ข่าวประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566

ข่าวในประเทศ

A person in a suit leaning on a railing

Description automatically generated

นายเศรษฐา ทวีสิน

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

 

1. นายกฯ กล่อมมะกันลงทุนแลนด์บริดจ์ (ที่มา: ไทยรัฐ, ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566)

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงการได้ร่วมงานสัมมนาโครงการ "Thailand Landbridge Roadshow" และกล่าวเปิดงานสัมมนา ณ โรงแรมเดอะริทซ์-คาร์ลตัน นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา ว่า โครงการแลนด์บริดจ์ ชุมพร-ระนอง เป็นโอกาสที่ไม่เคยมีมาก่อน ในการลงทุนในโครงการสำคัญเชิงพาณิชย์และเชิงกลยุทธ์ ที่เชื่อมโยงมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย เชื่อมโยงคนในภาคตะวันออกกับตะวันตกเข้าด้วยกัน จึงขอเชิญชวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน ให้สำรวจโอกาสในการเข้ามาเป็นหุ้นส่วนในโครงการประวัติศาสตร์นี้ และได้รับประโยชน์ร่วมกัน โดยมั่นใจการลงทุนในไทยกำลังจะเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการคมนาคมขนส่ง รวมทั้งยังเป็นโอกาสการลงทุนที่ดีสำหรับภาคเอกชนอีกด้วย โดยทั่วโลกมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 38 ล้านล้านดอลลาร์ต่อปี เอเชียเป็นภูมิภาคที่มีมูลค่าการส่งออกและนำเข้าสูงสุดประมาณ 40% รองลงมาคือยุโรปที่ประมาณ 38% ซึ่งสำหรับการค้าทางทะเลระหว่างเอเชียและยุโรป เรือขนส่งทุกลำจะต้องผ่านช่องแคบมะละกา หนึ่งในสี่ของการค้าโลกและน้ำมันมากกว่า 70% ที่ส่งออกจากภูมิภาคตะวันออกกลาง ก็ขนส่งผ่านช่องแคบมะละกา ทำให้กลายเป็นคอขวดที่มีการขนส่งคับคั่งที่สุดในโลก

 

อย่างไรก็ตาม แต่ละปีมีเรือประมาณ 90,000 ลำ และเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 2.35% ทุกปี คาดว่าจะเกินความจุของช่องแคบมะละกาภายในปี 2573 หากช่องแคบมะละกามีความแออัดมากขึ้น อาจส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างมาก โครงการแลนด์บริดจ์ของไทย จะเป็นเส้นทางเพิ่มเติมที่สำคัญ และเป็นทางเลือกที่สำคัญที่ถูกกว่าเร็วกว่าและปลอดภัยกว่า โดยการขนส่งสินค้าผ่านแลนด์บริดจ์ จะช่วยลดเวลาการเดินทางได้ 4 วันและลดต้นทุนโดยเฉลี่ยได้ 15%

 

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

2. 'พิมพ์ภัทรา' ห่วงน้ำตาลทรายในประเทศแพง-ขาดแคลน (ที่มา: ไทยโพสต์, ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566)

 

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากที่มีกระแสข่าวถึงสถานการณ์การจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศที่ตึงตัวจึงได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เร่งหาแนวทางร่วมกับผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาล เพื่อป้องกันผลกระทบต่อประชาชนผู้บริโภค ขณะเดียวกันได้กำชับให้ สอน. หาแนวทางเพื่อให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม เป็นธรรม และสอดคล้องกับต้นทุนการผลิต รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ ทางด้านนายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการ รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ได้เชิญโรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรง ประชุมหารือถึงสถานการณ์การจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศ โดย สอน. ได้รับทราบปัญหาและอุปสรรคของผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลถึงสถานการณ์การจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศในปัจจุบัน และขอความร่วมมือจากโรงงานน้ำตาลในการดูแลปริมาณน้ำตาลทรายเพื่อไม่ให้ผู้บริโภคในประเทศได้รับผลกระทบ สำหรับแนวทางการรักษาสมดุลให้มีปริมาณน้ำตาลทรายเพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ สอน. ได้จัดให้มีเจ้าหน้าที่ประจำโรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรงทั่วประเทศ รายงานปริมาณสต๊อกคงเหลือส่งให้ สอน. เป็นประจำทุกวัน

อย่างไรก็ตาม ต่อไปอาจจะมีมาตรการในการบริหารจัดการปริมาณน้ำตาลทรายสำรองสำหรับฤดูการผลิตปี 2566/67 เป็นการเฉพาะเพิ่มเติม โดยในฤดูปีการผลิตที่ผ่านมา ปริมาณน้ำตาลทรายที่บริโภคในประเทศมีจำนวน 26 ล้านกระสอบ (กระสอบละ 100 กก.) และในฤดูการผลิตปี 2566/67 สอน. คาดการณ์ตัวเลขปริมาณน้ำตาลทรายที่บริโภคในประเทศตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 – กันยายน 2567 จะมีประมาณ 25 ล้านกระสอบ (กระสอบละ 100 กก.) โดยคาดว่าจะมีผลผลิตน้ำตาลทรายที่ผลิตได้อยู่ที่ประมาณ 93.32 ล้านกระสอบ (กระสอบละ 100 กก.) จากประมาณการณ์อ้อยเข้าหีบจำนวน 82 ล้านตัน ซึ่ง สอน. จะบริหารจัดการการจำหน่ายน้ำตาลภายในประเทศ เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจได้ว่าจะมีปริมาณน้ำตาลทรายเพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ

 

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ

 

3. เปิดให้บริการออก Form C/O ยกระดับบริการไปสู่ No Visit (ที่มา: สยามรัฐ, ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566)

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าหรือ Certifi cate of Origin (C/O) ให้ผู้ส่งออกนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีนำเข้า ณ ประเทศปลายทางภายใต้ความตกลงการค้าต่างๆได้พัฒนาระบบออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยนวัตกรรมดิจิทัล พัฒนาระบบให้ใช้งานง่ายมากยิ่งขึ้นที่เรียกว่าระบบ DFT SMART C/O โดยยกระดับการให้บริการออกฟอร์ม C/O ให้ผู้ประกอบการสามารถใช้งานได้ตลอด 24 ชั่วโมง อย่างง่ายดาย สะดวกรวดเร็วครบจบ ข้อกระบวนการตั้งแต่ยื่นขอ ติดตามสถานะคำขอหนังสือรับรองฯ ไปจนถึงพิมพ์หนังสือรับรองฯ ที่เจ้าหน้าที่อนุมัติแล้วได้ด้วยตนเอง (Self - Printing) ไม่ว่าจะพิมพ์จากที่บ้านหรือสำนักงานของผู้ประกอบการโดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมารับหนังสือรับรองฯ ที่หน่วยงานให้บริการอีกต่อไป เนื่องจากระบบได้เชื่อมโยงข้อมูล ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิกรมศุลกากรเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้ประกอบการได้รับบริการด้วยความรวดเร็ว และลดต้นทุนด้านระยะเวลาและ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับบริการ ณ หน่วยงาน

อย่างไรก็ตาม กรมฯ ได้กำหนดเปิดให้บริการระบบ DFT SMART C/O ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2566 เป็นต้นไป โดยนำร่องสำหรับการใช้สิทธิพิเศษใน 5 กรอบความตกลงก่อน ได้แก่ Form RCEP ภายใต้ความตกลงระหว่าง ASEAN กับ Australia China - Japan - Korea - New Zea land, Form AHK ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรี ASEAN - Hong Kong,Form AJCEP ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีระหว่าง ASEAN กับญี่ปุ่น, Form Thai - Peru ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย-เปรู และ Form Thai-Chile ภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรี ไทย ชิลี ซึ่งกรมฯ ได้จัดอบรมและแนะนำการใช้งานระบบฯ แล้วเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2566 และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

 

ข่าวต่างประเทศ

A red circle on a white fabric

Description automatically generated

 

4. GDP ญี่ปุ่นใน Q3/66 ลด 2.1% แย่กว่าคาดการณ์ เหตุภาคธุรกิจลดใช้จ่าย (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566)

รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 3/2566 ปรับตัวลง 2.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่าอาจลดลงเพียง 0.6% และเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกในรอบ 4 ไตรมาส ซึ่งเมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ตัวเลข GDP ไตรมาส 3 ของญี่ปุ่นปรับตัวลง 0.5% ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าอาจลดลง 0.1% ทั้งนี้ ตัวเลข GDP ที่ออกมาย่ำแย่กว่าคาดในไตรมาส 3 สะท้อนให้เห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นยังคงเผชิญกับความไม่แน่นอน ซึ่งรวมถึงผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินเยน, ปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นเป็นเวลานาน และแนวโน้มสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนในต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม สำหรับปัจจัยที่ฉุดตัวเลข GDP ให้อ่อนแรงลงนั้นมาจากการใช้จ่ายของภาคธุรกิจที่ลดลง และการที่ญี่ปุ่นนำเข้าสินค้ามากขึ้น โดยการใช้จ่ายของภาคธุรกิจลดลง 0.6% ในไตรมาส 3 หลังจากที่ลดลง 1% ในไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าบริษัทต่างๆ ยังคงปรับลดการลงทุนท่ามกลางราคาที่สูงขึ้น โดยนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจที่อ่อนแอลงอาจจะทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ใช้เป็นเหตุผลในการชะลอเวลาในการถอนนโยบายผ่อนคลายทางการเงินเป็นพิเศษ (ultra-easy monetary policy)

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)