ข่าวประจำวันที่ 20 มกราคม 2566

ข่าวในประเทศ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

1. 'สุริยะ' สั่งแก้โรงงานปาล์มชะงัก (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 20 มกราคม 2566)

 

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงกรณีสถานการณ์โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและลานเทในหลายจังหวัด หยุดรับซื้อผลปาล์มน้ำมันเป็นการชั่วคราว โดยอ้างเหตุผลการหยุดซ่อมเครื่องจักร ทำให้ผลผลิตตกค้างเป็นจำนวนมาก และราคาผลปาล์มตกต่ำลงอย่างผิดปกติว่า ได้สั่งการให้อุตสาหกรรมจังหวัดลงพื้นที่เพื่อสำรวจ ตรวจสอบ และช่วยเหลือโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มใน 12 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี นราธิวาส สงขลา พัทลุง ระนอง พังงา ปัตตานี และสตูล ทั้งนี้ ทางด้านนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับข้อสั่งการไปดำเนินการ และได้รับรายงานว่าสถานการณ์ราคาผลปาล์มน้ำมันที่ต่ำลง ส่วนหนึ่งมาจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มจำนวนหนึ่งหยุดดำเนินการ ในช่วงเทศกาลปีใหม่นานกว่าปกติ ส่งผลให้มีผลผลิตปาล์มค้างหรือติดคิวอยู่ที่ลานเทและที่โรงงานอาจทำให้ผลปาล์มที่ค้างอยู่บางส่วนมีคุณภาพต่ำและมีความเป็นกรดสูง จึงทำให้อาจมีราคาต่ำลง

อย่างไรก็ตาม ขณะที่ประเด็นการซ่อมเครื่องจักร จากการตรวจสอบล่าสุดเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566 ที่ผ่านมาพบว่า โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มภาคใต้ 83 โรงงาน กำลังการผลิตรวม 3,532.80 ตันต่อชั่วโมง ภายหลังขอ ความร่วมมือให้เปิดดำเนินการ มีเพียงเครือบริษัทเดียวที่มีโรงงานอยู่ทั้งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช ยืนยันจะปิดซ่อมบำรุงเครื่องจักรในช่วงนี้ ส่งผลให้กำลังการผลิตรวมของโรงงานสกัดน้ำมันที่เปิดเดินเครื่องอยู่ที่ 3,487.80 ตันต่อชั่วโมง หรือคิดเป็น 98.83%

 

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

 

2. อาหารและผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงมาแรงในฟิลิปปินส์ (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 20 มกราคม 2566)

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) เปิดเผยว่า ตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้มอบหมายให้กรมฯ สำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยในประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้รับข้อมูลจากนางสาวจันทนา โชติมุณี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา ถึงโอกาสการขยายตลาดสินค้าอาหารและผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยงในตลาดฟิลิปปินส์ ที่กำลังขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากการที่ชาวฟิลิปปินส์หันมาเลี้ยงสัตว์กันมากขึ้น ทำให้มีความต้องการอาหารและผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การเข้าสู่ตลาดฟิลิปปินส์ ผู้ประกอบการไทยควรรักษาจุดแข็งในเรื่องมาตรฐานและความน่าเชื่อถือของสินค้า ควรวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ส่วนการเข้าสู่ตลาด ควรกำหนดกลยุทธ์ด้านราคาอย่างเหมาะสม จับต้องได้เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ของประเทศ แต่ก็ควรพิจารณาเจาะตลาดในระดับกลาง-บนมากขึ้น เนื่องจากสินค้าระดับพรีเมียมเริ่มได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งมีการแข่งขันด้านราคาน้อยกว่า

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้อาจร่วมกับคู่ค้าในฟิลิปปินส์ พิจารณาใช้กลยุทธ์การทำการตลาดแบบผูกปิ่นโต หรือ Subscription.box เพื่อให้ดึงดูดผู้บริโภคและกระตุ้นยอดขายให้เพิ่มมากขึ้น โดยจุดขายหรืออรรถประโยชน์หลักที่ผู้ประกอบการควรพิจารณา ได้แก่ ความคุ้มค่าของราคา คุณค่าทางโภชนาการ และสุขภาพของสัตว์เลี้ยง ความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อ ในส่วนของช่องทางที่เป็นที่นิยมในการจัดจำหน่ายและกระจายสินค้า ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ รวมถึงช่องทางออนไลน์ ส่วนการหาผู้นำเข้าหรือผู้จัดจำหน่ายที่มีศักยภาพในฟิลิปปินส์ ดำเนินการได้หลายแนวทาง โดยเฉพาะการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับตลาดอาหารและผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยง เช่น งาน Pet.Summit Philippines งาน Philippine Pet Expo เป็นต้น หรืองานแสดงสินค้า Thailand Week จัดโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.) ณ กรุงมะนิลา กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ การขอคำแนะนำคำปรึกษา และรายชื่อผู้นำเข้าในฟิลิปปินส์ จาก สคต. ณ กรุงมะนิลา เป็นต้น

 

A person in a suit smiling

Description automatically generated with medium confidence

นายอนุชา บูรพชัยศรี

รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง

 

3. นายกฯ เชื่อมั่นเศรษฐกิจโตต่อเนื่อง มีตัวเลขยืนยันเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง (ที่มา: สยามรัฐ, ประจำวันที่ 20 มกราคม 2566)

นายอนุชา บูรพชัยศรี รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ได้มีการเปรียบเทียบ 4 เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญ ซึ่งเป็นเครื่องยืนยันไทยยังคงมีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ทั้งนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสั่งการให้ติดตามและประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อการกำหนดนโยบายที่มีประสิทธิภาพ และกำชับทุกหน่วยงานเร่งเดินหน้าตามนโยบายทางเศรษฐกิจที่ได้กำหนดไว้ ส่งเสริมความเชื่อมั่นของนักลงทุน ผู้ประกอบการ ส่งเสริมกระตุ้นทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนาประเทศ สำหรับการเปรียบเทียบเครื่องชี้เศรษฐกิจที่สำคัญตัวแรก ได้แก่ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (GDP Growth) ซึ่งพบว่า ในไตรมาสที่ 3 ปี 2565 ไทยมีการเติบโตอย่างแข็งแกร่ง อยู่ที่ 4.5 %YoY และสูงกว่ากลุ่มประเทศ Big-4 สหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งมีตัวเลขอยู่ที่ 1.9 %YoY 2.3 %YoY 1.5 %YoY และ 3.9 %YoY เรียงตามลำดับ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของไทยก็ต่ำกว่าสหรัฐฯ ยูโรโซน และค่าเฉลี่ยของ ASEAN-5 (สิงคโปร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย) โดยในปี 2564 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ในขณะที่ในเดือนพฤศจิกายน 2565 อยู่ที่ร้อยละ 5.5 และธันวาคม 2565 อยู่ที่ร้อยละ 5.9 นอกจากนี้ ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (%) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศ Big-4 และค่าเฉลี่ยของ ASEAN-5 ของไทยอยู่ในระดับที่ต่ำ เอื้อต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดยในปี 2564 อยู่ที่ 0.50% เดือนพฤศจิกายน 2565 อยู่ที่ 1.00 % และธันวาคม 2565 อยู่ที่ 1.25 % และสุดท้าย ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI for Manufacturing) ภาคอุตสาหกรรมของไทยอยู่ในระดับที่สูงกว่ากลุ่มประเทศ Big-4 และค่าเฉลี่ย ASEAN-5 และอยู่สูงกว่าระดับ 50 จุด ซึ่งบ่งชี้ถึงภาคอุตสาหกรรมที่ขยายตัว

 

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่าเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจที่สำคัญเหล่านี้ แสดงให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรมถึงโอกาส และแนวโน้มทางเศรษฐกิจของไทย ที่ยังมีการเติบโต มีแนวโน้มขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งยืนยันว่ารัฐบาลพร้อมที่จะให้การสนับสนุน รวมทั้งส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างกลไกการทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้เต็มศักยภาพ ยั่งยืน และสมดุล

 

ข่าวต่างประเทศ

A close-up of a flag

Description automatically generated with medium confidence

 

4. ภาคธุรกิจสหรัฐเรียกร้องให้ "ไบเดน" ยกเลิกกำแพงภาษีสินค้าจีน เหตุทำต้นทุนสูง (ที่มา: ข่าวหุ้น, ประจำวันที่ 20 มกราคม 2566)

สภาหอการค้าแห่งสหรัฐและสภาอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดเผยว่า ได้มีการเรียกร้องให้รัฐบาลของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ยกเลิกกำแพงภาษีสินค้านำเข้าจากจีน หลังรัฐบาลไบเดนเตรียมขยายเวลาบังคับใช้นโยบายกำแพงภาษีดังกล่าว ซึ่งกำแพงภาษีดังกล่าวเกิดขึ้นในสมัยของรัฐบาลอดีตปธน.โดนัลด์ ทรัมป์ หลังผลการสืบสวนพบว่า จีนขโมยทรัพย์สินทางปัญญาจากบริษัทอเมริกันและบังคับให้บริษัทเหล่านั้นต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้จีน ทั้งนี้ ข้อมูลความเห็นจากธุรกิจขนาดเล็กหลายแห่งในสหรัฐที่ยื่นเสนอต่อสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐ (USTR) ระบุว่า อัตราภาษีศุลกากรดังกล่าวทำให้ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้

อย่างไรก็ตาม แทบไม่มีสัญญาณบ่งชี้จากทำเนียบขาวว่าจะมีการยกเลิกหรือผ่อนปรนกำแพงภาษีดังกล่าว เนื่องจากปธน.ไบเดนยังคงเก็บไว้ใช้เป็นอำนาจต่อรองกับรัฐบาลจีน ซึ่งสหรัฐมองว่าจีนเป็นคู่แข่งสำคัญทางยุทธศาสตร์และทางเศรษฐกิจ และเป็นที่กังวลกันว่าการยกเลิกภาษีดังกล่าวอาจเป็นความเสี่ยงทางการเมืองได้ ทั้งนี้ นอกจากจะใช้กำแพงภาษีแล้ว เครื่องมือทางการค้าที่สหรัฐใช้ตอบโต้รัฐบาลจีนยังรวมถึงการให้เงินอุดหนุนแก่บริษัทอเมริกัน และมาตรการควบคุมการส่งออกเพื่อจำกัดไม่ให้จีนเข้าถึงเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยของสหรัฐ

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)