ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมกราคม 2566

ข่าวในประเทศ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. ตั้งเป้าหมายให้คนไทยดีขึ้น (ที่มา: ไทยโพสต์, ประจำวันที่ 23 มกราคม 2565)

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้บูรณาการความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม จัดโครงการและกิจกรรมเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ 2566 ให้กับผู้ประกอบการและคนไทยทั้งประเทศ ทั้งนี้ ในช่วงก่อนสิ้นปี 2565 กระทรวงอุตสาหกรรมได้เปิดตัวปลัดคนใหม่ อย่าง “ณัฐพล รังสิตพล” ที่มาพร้อมกับนโยบายของกระทรวงฯ ซึ่งเปลี่ยนโฉมให้เป็น MIND ซึ่งได้เตรียมผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยพัฒนาด้วยความยั่งยืนทุกกิจกรรม และโครงการที่พร้อมจะช่วยเหลือผู้ประกอบการในทุกระดับ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ทั้งชุมชน สังคม และอุตสาหกรรมเติบโตไปด้วยกัน โดยแนวทางดังกล่าวมีดังนี้ มิติที่ 1 มุ่งสร้างความสำเร็จให้ภาคธุรกิจ โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) มีนโยบายยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน 2566 ขณะที่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้บริการ ด้านกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) หรือดีพร้อม เดินหน้าจัดงานอุตสาหกรรมแฟร์ “ซื้อของไทย ใช้ของดี สร้างอาชีพ เสริมธุรกิจที่ดีพร้อม” ทั่วประเทศ มิติที่ 2 การดูแลสังคมโดยรอบโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรมได้สั่งการให้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จัดโครงการเหมืองแร่ปลอดภัย ห่วงใยประชาชน ต่อเนื่องปีที่ 6 มิติที่ 3 ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม การลดมลพิษที่เกิดขึ้นจากอุตสาหกรรม และในมิติที่ 4 ของขวัญจากกระทรวงอุตสาหกรรมถึงประชาชน เน้นกระจายรายได้ให้กับประชาชน เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เช่น ดีพร้อม จัดโครงการพัฒนาอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ให้ชุมชนดีพร้อมภายใต้กลไก “คนชุมชนดีพร้อม”

 

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจากการดำเนินงานทั้ง 4 มิตินี้จะทำให้ประชาชนคนไทย รวมถึงผู้ประกอบการไทยนั้น มีศักยภาพและมีชีวิตที่ดีขึ้นตลอดทั้งปี 2566 นี้ โดยการตั้งเป้าหมายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่เรื่องดีๆ นั้นก็ไม่ใช่มีแค่ตัวบุคคลเท่านั้น แต่องค์กรต่างๆ ก็ต้องอาศัยปีใหม่นี่แหละในการตั้งเป้าหมายการดำเนินงานใหม่ๆ เพื่อเป็นแนวทางให้กับบุคลากรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีทิศทางการทำงานไปในแนวทางเดียวกัน

 

A person in a suit sitting at a desk with a microphone

Description automatically generated with medium confidence

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์

รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

 

2. "จุรินทร์" ชง ครม.ไฟเขียว FTA ไทย-อียู (ที่มา: ไทยรัฐ, ประจำวันที่ 27 มกราคม 2566)

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการหารือกับนายวัลดิส โดมโบรฟสกิส รองประธานคณะกรรมาธิการยุโรปด้านเศรษฐกิจและกรรมาธิการยุโรปด้านการค้า หรือรองนายก รัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าของสหภาพยุโรป (อียู) ระหว่างการเดินทางเยือนบรัสเซลส์ เบลเยียม เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 ว่า ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของไทยกับอียูที่ได้เจรจาทำความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ระหว่างกัน โดยฝ่ายการเมืองของทั้ง 2 ฝ่าย ได้ร่วมกันแสดงเจตจำนงเริ่มต้นเจรจาเอฟทีเอ โดยที่แต่ละฝ่ายจะดำเนินกระบวนการภายใน เพื่อนำไปสู่การจัดทำเอฟทีเอต่อไปโดยเร็ว ทั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายการเมืองทั้ง 2 ฝ่าย ประชุมและแสดงเจตจำนงร่วมกันที่จะเริ่มต้นเจรจาเอฟทีเอ โดยในส่วนของไทย จะนำเข้าหารือคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้ความเห็นชอบเจรจาเอฟทีเอไทย-อียู คาดจะนำเข้า ครม.ภายใน 2 สัปดาห์นี้ ส่วนรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีการค้าของอียู จะนำผลการหารือไปดำเนินการขอคำรับรองจากสมาชิก 27 ประเทศ ตั้งเป้าจะดำเนินการตามกระบวนการภายในให้เสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด เพื่อประกาศนับหนึ่งการเริ่มต้นเจรจาอย่างเป็นทางการต่อไป โดยทั้ง 2 ฝ่ายตั้งเป้าว่าจะดำเนินการให้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปีนี้

 

อย่างไรก็ตาม ไทยได้ใช้ความพยายามในการเจรจาทำเอฟทีเอ กับอียูมาเกือบ 10 ปีแล้ว แต่ยังไม่สามารถนับหนึ่งได้อย่างเป็นรูปธรรม จนมาประสบความสำเร็จในครั้งนี้ และหากทำสำเร็จไทยจะเป็นประเทศที่ 3 ในอาเซียนที่มีเอฟทีเอกับอียูต่อจากสิงคโปร์ เวียดนาม ทำให้ไทยจะมีตลาดการค้าที่ได้เปรียบคู่แข่งขันอื่นเพิ่มขึ้นอีก 27 ประเทศ เป็นแต้มต่อสำหรับไทย ทั้งในเรื่องการค้า การค้าบริการ การลงทุน และอื่นๆ ในอนาคต เป็นการสร้างเงิน สร้างอนาคตให้กับประเทศต่อไป สำหรับอียูนับเป็นคู่ค้าอันดับที่ 4 ของไทยรองจากจีน สหรัฐฯ และญี่ปุ่น การค้าระหว่างไทยกับอียู ปี 2565 มีมูลค่า 41,038 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 2.87% สัดส่วนการค้าที่ไทยค้ากับอียู ประมาณ 7% ของการค้ากับโลก ถือว่าเป็นคู่ค้าที่มีความสำคัญ และไทยส่งออกไปอียูปี 2565 มูลค่า 22,794 ล้านเหรียญฯ (843,378 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 5.17%

 

A person speaking into a microphone

Description automatically generated

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี

อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

 

3. 'ดีพร้อม' กางแผนปีกระต่ายเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการ 2.86 หมื่นราย (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 26 มกราคม 2566)

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ ดีพร้อม เปิดเผยว่า ในปี 2565 ดีพร้อม ได้ดำเนินงานตามนโยบายของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขัน ภายใต้ นโยบายดีพร้อมแคร์ (DIPROM CARE) ผ่านกลไก โครงการ/กิจกรรมต่างๆ สามารถพัฒนาผู้ประกอบการมากกว่า 14,000 ราย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมกว่า 7,000 ล้านบาท โดยเฉพาะโครงการอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ให้ชุมชน ดีพร้อม หรือ อาชีพดีพร้อม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งโครงการที่เป็นเรือธงในการฟื้นฟูเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ อีกทั้งยังได้ขยายการให้บริการประชาชนที่เข้าร่วมโครงการกับดีพร้อมจากเดิมเฉลี่ยปีละ 10,000 ราย ไปสู่ 700,000 ราย ส่งผลให้ประชาชนมีศักยภาพทางด้านวิชาชีพเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพต่อยอดธุรกิจ มีรายได้เพิ่มขึ้น สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจในปี 2566 คาดว่า จะขยายตัวต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยบวกจากการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัว อันจะส่งผลดีต่อภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง แต่ยังคงมีความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวังจากความผันผวนของสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจทำให้เกิดการชะงักงันหรือสะดุดของห่วงโซ่ อุปทาน ตลอดจนวิกฤตพลังงานที่ราคายังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับภาวะเงินเฟ้อที่ยังคงกดดัน การบริโภคของภาคครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง และอาจลุกลามซ้ำเติมความเปราะบางทางการเงินให้กับประชาชนบางกลุ่ม อาทิ กลุ่มวิสาหกิจขนาดย่อมและผู้มีรายได้น้อย ดังนั้น จึงต้องเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการให้เข้มแข็งในทุกๆ มิติ ซึ่งจะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการยกระดับเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 นี้ได้กำหนดแนวทางการขับเคลื่อนผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชนมากกว่า 13,000 ราย คาดว่าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่น้อยกว่า 7,000 ล้านบาท และดำเนินกิจกรรมพิเศษ เพื่อยกระดับประชาชนให้สามารถก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ประกอบการในอนาคต โดยมีเป้าหมายไม่น้อยกว่า 15,600 ราย และคาดว่าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยรวมไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท รวมทั้ง 2 โครงการกว่า 28,600 ราย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ กว่า 7,500 ล้านบาท

 

ข่าวต่างประเทศ

Chart, bubble chart

Description automatically generated

 

4. ญี่ปุ่นหั่นเป้าจีดีพีปีนี้เหลือ 1.9% (ที่มา: ข่าวหุ้น, ประจำวันที่ 26 มกราคม 2566)

ธนาคารกลางญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ได้มีการปรับลดคาดการณ์การเติบโต ของเศรษฐกิจในปี 2565/2566 ลงเหลือ 1.9% เทียบกับ 2% ที่เคยคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ พร้อมทั้งลดการคาดการณ์สำหรับปี 2566/2567 ลงเหลือ 1.7% จาก 1.9% และสำหรับปี 2567/2568 จากขยายตัว 1.5% มาอยู่ที่1.1% ทั้งนี้ รัฐบาลคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่น ซึ่งมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่สามของทั่วโลก จะดีขึ้นในอนาคต แต่ญี่ปุ่นจำเป็นต้องระมัดระวังผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ในประเทศจีน หลังจากจีนผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดที่เข้มงวดแล้ว โดยตัวแทนคณะรัฐมนตรี กล่าวในแถลงการณ์ล่าสุดว่า เศรษฐกิจญี่ปุ่นกำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ก็เริ่มเห็นความอ่อนแอปรากฏขึ้นมา

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นยังได้ลดคาดการณ์การส่งออกเป็นครั้งแรกตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี 2554 รวมถึงลดคาดการณ์การนำเข้าเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน โดยในแถลงการณ์เศรษฐกิจเดือนมกราคม ระบุว่า ภาคการส่งออกและการนำเข้าส่งสัญญาณอ่อนตัวลงในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งแตกต่างจากคาดการณ์เมื่อเดือนก่อนหน้าที่มองว่าการส่งออกและการนำเข้าอยู่ในภาวะค่อนข้างทรงตัว ทั้งนี้ การแพร่ระบาดของโรคโควิดครั้งใหม่ ในจีนอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกและการผลิตของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งผลกระทบจะเห็นความชัดเจนขึ้นในเดือนมกราคมนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านอกจากนี้ รัฐบาลยังคงระมัดระวังเกี่ยวกับความเสี่ยงขาลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ท่ามกลางภาวะการเงินตึงตัว อัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับสูง และความผันผวนของตลาดการเงิน

 

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)