ข่าวประจำวันที่ 31 พฤษภาคม 2566

ข่าวในประเทศ

A person in a suit and tie

Description automatically generated with medium confidence

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

 

 

1. 'รมว.คลัง' มั่นใจเงินเฟ้อปีนี้ขาลง ชี้ต่ออายุลดภาษีดีเซลยังมีเวลา (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 31 พฤษภาคม 2566)

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ทิศทางเงินเฟ้อปีนี้มีแนวโน้มลดลงอยู่ในกรอบ 1-3% เนื่องจากปีที่ผ่านมาเงินเฟ้อลดลงอย่างต่อเนื่อง และครึ่งปีแรกปี 2566 เงินเฟ้อลดต่ำ ต้องรอจับตามองการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่จะประชุมในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นการประชุมครั้งที่ 3 ของปีนี้ ส่วนมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลที่จะสิ้นสุดวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 ระบุว่า ตอนนี้ยังมีเวลาอยู่อีก 2 เดือนที่มาตรการจะสิ้นสุด ซึ่งแนวทางการบริหารจัดหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงนั้น กระทรวงการคลังจะต้องหารือกันกับกระทรวงพลังงานเพื่อที่จะสนับสนุนมาตรการต่อ แต่ตอนนี้ราคาน้ำมันโลกลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้กองทุนน้ำมันสามารถจัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้นซึ่งช่วยให้กองทุนน้ำมันสามารถใช้กลไกของกองทุนเข้ามาบริหารจัดการได้ ทั้งนี้ กองทุนน้ำมันฯ ในขณะนี้มีสภาพคล่อง มีเงินไหลเข้า และมีเงินกู้ที่กระทรวงการคลังค้ำประกันที่มีกรอบวงเงินไว้ให้แล้วประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ซึ่งกระทรวงพลังงานสามารถบริหารจัดการได้ เพราะที่ผ่านมาที่ใช้มาตรการภาษีช่วยนั้นกระทรวงการคลังต้องการให้ผลประโยชน์อยู่กับประชาชน พอราคาน้ำมันลดลงกระทรวงพลังงานก็ลดราคาน้ำมันดีเซลลงมาแล้วระดับหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า ราคาน้ำมันยังเป็นที่น่าจับตา แม้จะการลดกำลังการผลิตของกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันหรือโอเปก คาดอยู่ในกรอบเดิม 70-80 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล โดยราคาตลาดโลกปรับขึ้นไม่เกิน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ซึ่งปกติปรับขึ้น 1-2 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ทั้งนี้ต้องจับตาดูความเคลื่อนไหวเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง

 

นายกีรติ รัชโน

ปลัดกระทรวงกระทรวงพาณิชย์

 

2. เม.ย.ส่งออกติดลบ 7.6% ลุ้นปัจจัยบวกหนุนช่วงครึ่งปีหลัง (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 31 พฤษภาคม 2566)

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงภาวะการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการค้าชายแดนและผ่านแดน ประจำเดือนเมษายน 2566 และ 4 เดือนแรกปี 2566 ว่า การส่งออกของไทยในเดือนเมษายน 2566 มีมูลค่า 21,723.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 7.6% หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัว 6.8% การนำเข้า มีมูลค่า 23,195.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 7.3% ขาดดุล 1,471.7 ล้านเหรียญสหรัฐ และเมื่อคิดเป็นเงินบาท การส่งออกมีมูลค่า 737,788 ล้านบาท หดตัว 5.6% การนำเข้า มีมูลค่า 797,373 ล้านบาท หดตัว 5.4% ขาดดุล 59,584 ล้านบาท ทั้งนี้ ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกกดดันอุปสงค์ด้านการส่งออก ซึ่งหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียยังคงเผชิญกับการส่งออกที่ชะลอตัว แม้ปัจจัยด้านเงินเฟ้อจะชะลอลง แต่ความเปราะบางของภาคธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป กดดันให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวมากขึ้น โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงลดลงตามความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกและราคาพลังงาน ตรงข้ามกับสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดี โดยการส่งออกผลไม้ทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ รวมถึงข้าว ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกไปยังตลาดเป้าหมายขยายตัวในระดับ ที่น่าพอใจโดยเฉพาะตลาดจีน ที่เป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 ของไทย กลับมาขยายตัวสูงถึง 23% สำหรับภาพรวมการส่งออกไทยในช่วง 4 เดือนแรกปี 2566 มีมูลค่า 92,003.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 5.2% และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัว 2.3% การนำเข้า มีมูลค่า 96,519.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัว 2.2% ขาดดุล 4,516.0 ล้านเหรียญสหรัฐ และ เมื่อคิดเป็นเงินบาท การส่งออก มีมูลค่า 3,110,977 ล้านบาท หดตัว 2.2% การนำเข้า มีมูลค่า 3,305,763 ล้านบาท ขยายตัว 0.8% ขาดดุล 194,786 ล้านบาท

 

อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป ประเมินว่าภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังอยู่ในภาวะชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลงแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้หลายประเทศยังคงใช้นโยบายการเงินอย่างเข้มงวด ขณะที่มีความเสี่ยงจากปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ปัญหาวิกฤตการเงินของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ และยุโรป และปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ สร้างความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ การฟื้นตัวของตลาดจีนที่เกิดขึ้นในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เป็นสัญญาณบวกต่อการส่งออกไทย ขณะที่ปัญหาความมั่นคงทางอาหารเกิดขึ้นในหลายประเทศที่ประสบปัญหาภัยแล้งจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในปี 2566 นี้

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายทศพล ทังสุบุตร

อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

 

3. รถจักรยานยนต์เติบโต ดันอีกหลายธุรกิจขยายตัวตามไปด้วย (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 31 พฤษภาคม 2566)

นายทศพล ทังสุบุตร อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ทีมวิเคราะห์ธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้จัดทำบทวิเคราะห์ธุรกิจที่น่าสนใจประจำเดือนเมษายน 2566 พบว่า ธุรกิจจำหน่ายรถจักรยานยนต์ อะไหล่ และบริการที่เกี่ยวเนื่อง มีอัตราการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจที่เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ โดยในปี 2563 จดทะเบียนจัดตั้ง 194 ราย ทุนจดทะเบียน 330.56 ล้านบาท ปี 2564 จัดตั้ง 183 ราย ลดลง 5.67% ทุน 237.35 ล้านบาท ลดลง 28.20% ปี 2565 จัดตั้ง 283 ราย เพิ่มขึ้น 54.64% ทุน 525.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 121.48% ปี 2566 เดือนมกราคม-เมษายน จัดตั้ง 134 ราย เพิ่มขึ้น 39 ราย หรือ 41.06% เดือนมกราคม-เมษายน 2565 จัดตั้ง 95 ราย ทุน 193.06 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 64.94 ล้านบาท หรือ 50.69% เดือนมกราคม-เมษายน 2565 ทุน 128.12 ล้านบาท ส่วนผลประกอบการธุรกิจ ปี 2563 รายได้รวม 3.98 แสนล้านบาท ลดลง 3.69 หมื่นล้านบาท หรือ 8.46% กำไร 3.51 หมื่นล้านบาท ลดลง 1.80 พันล้านบาท หรือ 4.87% และปี 2564 รายได้รวม 3.73 แสนล้านบาท ลดลง 2.49 หมื่นล้านบาท หรือ 6.25% กำไร 2.61 หมื่นล้านบาท ลดลง 9.02 พันล้านบาท หรือ 25.69% แม้ว่าช่วงปี 2562-2564 ธุรกิจมีแนวโน้มของรายได้รวมและผลกำไรที่ลดลง แต่หากพิจารณาถึงขนาดธุรกิจ (S M และ L) จะพบว่า ผลประกอบการส่วนใหญ่มีน้ำหนักอยู่ที่ธุรกิจขนาดใหญ่ (L) โดยสินทรัพย์ของธุรกิจขนาดใหญ่ (L) มีสัดส่วนมากกว่า 70% ของสินทรัพย์ธุรกิจทุกขนาด ดังนั้น เมื่อธุรกิจขนาดใหญ่มีกำไรลดลง จึงส่งผลให้กำไรของธุรกิจในภาพรวมลดลงตามไปด้วย สำหรับการลงทุนในธุรกิจส่วนใหญ่เป็นคนไทย มูลค่าการลงทุน 2.16 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 61.91% ของการลงทุนในธุรกิจทั้งหมด และมีการลงทุนจากชาวต่างชาติ ประกอบด้วย ญี่ปุ่น มูลค่า 1.18 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 33.96% จีน มูลค่า 419 ล้านบาท 1.20% มาเลเซีย มูลค่า 221 ล้านบาท 0.63% และ อื่นๆ 805 ล้านบาท คิดเป็น 2.30%

 

อย่างไรก็ตาม ยังมีหลายปัจจัยหนุนรถจักรยานยนต์ เช่น มีความคล่องตัว หาที่จอดง่าย ประหยัดน้ำมัน ค่าบำรุงรักษาไม่สูง แปลงเป็นเครื่องมือทำมาหากินได้ง่าย ได้รับความนิยมทุกพื้นที่ มีการออกแบบหลากหลายประเภทให้เหมาะกับการใช้งานอีกด้านหนึ่ง รถจักรยานยนต์ยังเป็นของเล่นสำหรับกิจกรรมอดิเรก เป็นของสะสม ส่งผลให้ธุรกิจอื่นที่มีความเกี่ยวเนื่อง เช่น ธุรกิจอะไหล่ตกแต่งรถจักรยานยนต์ ธุรกิจบริการซ่อมบำรุง ได้รับประโยชน์ไปด้วยในขณะเดียวกัน ผู้บริโภคอาจซื้อรถจักรยานยนต์ผ่านระบบสินเชื่อเช่าซื้อ จึงส่งผลให้ธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถจักรยานยนต์เติบโตตามยอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน

 

ข่าวต่างประเทศ

A picture containing flag, red, carmine, symbol

Description automatically generated

 

4. จีนเผย PMI ภาคการผลิต-ภาคบริการลดลงในเดือนพ.ค. เหตุดีมานด์ชะลอตัว (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 31 พฤษภาคม 2566)

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) เปิดเผยรายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนพฤษภาคม 2566 หดตัวลงรุนแรงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ เนื่องจากอุปสงค์ชะลอตัวลง และอาจจะเป็นปัจจัยกดดันให้ทางการจีนออกมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนพฤษภาคมของจีนอยู่ที่ระดับ 48.8 ลดลงจากระดับ 49.2 ในเดือนเมษายน โดยดัชนีที่อยู่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของจีนเข้าสู่ภาวะหดตัว และเป็นการหดตัวที่รุนแรงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 49.4 ส่วนดัชนี PMI ภาคบริการเดือนพฤษภาคมลดลงสู่ระดับ 54.5 จากระดับ 56.4 ในเดือนเมษายน และต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ระดับ 54.9

 

อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนได้รับผลกระทบจากอัตราว่างงานที่พุ่งขึ้นอย่างมากในกลุ่มคนหนุ่มสาว รวมทั้งยอดค้าปลีกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัวต่ำกว่าคาด

        

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)