ข่าวประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. ดัน 'ฮาลาล' ชิงเค้กตลาดโลก 2.3 ล้านล.เหรียญ (ที่มา: ข่าวสด, ประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566)

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่คณะกรรมการขับเคลื่อนและติดตามนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC) ได้พิจารณาแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลของประเทศไทย ผ่านกลไกคณะกรรมการอุตสาหกรรมฮาลาลแห่งชาติ (กอฮช.) โดยเห็นชอบหลักการจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมฮาลาล เพื่อเร่งรัดจัดทำข้อตกลงทางการค้าและขยายตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ จะประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ ครอบคลุมถึงการพัฒนาการผลิตและมาตรฐาน เน้นการทำวิจัยนวัตกรรมเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ฮาลาล พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ฮาลาล ให้คำปรึกษา และเป็นศูนย์กลางบูรณาการข้อมูลด้านการผลิตอุตสาหกรรมฮาลาล เพื่อนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป โดยประเมินภาพรวมอุตสาหกรรมฮาลาลตลาดโลกปี 2567 จะมีมูลค่าตลาดเพิ่มเป็น 2.325 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ โตเฉลี่ย 7.5% ต่อปี จากปี 2564 มีมูลค่าสูงถึง 2.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ปี 2565 ไทยส่งออกอาหารฮาลาล 213,816 ล้านบาท คิดเป็นส่วนแบ่งในตลาดโลก 2.7% หรืออันดับ 11 ของโลก

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นจะกำหนดสินค้าฮาลาลเป้าหมายในระยะแรก เช่น เนื้อสัตว์/อาหารทะเล อาหารแปรรูปพร้อมรับประทาน อาหารฮาลาลโดยธรรมชาติ อาหารมุสลิมรุ่นใหม่ แฟชั่นฮาลาล เครื่องสำอาง ยา/สมุนไพร ท่องเที่ยว เป็นต้น เพื่อขยายตลาดการค้าอุตสาหกรรมฮาลาลใหม่ๆ ไปต่างประเทศ ได้แก่ อาเซียน OIC/GCC เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซาอุดีอาระเบีย แอฟริกา คาดว่าจะทำให้อัตราการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมโตได้ 1.2% ภายใน 3 ปี ที่สำคัญจะช่วยสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย อำนวยความสะดวกในการขอรับรองมาตรฐานฮาลาลทั่วประเทศต่อไป รวมถึงส่งเสริมและขยายตลาดผ่านกิจกรรมจัดงานฮาลาล เอ็กซ์โป 2024 และกิจกรรมทางการทูต เช่น งานไทย ไนท์ เพื่อเผยแพร่สินค้าฮาลาลไทย เป็นต้น

 

A person in a suit sitting at a podium

Description automatically generated

นายนภินทร ศรีสรรพางค์

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

 

2. เดินหน้าเอฟทีเอไทย-เกาหลี (ที่มา: ไทยรัฐ, ประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566)

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีเอเปก ครั้งที่ 34 ณ นครซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ได้พบหารือกับ รมต.การค้าของเกาหลีใต้ รมว.การค้าต่างประเทศและการท่องเที่ยวของเปรู และ รมว.พาณิชย์ และพัฒนาเศรษฐกิจของฮ่องกง เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน โดยเกาหลีใต้ ทั้ง 2 ฝ่ายจะเร่งรัดกระบวนการภายในที่เกี่ยวข้องเพื่อประกาศเริ่มเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ไทย-เกาหลีใต้ ในช่วงต้นปี 2567 ซึ่งจะเป็นการต่อยอด              การเปิดเสรีเพิ่มเติมจากเอฟทีเออาเซียน-เกาหลีใต้ ที่มีอยู่แล้ว และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซป) โดยเฉพาะการเปิดตลาดเพิ่มเติมในสินค้าที่ยังไม่ได้ลด/เลิกภาษีศุลกากร ทั้งนี้ เอฟทีเอไทย-เกาหลีใต้จะช่วยขยายการค้าและการลงทุนระหว่างกัน รวมทั้งดึงดูดการลงทุนจากเกาหลีใต้ในไทยเพิ่มขึ้น โดยเกาหลีใต้มองว่าไทยเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานการผลิตสินค้าสำคัญ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนเทคโนโลยีชีวภาพ พลังงานทดแทนและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อส่งออกไปประเทศอื่นๆ นอกจากนี้ ได้ชวนร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซอฟต์พาวเวอร์ให้แก่ไทย เพราะเกาหลีใต้ประสบความสำเร็จมากในเรื่องซอฟต์พาวเวอร์ที่ประสบความสำเร็จ รวมทั้งเชิญชวนให้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสีเขียวในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยเฉพาะยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ

อย่างไรก็ตาม พร้อมกันนั้น ยังได้ผลักดันให้ศุลกากรเกาหลีใต้เร่งออกประกาศเพื่อปรับภาษีศุลกากร นำเข้าสินค้าน้ำมะพร้าวแท้ 100% ในอัตรา 0% ภายใต้เอฟทีเออาเซียน-เกาหลีใต้ จากเดิมที่ปรับขึ้นภาษีมาอยู่ที่ 40% มาตั้งแต่ปี 2562 คาดว่า ศุลกากรของเกาหลีใต้จะดำเนินการแล้วเสร็จในช่วงต้นปี 2567

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายสนั่น อังอุบลกุล

ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

 

3. หอการค้ายื่นปกขาวชงนายกฯ ฟื้นศก. (ที่มา: ข่าวสด, ประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566)

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทยได้รวบรวมประเด็นและข้อเสนอแนะจากการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 41 จัดทำเป็นสมุดปกขาว เสนอให้นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พิจารณาเป็นแนวทางในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทย ซึ่งรัฐและเอกชนจะร่วมมือกันให้ประเทศไทยมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ไม่น้อยกว่า 5% ต่อปี ผ่านข้อเสนอภาคเอกชน 2 ส่วน คือ 1. ข้อเสนอในการเปลี่ยนผ่านเศรษฐกิจไทยปัจจุบันไปสู่การแสวงหาโอกาสและรูปแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจใหม่ในอนาคต และ 2. ข้อเสนอยุทธศาสตร์เศรษฐกิจของหอการค้า 5 ภาค ซึ่งเป็นข้อเสนอและความต้องการของภาคเอกชนทั่วประเทศ เกี่ยวกับการพัฒนาภาคการค้า ลงทุน ท่องเที่ยว และโครงสร้างพื้นฐาน โดยสาระสำคัญของสมุดปกขาวประกอบด้วย 4 ประเด็น ได้แก่ 1. เร่งยกระดับ Innovation Digital และ นำเทคโนโลยี เสนอให้ภาครัฐยกระดับมาตรการ Talent immigration policy ดึงดูดต่างชาติที่เก่งเข้ามาทำงานและอยู่อาศัยในไทย เกิดการสร้างงาน การถ่ายทอดเทคโนโลยี และทักษะสมัยใหม่ โดยรัฐบาลควรมีมาตรการจูงใจ เช่น การอำนวยความสะดวกเรื่องวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน มาตรการทางภาษี และมาตรการพำนักในไทยนานขึ้น 2. เพิ่มจำนวนประชากรและพัฒนาประชากรให้มีคุณภาพ พร้อมเป็น Global Citizen ที่มีคุณภาพ 3. รับฟังเสียงสะท้อนจากภาคเอกชน โดยเฉพาะเอสเอ็มอีที่เดือดร้อนมาก ต้องเร่งกระตุ้นแบบเร่งด่วน โดยสนับสนุนสภาพคล่องและเร่งแก้ปัญหาหนี้ และ 4. ผลักดันโครงการพัฒนาเมืองรอง 10 จังหวัดเป็นเมืองหลัก ยกระดับรายได้และลดความเหลื่อมล้ำ อาทิ จังหวัดตาก สระบุรี โดยหอการค้าจะหารือกับรัฐบาลในสัปดาห์หน้า เพื่อกำหนด 10 จังหวัดเป้าหมาย

อย่างไรก็ตาม ส่วนโครงการเร่งด่วนของหอการค้า 5 ภาค เช่น ส่งเสริมการลงทุน 4 อุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ NEC-CREATIVE LANNA, เชื่อมโยงโครงการบริหารจัดการน้ำ, เร่งรัดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่, โครงการ 1 หอการค้า 1 ซอฟต์พาวเวอร์, โครงการนครปฐมเมืองอาหารปลอดภัย ศูนย์กลางครัวไทยสู่ ครัวโลก, โครงการสมุทรปราการเปิดประตูสู่ฮาลาลไทย ส่งเสริมศูนย์กลางโลจิสติกส์นิคมฯ อุดรธานี เป็นต้น

 

ข่าวต่างประเทศ

 

4. ธนาคารกลางจีนประกาศคงดอกเบี้ย LPR ตามคาด ตั้งเป้าหนุนเศรษฐกิจฟื้นตัว (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 20 พฤศจิกายน 2566)

ธนาคารกลางจีน (PBOC) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีที่ระดับ 3.45% และคงอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีไว้ที่ระดับ 4.20% ในวันนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการคาดการณ์ของตลาด หลังจาก PBOC มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ท่ามกลางความวิตกกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันที่มีต่อค่าเงินหยวน ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 1 ปีของจีนเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น ส่วนอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนอง โดย PBOC มีมติคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ระยะ 1 ปีซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของจีนที่ระดับ 2.5% เมื่อวันพุธที่ 15 พฤศจิกายน 2566 และได้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบจำนวน 1.45 ล้านล้านหยวน (2 แสนล้านดอลลาร์) ในวันดังกล่าว ผ่านทางโครงการ MLF และกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้เท่าเดิมที่ระดับ 2.5%

อย่างไรก็ตาม สำหรับอัตราดอกเบี้ย MLF เป็นอัตราดอกเบี้ยมาตรฐานที่ธนาคารพาณิชย์จะต้องจ่ายเมื่อมีการกู้ยืมเงินจากธนาคารกลางจีน โดยมีระยะเวลาการกู้ยืม 6 เดือน-1 ปี เพื่อเสริมสภาพคล่องระยะสั้นให้กับธนาคารพาณิชย์ซึ่งการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบในวันดังกล่าวถือเป็นจำนวนเงินมากที่สุดในรอบเกือบ 7 ปี โดยมีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ และเพื่อช่วยคลี่คลายความวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะสภาพคล่องตึงตัว ในขณะที่รัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นของจีนเตรียมออกพันธบัตรเพิ่มเป็นทุนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ      

                    

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)