื้อขายสินค้า 1.2 แสนล้าน (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 30 พฤษภาคม 2566)

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงผลความสำเร็จงาน แสดงสินค้าอาหาร ปี 2566 "THAIFEX-ANUGA ASIA 2023" ว่าปีนี้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่งภายใต้ความร่วมมืออย่างเข้มแข็งของ 3 ฝ่าย ประกอบด้วย กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หอการค้าไทย และโคโลญเมสเซ่ ร่วมกันจัดงานช่วงวันที่ 23-27 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ที่เมืองทองธานี มีผู้เข้าร่วมงาน 3,034 บริษัท บริษัทไทย 1,109 บริษัท และบริษัทต่างประเทศ 1,925 บริษัท ประกอบด้วย จีน 620 บริษัท เกาหลีใต้ 212 บริษัท เวียดนาม 158 บริษัท มาเลเซีย 109 บริษัท และญี่ปุ่น 57 บริษัท มี 5,859 คูหา จาก 45 ประเทศ ประกอบด้วย เอเชียตะวันออก อาเซียน สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกาออสเตรเลีย ลาตินอเมริกา ตะวันออกกลาง เป็นต้น โดยตลอด 5 วัน มีผู้เข้าชมงานทั้งสิ้น 131,039 คน เพิ่มขึ้น 58% เป็นผู้เข้าร่วมเจรจาการค้า 78,764 ราย เพิ่มขึ้น 53% เป็นชาวต่างประเทศ 16,429 รายเพิ่มขึ้น 150% เป็นจีน เพิ่มขึ้น 2,022% มาเลเซีย เพิ่มขึ้น 127% เวียดนาม เพิ่มขึ้น 79% เกาหลี เพิ่มขึ้น 109% สิงคโปร์ เพิ่มขึ้น 58% และนักธุรกิจชาวไทย 62,335 ราย เพิ่มขึ้น 39% และประชาชนทั่วไปเข้าชมงานเฉพาะวันสุดท้าย วันที่ 27 พฤษภาคม 2566 จำนวนถึง 52,275 คน เพิ่มขึ้น 66% มูลค่าการซื้อขายจากการจัดงาน มีมูลค่าการซื้อขายร่วมกัน 120,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 81.36% เป็นการซื้อขายทันที 1,106 ล้านบาท โดยซื้อขายภายใน 1 ปี 118,600 ล้านบาท ทั้งนี้ สำหรับหมวดสินค้าบริการที่ซื้อขายมากที่สุด 5 ลำดับแรก ประกอบด้วย อาหาร ผักผลไม้ เทคโนโลยีด้านอาหาร เช่น เครื่องจักรอุปกรณ์การทำอาหาร หมวดชากาแฟและการให้บริการด้านอาหาร เช่น การให้บริการองค์ความรู้การทำธุรกิจอาหาร และประเทศที่มีการสั่งซื้อมากที่สุด ประกอบด้วย จีน ไทย สหรัฐอเมริกา มาเลเซีย และญี่ปุ่น

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับงาน THAIFEX-ANUGA ASIA 2023 ในปีนี้ จะมีส่วนสำคัญที่ทำให้ตัวเลขการส่งออก อาหารของไทยในปี 2566 เพิ่มมากขึ้น โดยปีที่แล้วสามารถทำเงินเข้าประเทศได้ถึง 1.36 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 23% ทั้งนี้คาดว่าปีนี้จะสามารถทำเงินเพิ่มจากการส่งออกอาหารได้ถึง 1.5 ล้านล้านบาท ตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้น 10%

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายเกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์

ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์

 

2. สถาบันยานยนต์ชี้รถ EV มาแรงไทยรับมือ รถจีนบุกตลาดหนัก-ลุ้นรัฐบาลใหม่ดันต่อ (ที่มา: ผู้จัดการรายวัน 360 องศา, ประจำวันที่ 30 พฤษภาคม 2566)

นายเกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยว่า ปี 2566 ไทยคาดการณ์ปริมาณผลิตรถยนต์รวม 1.95 ล้านคัน แบ่งเป็นผลิตเพื่อขายในประเทศ 0.90 ล้านคัน และส่งออก 1.05 ล้านคัน การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ขึ้นอยู่ทั้งปัจจัยภายนอกและภายใน โดยปัจจัยภายนอกตลาดส่งออกหลักทั้งอาเซียนและตะวันออกกลางยังคงเติบโต 4% และ 6% ตามลำดับ เพราะเศรษฐกิจฟื้นตัวจากโควิด-19 ส่วนตลาดออสเตรเลียคาดว่าจะทรงตัวเพราะผล กระทบหนี้ครัวเรือนที่สูง ทั้งนี้ ในกลุ่มตลาดหลัก คือ ออสเตรเลียและอาเซียน ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมการใช้งานยานยนต์ไฟฟ้า (EV) มากขึ้น โดยมีทั้งมาตรการด้านอุปสงค์และอุปทาน ทำให้การเติบโตของตลาดส่วนหนึ่งจะมาจาก EV ซึ่งยังไม่ใช่ผลิตภัณฑ์หลักที่ประเทศ ไทยส่งออก จึงอาจทำให้เสียโอกาสการส่งออกบางส่วนได้เช่นกัน สำหรับปัจจัยภายในประเทศขึ้นอยู่กับว่านโยบายของรัฐบาลชุดใหม่จะมีทิศทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างไร แต่เชื่อว่านโยบายของรัฐยังคงมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutral) ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้คาดว่าภาครัฐน่าจะมีมาตรการส่งเสริมยานยนต์คาร์บอนต่ำด้วยเช่นเดียวกัน ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าที่ ทำให้ผู้ผลิตรถยนต์หลายรายจากประเทศจีนตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในการผลิต เนื่องด้วยเหตุผลด้านภูมิรัฐศาสตร์

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันมีผู้ผลิตยานยนต์จากจีนลงทุนในไทย 4 ราย ได้แก่ SAIC (กำลังการผลิต 100,000 คันต่อปี), GWM (กำลังการผลิต 80,000 คันต่อปี), BYD (กำลังการผลิต 150,000 คันต่อปี), NETA (กำลังการผลิต 20,000 คันต่อปี) อยู่ระหว่างจัดตั้งธุรกิจ 2 ราย ได้แก่ GAC Aion และ Chang An Automobile และมีแผนลงทุน 1 ราย ได้แก่ Chery Automobile (ปี 2024) ซึ่งเป็นโอกาสการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ แต่ยังมีประเด็นความท้าทายคือ เงื่อนไขการค้าการลงทุนระหว่างประเทศเปลี่ยนแปลงไป มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศมีน้อยลง เช่น ข้อกำหนดการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ ประกอบกับผู้ผลิตชิ้นส่วนจากจีนมีความสามารถทางเทคโนโลยีสูงกว่าและต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถแข่งขันของผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในประเทศ

 

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ

 

3. ไตรมาสแรกยอดส่งเสริมลงทุนเอสเอ็มอีพุ่ง 50% (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 30 พฤษภาคม 2566)

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือบีโอไอ เปิดเผยว่า ผลจากมาตรการส่งเสริมการลงทุนใหม่ที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566 ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักลงทุน เห็นได้จากสถิติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนไตรมาสแรกปี 2566 มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนรวม 397 โครงการ เพิ่มขึ้น 9% และมีมูลค่าเงินลงทุน 185,730 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 77% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในส่วนของคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนตามมาตรการส่งเสริมเอสเอ็มอี (SMEs) ช่วงไตรมาสแรกปี 2566 มี 12 โครงการ เพิ่มขึ้น 50% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนมีเงินลงทุน 879 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 160% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โครงการที่น่าสนใจ เช่น กิจการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์ Microelectronics, Opto-electronics หรือ Embedded system เงินลงทุน 240 ล้านบาท, กิจการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัด มี 1 โครงการ เงินลงทุน 75 ล้านบาท, กิจการผลิตผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์จากผลผลิตทางการเกษตร ผลพลอยได้หรือเศษวัสดุทางการเกษตร หรือผลิตภัณฑ์จากวัตถุดิบที่มาจากผลพลอยได้หรือเศษวัสดุ หรือของเสียจากการเกษตร เงินลงทุน 59 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม สำหรับยุทธศาสตร์ส่งเสริมการลงทุนใหม่บีโอไอมีหลายมาตรการที่ส่งเสริมผู้ประกอบการ SMEs ไทยให้เข้มแข็ง ดังนี้ 1. มาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับ SMEs โดยให้สิทธิประโยชน์สำหรับกิจการที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรม 2. มาตรการยกระดับ SMEs ไปสู่ Smart & Sustainable Industry 3. มาตรการส่งเสริมให้บริษัทใหญ่ช่วยพัฒนา SMEs ที่เป็น Local Supplier 4. มาตรการส่งเสริมให้บริษัทใหญ่ช่วยพัฒนาผู้ประกอบการในชุมชน 5. มาตรการส่งเสริมให้เกิดการกระจายการลงทุนในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ 6. การส่งเสริมให้ SMEs เข้าไปอยู่ใน Global Supply Chain ของอุตสาหกรรมหลัก และ 7. ส่งเสริมผู้ประกอบการไทยไปลงทุนต่างประเทศ โดยบีโอไอทำงานบูรณาการกับหลายหน่วยงาน เน้นการให้คำปรึกษา จัดหลักสูตรสร้างนักลงทุนไทยในต่างประเทศ (TOISC)

 

ข่าวต่างประเทศ

A picture containing flag, red, carmine, symbol

Description automatically generated

 

4. จีนวอนญี่ปุ่นปลดล็อกส่งออกชิป กำไรภาคอุตฯ ทรุดหนัก อุปสงค์อ่อนแอ มาร์จิ้นหาย (ที่มา: ข่าวหุ้น, ประจำวันที่ 30 พฤษภาคม 2566)

นายหวาง เหวินเทา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน เปิดเผยว่า ต้องการให้ญี่ปุ่นหยุดการควบคุมการส่งออกเซมิคอนดักเตอร์ โดยระบุว่าเป็น “การกระทำที่ผิด” และเป็นการ “ละเมิด” กฎหมายการค้า และเศรษฐกิจสากลอย่างรุนแรง ซึ่งการตั้งมาตรการควบคุมการส่งออกชิปไปยังจีนครั้งล่าสุดนั้นมีขึ้นในช่วงที่หวางเข้าพบกับนายนิชิมุระ ยาสีโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ในงานประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิกที่เมืองดีทรอยต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์ ตกลงทำตามมาตรการสหรัฐฯ ในการควบคุมการส่งออกชิปไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนเมื่อเดือนมกราคมนี้ โดยจะเป็นการจำกัดการขายอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตชิปบางรายการ นอกจากนั้นแล้วยังระงับการส่งออกอุปกรณ์สำหรับผลิตชิปอีก 23 รายการไปยังประเทศใกล้เคียงด้วย ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาประกาศควบคุมการส่งออกไปจีนตั้งแต่ปีที่ผ่านมา เพื่อเป็นการชะลอความสามารถของจีนในการพัฒนาซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถใช้เพื่อพัฒนาระบบอาวุธนิวเคลียร์ และปัญญาประดิษฐ์ได้

อย่างไรก็ตาม ด้านตัวเลขผลกำไรจากภาคอุตสาหกรรมของจีนในสี่เดือนแรกของปีนี้ชี้ให้เห็นถึงการชะลอตัวลง จากการที่บริษัทต่างๆ ยังคงประสบปัญหากดดันจากมาร์จิ้นที่ต่ำ และอุปสงค์ที่อ่อนแอ โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติระบุว่า กำไรในเดือนมกราคม ถึง เมษายน 2566 ลดลงถึง 20.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ในขณะที่ในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้กำไรลดลง 21.4% และในเดือนเมษายนเพียงเดือนเดียว บริษัทที่ทำอุตสาหกรรมเห็นการลดลงของกำไรถึง 18.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ในขณะที่เดือนมีนาคมนั้นกำไรลดลงไป 19.2% โดยการลดลงนี้เป็นผลมาจากความต้องการของครัวเรือนที่ลดลง รวมถึงอุปสงค์ที่อ่อนตัวลงของประเทศคู่ค้าหลักที่จีนส่งออกไปด้วยเช่นกัน

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)