ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 1 ของเดือนมิถุนายน 2566

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a desk writing on papers

Description automatically generated with medium confidence

นายณัฐพล รังสิตพล

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. 'ณัฐพล' นำทีมถก APO ยกระดับการผลิตอุตสาหกรรมไทย (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 29 พฤษภาคม 2566)

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม หัวหน้าคณะผู้แทนประเทศไทย ในฐานะ APO Director (ประเทศสมาชิกองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย - Asian Productivity Organization : APO) เข้าร่วมการประชุมประจำปี APO Governing Body Meeting ครั้งที่ 65 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24-26 พฤษภาคม 2566 กล่าวว่า การประชุมประจำปี APO Governing Body Meeting ณ กรุงอูลานบาตอร์ ประเทศมองโกเลีย มีผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงานด้านการเพิ่มผลิตภาพของประเทศสมาชิก (National Productivity Organizations : NPOs) ในระดับปลัดกระทรวง ข้าราชการระดับสูง และประธานบริหารของหน่วยงาน รวมถึงเลขาธิการและคณะทำงานองค์การเพิ่มผลผลิตแห่งเอเชีย สำหรับการประชุมประจำปีฯ ครั้งนี้ เพื่อหารือร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกเกี่ยวกับเรื่องนโยบายและแผนงานเชิงกลยุทธ์แบบพหุภาคี เพื่อการพัฒนาขีดความสามารถของประเทศสมาชิกและในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งพิจารณาอนุมัติแผนงานและงบประมาณดำเนินการประจำปี โดยมีวาระสำคัญคือ การรับรองการจัดสรรงบประมาณประจำปี 2024 การพิจารณาเกณฑ์และเงื่อนไขรางวัล APO Awards ในระดับภูมิภาคและระดับประเทศ ความคืบหน้าการดำเนินกิจกรรมต่างๆ อาทิ กิจกรรมส่งเสริมประชาสัมพันธ์ APO Vision 2025การเสริมสร้างความสามารถทางดิจิทัลของ APO การจัดศูนย์ความเป็นเลิศในด้านต่างๆ การพัฒนาแนวคิด Green Productivity 2.0และการส่งเสริมการจัดตั้ง APO Accreditationในประเทศสมาชิก เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตาม สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (Thailand Productivity Organization : TPO) เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดการองค์กร ที่ให้บริการปรึกษาแนะนำ ฝึกอบรม วิจัยพัฒนา รณรงค์ส่งเสริม และผลักดันให้เกิดขบวนการเพิ่มผลิตภาพเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในทุกภาคส่วนของสังคม นำไปสู่การพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ สำหรับการประชุมครั้งนี้จะช่วยยกระดับศักยภาพด้านผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมไทยให้มีความได้เปรียบทางการแข่งขัน พร้อมเติบโตอย่างยั่งยืนในระดับสากลต่อไป

 

A person speaking into a microphone

Description automatically generated with medium confidence

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี

อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

 

2. ดีพร้อม โชว์ผลสำเร็จ เปิดพื้นที่ช่วยเอสเอ็มอีขายสินค้า คาดเงินสะพัด 15 ล้าน (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 2 มิถุนายน 2566)

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เปิดเผยว่า การส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของภาคอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงและดำเนินกิจการได้เต็มศักยภาพ ถือเป็นอีกหนึ่งพันธกิจที่กระทรวงอุตสาหกรรมให้ความสำคัญ ดังนั้น ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เดินหน้ายกระดับผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมให้เติบโตด้วยกระบวนการทางธุรกิจที่เข้มข้น รวมถึงมีขีดความสามารถในการแข่งขันและยกระดับศักยภาพการประกอบธุรกิจให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ๆ ผ่านนโยบาย "ดีพร้อมโต" โตได้ โตไว โตไกล โตให้ยั่งยืน ล่าสุด ดีพร้อม เร่งเดินหน้าอย่างต่อเนื่องในการช่วยผู้ประกอบการทดสอบตลาดรูปแบบออฟไลน์ในงาน "อุตสาหกรรมแฟร์ : โลจิสติกส์โตไว สินค้าราคาโดนใจ ใส่ใจชุมชน" เมื่อวันที่ 29 – 31 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ณ อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ ภายในงานเป็นการนำสินค้าของผู้ประกอบการที่เคยเข้าร่วมกิจกรรมและโครงการต่างๆ ของดีพร้อมมาทดสอบตลาดและศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภค รวมถึงเป็นการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายและสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมกิจกรรมด้านการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน รวมทั้งเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานและความสำเร็จการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุนผู้ประกอบการของดีพร้อม อีกทั้ง ยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการได้เรียนรู้และสร้างเครือข่ายเกี่ยวกับระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ตลอดจนเป็นการส่งเสริมช่องทางการขายสินค้าที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม สำหรับกิจกรรมภายในงานดังกล่าว ประกอบด้วย 1. การสัมมนาให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการโลจิสติกส์ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้และสร้างเครือข่ายสู่ระบบโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ และ 2. การจำหน่ายสินค้าส่งตรงจากโรงงานกว่า 50 ร้านค้า ประกอบด้วย อาหารและเครื่องดื่ม เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม สุขภาพความงามเครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าอุปโภคบริโภค นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมส่งเสริมการตลาด เช่น การเล่นเกมต่างๆ เพื่อลุ้นรับของรางวัล การสะสมคูปองจากการซื้อสินค้าเพื่อชิงรางวัลใหญ่ เป็นต้น ตลอดทั้ง 3 วันของการจัดงานดังกล่าว เกิดเงินสะพัดหมุนเวียนภายในงานไม่น้อยกว่า 15 ล้านบาท

 

A person in a pink dress

Description automatically generated with low confidence

นางวรวรรณ ชิตอรุณ

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

 

3. หั่นเอ็มพีไอโตสุดได้แค่ 1% (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2566)

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือเอ็มพีไอ เดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ระดับ 83.51 ติดลบ 8.14% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 และต่ำสุดในรอบ 34 เดือน นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2563 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนเมษายน 2566 อยู่ที่ 53.82% ส่งผลให้เอ็มพีไอ 4 เดือน (มกราคม - เมษายน 2566) อยู่ที่ระดับ 96.87 ติดลบ 4.7% โดยสศอ.จึงปรับประมาณการตัวเลขเอ็มพีไอ และผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือจีดีพี ภาคอุตสาหกรรมปี 2566 จากเดิมอยู่ในกรอบโต 1.5-2.5 % เหลือขยายตัวเพียง 0.0-1% จากปีก่อน ทั้งนี้ สำหรับปัจจัยหลักที่ทำให้ค่าเอ็มพีไอเดือนเมษายน 2566 ลดลง เนื่องจากเป็นช่วงที่มีวันหยุดยาว เป็นปกติที่ค่าดัชนีฯ จะลดลงรวมถึงอัตรากำลังการผลิต แต่สัญญาณรุนแรงมากขึ้นมาจากภาวการณ์ส่งออกของไทยที่ชะลอตัวลงตามทิศทางเศรษฐกิจโลกต่อเนื่อง ทำให้ 4 เดือนของปีนี้ เอ็มพีไอยังคงลดลงสอดรับกับทิศทางการส่งออกที่ประเทศคู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อในหลายอุตสาหกรรม และต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลกระทบการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไทยลดลง ซึ่งภาวะเศรษฐกิจโลกที่หดตัวและปัญหา      ภาคการเงินของสหรัฐ ทำให้ประเทศคู่ค้าชะลอคำสั่งซื้อสินค้าในหลายอุตสาหกรรม รวมถึงต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากค่าไฟฟ้าและต้นทุนทางการเงินจากการขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น เริ่มกระทบต่อการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยให้ปรับลดลง และมีผลต่อการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมได้น้อยลง โดยในเดือนพฤษภาคม 2566 คาดการว่า เอ็มพีไอน่าจะขยับขึ้นเล็กน้อย

 

อย่างไรก็ตาม ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนพฤษภาคม ปี 2566 ยังคงส่งสัญญาณเฝ้าระวัง โดยมีปัจจัยบวกจากการบริโภคและการท่องเที่ยว อีกทั้งการลงทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ต้องจับตาดูการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ปัญหาภาคการเงินของสหรัฐ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลต่อผลผลิตการเกษตร อัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ภาระหนี้สินครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง และการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น

 

ข่าวต่างประเทศ

A flag with a red blue and black circle

Description automatically generated with low confidence

 

4. ดัชนี PMI ภาคการผลิตเกาหลีใต้เดือนพ.ค.หดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2566)

เอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยรายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของเกาหลีใต้ประจำเดือนพฤษภาคม 2566 ที่ปรับค่าตามฤดูกาลแล้ว อยู่ที่ระดับ 48.4 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 48.1 ของเดือนเมษายน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวไปลดการผลิตและคำสั่งซื้อ สร้างแรงกดดันต่อผู้ผลิตในเกาหลีใต้ ทั้งนี้ ดัชนีที่อยู่ต่ำกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของเกาหลีใต้กำลังหดตัว และขณะนี้ก็หดตัวเป็นเดือนที่ 11 ติดต่อกันนับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 ถือเป็นสถิติภาวะตกต่ำยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ช่วงต้นปี 2552 โดยผลสำรวจบ่งชี้ว่า ผลผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 และคำสั่งซื้อใหม่ก็ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 ส่วนคำสั่งซื้อส่งออกใหม่ลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 15 แต่ลดลงในอัตราที่ชะลอตัวลง

อย่างไรก็ตาม ในด้านบวก เกาหลีใต้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากที่สุดตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565 ขณะที่ราคาวัตถุดิบเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายน 2563 ส่วนราคาผลผลิตก็ลดลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่นั้นมา โดยบริษัทผู้ผลิตแห่งต่างๆ ให้เหตุผลว่า ความพยายามที่จะกระตุ้นยอดขายและราคาวัตถุดิบที่ลดลงได้ส่งผลให้ราคาขายลดลงนอกจากนี้ ระยะเวลาในการส่งมอบของซัพพลายเออร์เร็วขึ้นกว่าครั้งไหนๆ นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2559 ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสัญญาณเชิงบวกในด้านห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้ ผู้ผลิตมีมุมมองเชิงบวกเกี่ยวกับผลผลิตในอนาคตเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคม 2566 หลังจากที่ลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 4 เดือนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)