ข่าวประจำวันที่ 20 มิ.ย. 2565

ข่าวในประเทศ

Description: C:\Users\Sony\Desktop\1.jpg

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. ส่งออกอาหารพุ่ง ส่อแตะ 1.3 ล้านล้าน / ศึก “ยูเครน” ดัน (ที่มา: เว็บไซต์แนวหน้า, ประจำวันที่ 20 มิถุนายน 2565)

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติรับทราบความคืบหน้าและแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2562-2570) ที่กระทรวงอุตสาหกรรมในฐานะหน่วยงานหลักได้รับมอบหมายให้บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเร่งขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าการส่งออกอาหารแปรรูปของไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2565จะมีมูลค่าประมาณ 600,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น18.4% ส่วนภาพรวมปี 2565 คาดจะถึงจุดสูงสุดเดิมและมีมูลค่ากว่า 1.3 ล้านล้านบาท ทั้งนี้ เพื่อเป็นการพลิกวิกฤตเป็นโอกาสในการรับมือกับสถานการณ์ความมั่นคงด้านอาหารโลก และก้าวสู่ 1 ใน 10 ประเทศผู้ส่งออก ผ่านการขับเคลื่อน4 มาตรการหลักตามแผนปฏิบัติการ เพื่อเร่งสร้างโอกาสสู่การขยายตัวของอุตสาหกรรมในอนาคต โดยมีความคืบหน้า ดังนี้ อาทิ มาตรการการสร้างนักรบอุตสาหกรรมอาหารพันธุ์ใหม่ (Food Warriors)ผ่าน 4 หน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรม (สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และสถาบันอาหาร) ในการพัฒนายกระดับผู้ประกอบการสถานประกอบการและวิสาหกิจชุมชน ผ่านการอบรมและให้คำปรึกษาด้านการเพิ่มผลิตภาพ พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ได้มาตรฐานสากลและมาตรฐานฮาลาล (HALAL) ถ่ายทอดความรู้เชิงธุรกิจและการนำนวัตกรรมมาใช้ในการผลิต มาตรการการสร้างนวัตกรรมอาหารอนาคต มีการเชื่อมโยงกลไกและให้บริการด้านการวิจัยและพัฒนาผ่านเครือข่ายเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย มาตรการที่ 4 สร้างปัจจัยพื้นฐานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมได้จัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร

อย่างไรก็ตาม ด้านนายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่าจากสถานการณ์วิกฤตอาหารโลก ปี 2565ที่ผลผลิตลดลงและราคาปรับตัวสูงขึ้นสร้างความกังวลถึงผลกระทบต่อความมั่นคงอาหารในหลายมิติ ทั้งทางด้านความเพียงพอการเข้าถึงอาหาร โภชนาการ รวมถึงความปลอดภัยนั้น ประเทศไทยเป็นทั้งประเทศที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกอาหารที่สำคัญของโลก โดยมีสินค้าหลักที่ส่งออก ได้แก่ ข้าว(ผลิต 22 ล้านตัน บริโภค 10 ล้านตัน)แป้งมันสำปะหลัง (ผลิต 7 ล้านตัน บริโภค 2 ล้านตัน) โปรตีนจากไก่ และสุกร ขณะเดียวกันยังเป็นประเทศที่พึ่งพิงการนำเข้าอาหาร เช่น ปลาทะเลแช่แข็ง ข้าวสาลี และข้าวโพด ซึ่งในส่วนของสินค้าที่ต้องนำเข้านั้นทางภาครัฐจะมีกลไกในการควบคุม ดูแลไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน และเมื่อพิจารณาในภาพรวมด้านอุปทาน (supply) อาหารของไทยแล้ว คาดว่าประเทศไทยจะไม่ประสบปัญหาวิกฤตความมั่นคงด้านอาหารอย่าง

 

Description: C:\Users\Sony\Desktop\2.jpg

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

2. “สวิส-เกาหลี” ยกระดับEECสู่นิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 20 มิถุนายน 2565)

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบและยินดีกับความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) กับภาคเอกชนชั้นนำจาก ต่างประเทศ เพื่อร่วมเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้เติบโตอย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยช่วงที่ผ่านมา พื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ได้รับความสนใจจากภาคเอกชนชั้นนำต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยล่าสุด ผู้นำเอกชนจากสวิตเซอร์แลนด์ และเกาหลีใต้ กระชับความร่วมมือเพื่อพัฒนาทักษะบุคลากรในพื้นที่ EEC ด้านการแพทย์ และการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสู่นิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ โดยผู้นำเอกชนสวิตเซอร์แลนด์ บริษัท เอบีบี ออโตเมชั่น จำกัด (ประเทศไทย) บริษัท เอบีบี อิเล็คทริฟิเคชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (ABB) บริษัท โรช ไทยแลนด์ (Roche) และคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งผลจากความร่วมมือ ดังกล่าวจะช่วยผลักดันและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยี และเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัล 5G ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยเดินหน้าไปสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 อย่างมีศักยภาพมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ด้านภาคเอกชนเกาหลีใต้ บริษัท Korea Land and Housing Corporation ได้ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ (Smart Industrial Estate) ยกระดับนิคมอุตสาหกรรมสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรม เชิงนิเวศ ส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการเกิดของเสีย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

 

Description: C:\Users\Sony\Desktop\3.jpg

นายคณิศ แสงสุพรรณ

เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

 

 

3. EEC เชื่อม “กองทุนหมู่บ้านฯ-ธกส.-สมาคมกัญชงฯ” หนุนวิสาหกิจชุมชนผลิตสินค้าเสริมรายได้ (ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, ประจำวันที่ 20 มิถุนายน 2565)

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวว่า เพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับชุมชน ควบคู่กับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเร่งสร้างโอกาสเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกร ตลอดจนผู้ประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้างรายย่อยในพื้นที่ให้สามารถฟื้นตัวจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด 19 อีอีซี จึงได้ผลักดัน โครงการส่งเสริมส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน และผู้ค้ารายย่อยในอีอีซี ภายใต้การดำเนินงานของ EEC Enterpriseซึ่งจะดำเนินการสนับสนุนทั้งการสร้างความรู้ พัฒนาทักษะประสบการณ์ ขยายช่องทางจำหน่าย และความสามารถในการขาย พร้อมทั้งจัดหาแหล่งเงินทุนให้ผู้ค้ารายย่อย ชุมชน พัฒนาผลผลิตและสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล คู่ไปกับสร้างเครื่องมือการตลาด นำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ เพื่อให้สินค้าชุมชนและโอทอปเป็นที่รู้จักและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ อีอีซี จะส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการสินค้าชุมชนและโอทอป ผ่านโครงการ EEC Enterprise โดยเป็นการร่วมดำเนินการระหว่าง อีอีซี , สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) ,สถาบันการเงิน และภาคเอกชน ทำหน้าที่ วางแผนการผลิต การตลาด และส่งเสริมการขายอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้วางแนวทางดำเนินงาน EEC Enterprise ใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) สร้างเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จัดขึ้นทะเบียนเป็นสมาชิกชุมชน การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ สนับสนุนการอบรมและพัฒนาทักษะการประกอบการ 2) วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ร่วมกับ สถาบันการศึกษา นำนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามาใช้ในการเพิ่มยอดขาย การสนับสนุนด้านการขนส่งสินค้า และใช้ประโยชน์จาก อีคอมเมิรซ์ เป็นต้น และ 3) ยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชน ร่วมกับภาคเอกชน เพิ่มทักษะการประกอบธุรกิจ รวมทั้งจัดหาแหล่งเงินทุน กองทุนสนับสนุน รองรับการแปรรูปหรือผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานสากล เป็นต้น

นายธัชพล กาญจนกุล รองเลขาธิการ อีอีซี กล่าวว่า ในเบื้องต้นได้ร่วมกับ สทบ. ร่วมดำเนินการคัดเลือกโครงการต้นแบบอาทิเช่น โครงการโรงเรือนกัญชงต้นแบบ ซึ่งเป็นโครงการแรก ของ EEC Enterprise โดยเบื้องต้น สทบ. จะช่วยสนับสนุนการลงทุน ช่วยเหลือในกระบวนการบริหารจัดการ การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ต้นแบบให้แก่เกษตรกร เชื่อมโยงผู้ซื้อผู้ขาย จัดสรรผลผลิตไปยังผู้ซื้อได้โดยตรง สำหรับ ผลประโยชน์รวมที่เกิดขึ้นจาก EEC Enterprise จะสนับสนุนให้ยอดขายสินค้าชุมชนเพิ่มไม่ต่ำกว่า 30% ผลักดัน GDP ระดับชุมชนขยายตัวเพิ่มขึ้น 20% เศรษฐกิจชุมชนที่ประสบความสำเร็จเพิ่มขึ้น 20% ผู้ซื้อสินค้า ผู้บริโภค นักท่องเที่ยวได้สินค้าชุมชน และบริการที่มีคุณภาพ จูงใจให้กลับมาท่องเที่ยวซ้ำ สร้างงาน สร้างอาชีพและรายได้ที่มั่นคง

 

ข่าวต่างประเทศ

Description: C:\Users\Sony\Desktop\4.jpg

 

4. รัสเซียประกาศช่วยฟื้นฟูภูมิภาคดอนบัส ทั้งเศรษฐกิจ-โครงสร้างพื้นฐาน (ที่มา: มติชนสุดสัปดาห์, ประจำวันที่ 20 มิถุนายน 2565)

สำนักข่าวอาร์ทีของรัสเซียรายงานว่า วันที่ 19 มิถุนายน 2565 “เดนิส แมนทูรอฟ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าสหพันธรัฐรัสเซีย ให้สัมภาษณ์ว่า รัสเซียจะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ในการช่วยเหลือสาธารณรัฐโดเนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ในภูมิภาคดอนบัส ฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับความเสียหายจากสงคราม แมนทูรอฟ กล่าวด้วยว่า รัสเซียจะให้คำปรึกษาและดำเนินการตรวจสอบกระบวนการสำหรับอุตสาหกรรมโลหะในสาธารณรัฐดอนบัส ตลอดจนช่วยให้ภาคธุรกิจเริ่มจัดส่งผลผลิตไปยังรัสเซียและประเทศอื่น ๆ ขณะที่กระทรวงการก่อสร้างระบุว่า จะช่วยสร้างใหม่และจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญและเตรียมความพร้อมสำหรับช่วงฤดูหนาว โดยจะให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับโรงเรียน โรงพยาบาล และศูนย์รับเลี้ยงเด็ก รวมถึงที่พักอาศัย

อย่างไรก็ตาม สาธารณรัฐดอนบัสได้ลงนามข้อตกลงความร่วมมือกับหลายภูมิภาคของรัสเซียแล้ว โดย “เซอร์เก โซเบียนิน” นายกเทศมนตรีกรุงมอสโกเพิ่งประกาศว่าผู้เชี่ยวชาญ 300 คนจากมอสโก กำลังทำงานเพื่อฟื้นฟูแหล่งน้ำในโดเนตสก์ ขณะที่ “เดนิส พูชิลิน” ผู้นำกลุ่มแบ่งแยกดินแดนสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์ กล่าวว่า ได้มีการลงนามในข้อตกลงเพื่อซื้ออาหารและวัสดุก่อสร้างจากอิหร่าน เขายังระบุด้วยว่าโดเนสตก์วางแผนจะขายโลหะ เหล็กหล่อ อุปกรณ์ขุด ปุ๋ย และสินค้าอื่น ๆ ให้กับอิหร่านด้วย

 

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)