ข่าวประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. สมอ.ผนึก 8 สถาบันกำหนดมาตรฐาน ยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชนมุ่งคาร์บอนเป็นศูนย์ (ที่มา: ไทยโพสต์, ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566)

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้หน่วยงานภายในกระทรวงเร่งหาแนวทางเพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพ ให้เป็นฟันเฟืองเศรษฐกิจใหม่สำหรับกระตุ้นรายได้มวลรวมของประเทศ ผ่านอุตสาหกรรมเป้าหมาย ประกอบด้วย อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ อุตสาหกรรมชีวภาพ และอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ และอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ รวมถึงอุตสาหกรรมฮาลาลด้วย นอกจากนี้ ยังมุ่งการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษขยายไปสู่ 4 ภาคของประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจและให้เกิดความสะดวกกับนักลงทุนมากขึ้น พร้อมนี้จะเร่งพิจารณาหามาตรการเพื่อส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอย่างแพร่หลายภายในประเทศ ทั้งมาตรการทางภาษี และการขยายจุดให้บริการชาร์จแบตเตอรี่สำหรับประชาชน ขณะที่การส่งเสริมศักยภาพและสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ให้สามารถเข้าถึงโอกาสในการแข่งขัน โดยได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทีมเข้าสำรวจความต้องการของผู้ประกอบการ เพื่อรวบรวมจัดทำเป็นแผนนโยบายในลำดับต่อไป ทั้งนี้ ยังให้ความสำคัญกับการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง ด้วยการสนับสนุนให้ประชาชนมีอาชีพมั่นคงจากต้นทุนในชุมชน และเตรียมความพร้อมให้ประเทศไทยก้าวข้ามประเทศกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ความมั่งคั่งในอนาคต รวมทั้งการส่งเสริมการเข้าถึงของผู้ประกอบการและประชาชน ด้วย One Stop Service เพื่อให้บริการได้อย่างทั่วถึงและแก้ข้อจำกัดได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังเน้นย้ำให้ทุกการดำเนินงาน มุ่งสู่เป้าหมายอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การวางระบบดูแล ควบคุม และกำจัดของเสียในภาคอุตสาหกรรมที่ไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชน การใช้พลังงานทางเลือกสู่การเป็นอุตสาหกรรมไบโอชีวภาพ (Bio Circular Economy) ซึ่งจะได้หารือเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดต้นแบบอุตสาหกรรมคาร์บอนเป็นศูนย์ (Zero Carbon Industry)

อย่างไรก็ตาม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ สมอ. คือหนึ่งในหน่วยงานที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต และเป็นองค์กรที่มุ่งดำเนินงานด้านการมาตรฐาน เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบการ ผู้บริโภคและประเทศชาติ โดยทำหน้าที่ส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐานของประเทศให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล การกำหนดมาตรฐานที่ตรงความต้องการและสอดคล้องกับแนวทางสากล โดยได้เร่งรัดให้ สมอ.จัดทำมาตรฐานในปีงบประมาณ 2567 ที่ตอบโจทย์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยตามนโยบายรัฐบาล และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่พี่น้องประชาชน โดยเฉพาะมาตรฐานในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของประเทศ เน้นอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ ได้แก่ EV อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เครื่องมือแพทย์ อุตสาหกรรมชีวภาพ AI ฮาลาล และ Soft power ซึ่งคาดว่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่สามารถนำเม็ดเงินมาสู่ภาคอุตสาหกรรมของไทยได้เป็นอย่างดี โดยตั้งเป้าหมายไว้ 600 มาตรฐาน

 

A person in a pink dress

Description automatically generated

นางวรวรรณ ชิตอรุณ

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

 

2. สศอ.รื้อ 5 อุตฯ รับโลกเดือด (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566)

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมให้สอดรับระเบียบกติกาการค้าและการผลิต รวมไปถึงมาตรฐานสินค้าของโลกที่เน้นไปสู่ความยั่งยืน ในมิติของสิ่งแวดล้อมที่ต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อลดภาวะโลกเดือด โดยเฉพาะ 5 อุตสาหกรรมที่เป็นเทรนด์ใหม่ ได้แก่ เกษตรอุตสาหกรรมครบวงจร, อุตสาหกรรมรีไซเคิล, อุตสาหกรรมก่อสร้าง, อุตสาหกรรมโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งผู้บริโภคเองก็ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์สีเขียว ทุกอย่างจึงเดินไปในทิศทางนี้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ภายใต้มิติหลักๆ คือ ความยั่งยืน ภาคการผลิตจึงต้องปรับตัว โดยที่ผ่านมารัฐได้วางแนวทางการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมแล้วใน 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีมาตรการต่างๆ ชัดเจน แต่ 5 อุตสาหกรรมใหม่นี้ จะมองในมุมของความสำคัญที่ สศอ.กำลังวางแนวทางที่จะขับเคลื่อนเพิ่มเติม แต่ในภาพรวมแล้วทุกอุตสาหกรรมจำเป็นต้องปรับโครงสร้างให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงหมดไม่เช่นนั้นก็จะอยู่ไม่ได้ สำหรับเกษตรอุตสาหกรรมครบวงจรนั้นยอมรับว่า ไม่ง่ายนักแต่ต้องเร่งปรับโครงสร้างเพราะต้องดูแลสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นทาง เช่น การใส่ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง การใช้ดิน น้ำ ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและต้องบริหารจัดการว่าด้วยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่จำเป็นต้องมองอย่างครบวงจรไปสู่กระบวนการนำวัตถุดิบไปผลิตแปรรูปเป็นสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม ส่วนอุตสาหกรรมรีไซเคิลนั้นจะเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญที่ไทยจะต้องทำให้เกิดขึ้นอย่างมากโดยเฉพาะเพื่อรองรับแบตเตอรี่ในรถยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี ที่สามารถนำแร่ลิเธียมกลับมาใช้ใหม่ และรถยนต์สันดาปภายใน ที่จะต้องกำจัดซากรถเก่าซึ่งญี่ปุ่นนำมารีไซเคิลเกือบหมดทั้งเหล็ก พลาสติก แผงโซลาร์ที่กำลังจะทยอยหมดอายุลง ขณะที่อุตสาหกรรมก่อสร้างนั้นจำเป็นจะต้องปรับไปสู่กระบวนการใช้เทคโนโลยีในการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การส่งเสริมให้เกิดการผลิตในโรงงานแทนแล้วนำมาประกอบให้มากขึ้น อุตสาหกรรมโลจิสติกส์หรือระบบขนส่งรวมจะต้องให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยพีเอ็ม 2.5 และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่สอดรับกับอีวี รถไฟฟ้า โดยเฉพาะรถขนส่งสาธารณะ และซอฟต์พาวเวอร์ที่ไทยเองเน้นภาคบริการและการท่องเที่ยวในการสร้างรายได้จำเป็นจะต้องกำหนดมาตรการในการดูแลสิ่งแวดล้อมเข้าไป

อย่างไรก็ตาม สศอ.เองคงทำลำพังไม่ได้ทุกส่วนต้องบูรณาการทั้งด้านพลังงานที่จะเข้ามาใช้ก็ต้องมองไปที่สีเขียว การปล่อยสินเชื่อเองต่อไปก็ให้ความสำคัญกับธุรกิจที่ไปในเทรนด์นี้และตอบโจทย์ความยั่งยืน และการสนับสนุนเรื่องคาร์บอนเครดิตที่สศอ.จะดูแลเรื่องนี้ด้วย การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมจึงสำคัญเพราะวันนี้เราเองก็เริ่มถูกกดดันจากกติกาโลกแล้วเช่น มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป (ซีแบม) ที่นำร่องกับ 6 กลุ่มอุตสาหกรรม แต่อนาคตจะทยอยทั้งหมด และสหรัฐเองก็เริ่มวางระเบียบเรื่องนี้เช่นเดียวกัน

 

A person in a suit sitting at a podium

Description automatically generated

นายนภินทร ศรีสรรพางค์

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

 

3. ไทยผนึกกำลังสิงคโปร์ส่งเสริมการค้าการลงทุนทุกมิติ (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566)

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเอเปก ครั้งที่ 34 เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2566 ณ นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ได้พบหารือทวิภาคีกับนายกาน คิม ยอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของสิงคโปร์ ซึ่งทั้งสองฝ่าย ได้หารือแนวทางส่งเสริมความสัมพันธ์การค้าการลงทุนระหว่างกันในทุกมิติครอบคลุมถึงการท่องเที่ยว และติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและสิงคโปร์ (Singapore-Thailand Enhanced Economic Relationship: STEER) โดยไทยได้แสดงความพร้อมในการเป็นแหล่งวัตถุดิบด้านเกษตรและอาหารที่มีคุณภาพ ทั้งผัก ผลไม้ และเนื้อสัตว์ เพื่อสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารของสิงคโปร์ พร้อมทั้งผลักดันให้สิงคโปร์เร่งขึ้นทะเบียนฟาร์มไข่ไก่ออร์แกนิก และเร่งเปิดตลาดให้กับเนื้อสุกรของไทย เพื่อให้ไทยสามารถส่งออก สินค้าดังกล่าวไปสิงคโปร์ได้ เพิ่มเติมจากที่ได้อนุมัติการขึ้นทะเบียนฟาร์มไข่นกกระทาของไทย ซึ่งทำให้ไทยสามารถส่งออกไข่นกกระทา ไปสิงคโปร์ได้แล้ว ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 โดยสิงคโปร์ยินดีนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทย โดยเฉพาะทุเรียนที่เป็นที่นิยมของผู้บริโภคในสิงคโปร์เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ ได้หารือเรื่องความร่วมมือเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งไทยและสิงคโปร์ต่างมีศักยภาพที่จะเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างกันได้อีกมาก เพื่อต่อยอดจากความสำเร็จของการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินระหว่าง PromptPay ของไทย และ PayNow ของสิงคโปร์ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการค้าการลงทุน อีกทั้งสิงคโปร์ยังเชิญชวนให้ไทยเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนด้านเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ซึ่งสิงคโปร์เป็นผู้ริเริ่ม นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้หารือถึงประเด็นการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวที่เห็นพ้องจะร่วมกันผลักดันให้ทั้งสองประเทศเป็นจุดหมายปลายทางของเรือสำราญและเรือยอชต์ ที่จะช่วยสร้างรายได้ให้กับประเทศรวมถึงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวรายได้สูงเดินทางเข้ามาจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ถือเป็นพันธมิตรทางเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยมาโดยตลอด และเป็นผู้นำในการส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและรายย่อย(SMEs) โดยระหว่างการหารือได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับ SMEs ซึ่งสิงคโปร์เห็นว่า การให้ SMEs เข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลและได้ใช้ประโยชน์จากการค้าอิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งสำคัญมาก ทั้งนี้ ยินดีร่วมมือกับไทยในการส่งเสริมให้ SMEs ของทั้งสองฝ่ายมีความร่วมมือในการต่อยอดธุรกิจให้สามารถส่งออกสินค้าไปยังตลาดโลกได้

 

ข่าวต่างประเทศ

4. สหรัฐเผยดัชนีราคานำเข้าปรับตัวลง 0.8% ในเดือนต.ค. (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566)

กระทรวงแรงงานสหรัฐ เปิดเผยว่า ดัชนีราคานำเข้าร่วงลง 0.8% ในเดือนตุลาคม 2566 เมื่อเทียบรายเดือน ซึ่งเป็นการปรับตัวลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าลดลงเพียง 0.3% หลังจากเพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนกันยายน 2566 ทั้งนี้ เมื่อเทียบรายปี ดัชนีราคานำเข้าลดลง 2.0% ในเดือนตุลาคม 2566 หลังจากปรับตัวลง 1.5% ในเดือนกันยายน 2566 โดยการร่วงลงของดัชนีราคานำเข้ามีสาเหตุจากการปรับตัวลงของราคาพลังงานและอาหาร

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานสหรัฐ ยังเปิดเผยว่า ดัชนีราคาส่งออกลดลง 1.1% ในเดือนตุลาคม 2566 หลังจากเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนกันยายน 2566 ทั้งนี้ เมื่อเทียบรายปี ดัชนีราคาส่งออกดิ่งลง 4.9% ในเดือนตุลาคม 2566 หลังจากลดลง 4.3% ในเดือนกันยายน 2566

                    

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)