ข่าวประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2566

ข่าวในประเทศ

A person in a suit with his arms crossed

Description automatically generated

นายวีริศ อัมระปาล

ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

 

1. ยกระดับ 'เมืองอุตฯ เชิงนิเวศ' (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2566)

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ. ได้เดินหน้าพัฒนาและยกระดับนิคมอุตสาหกรรมสู่การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เพื่อสร้างสมดุลกันและกันของภาคอุตสาหกรรม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้กรอบ 5 มิติ คือ มิติกายภาพ มิติเศรษฐกิจ มิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติการบริหารจัดการ โดยส่งเสริมให้เกิดการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการยกระดับนิคมอุตสาหกรรม โดยในปีงบประมาณ 2566 กนอ. ได้พัฒนาและยกระดับนิคมอุตสาหกรรมเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ จากระดับ Eco-Champion 39 แห่ง ยกระดับขึ้นเป็นระดับ Eco-Excellence 22 แห่ง และระดับ Eco-World Class 7 แห่ง เป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ กนอ. มีเป้าหมายขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ตามนโยบายเศรษฐกิจบีซีจี โมเดล ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ และเป็นหัวใจ    ของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศให้เติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืน สำหรับปี 2567 กนอ. ยังคงใช้หลักเกณฑ์การเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศเดิม แต่จะปรับปรุงให้สอดคล้องตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) 13 ข้อ ขณะเดียวกันยังผลักดันสิทธิประโยชน์สำหรับผู้พัฒนา นิคมฯ และผู้ประกอบการ ทั้งการลดหย่อน ยกเว้น ค่าบริการอนุญาตในระบบ e-PP จะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศของ กนอ.ในอนาคตต่อไป

อย่างไรก็ตาม ในปีงบประมาณ 2567 กนอ. มีแผนงานยกระดับนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศในนิคมอุตสาหกรรม ดังนี้ ระดับ Eco Champion ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิว เอช เอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4, ระดับ Eco Excellence ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมบางปู นิคมอุตสาหกรรมราชบุรี, ระดับ Eco World Class ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมดับบลิว เอช เอ ตะวันออก (มาบตาพุด), นิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ซิตี้

 

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ป

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

 

2. เอกชนยกพลถกด่วนกกพ.รับไม่ไหวค่าไฟฟ้า 4.68บาท/หน่วย (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2566)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 6 ธันวาคม 2566 คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ซึ่งประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย จะหารือเรื่องเร่งด่วนผลกระทบ จากกรณีที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ประกาศปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ (เอฟที) งวดเดือนมกราคม - เมษายน 2567 ที่ส่งผลให้ค่าไฟเฉลี่ยเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟทุกประเภทอยู่ที่เฉลี่ย 4.68 บาท/หน่วย ซึ่งขึ้นถึง 17% นับเป็นเรื่องที่จะกระทบต่อทุกภาคส่วนต้อนรับปี 2567 ซึ่งเป็นเรื่องที่ช็อกความรู้สึกของเอกชนรับปีใหม่ และจะสร้างความวิตกกังวลให้กับเอกชนไทย สวนทางกับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการลดค่าครองชีพประชาชน โดยที่ผ่านมา กกร. ได้เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะขอให้เร่งรัดจัดตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนหรือกรอ.ด้านพลังงานมาดูแลทั้งโครงสร้าง ดังนั้นค่าไฟฟ้างวดมกราคม - เมษายน 2567 ควรพิจารณาให้รอบคอบอีกครั้งและเห็นว่าควรจะตรึงที่ 3.99 บาท/หน่วย ไปก่อนเพื่อรอการปรับโครงสร้างที่หากเร่งดำเนินการก็จะได้ข้อสรุป    ในไม่ช้า

 

อย่างไรก็ตาม สมาชิกเฉพาะของส.อ.ท.ที่มีอยู่ 45 กลุ่มอุตสาหกรรมเองก็เผชิญกับภาวะเศรษฐกิจ ทั้งในและต่างประเทศที่ยังเปราะบางสูงแล้ว หากมีเรื่องการปรับขึ้นค่าไฟฟ้ายิ่งเป็นการซ้ำเติมที่อาจนำไปสู่ การปรับขึ้นราคาสินค้า นอกจากนี้นักลงทุนต่างชาติต่างสอบถามเข้ามาว่าเหตุใดประเทศไทยจึงมีค่าไฟที่สูงอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งทำให้มีผลต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนซึ่งจะบั่นทอนต่อขีดความสามารถของประเทศ

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายจุฬา สุขมานพ

เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี

 

3. ดันอีอีซีเฟส 2 ดึงลงทุน 5 แสนล. (ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ, ประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2566)

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรือ อีอีซี เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ดอีอีซีล่าสุด ได้เห็นชอบร่างแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2566 -2570 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบ และจัดทำร่างแผนปฏิบัติการและการดำเนินงาน รวมถึงขอรับการจัดสรรงบประมาณ โดยจะนำร่างแผนดังกล่าวสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบภายในเดือนธันวาคม 2566 นี้ สำหรับร่างแผนภาพรวมเพื่อการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (2566-2570) เป็นการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อผลักดัน                  ให้เกิดการลงทุนจริงในพื้นที่อีอีซีระยะที่ 2 ให้ได้ โดยมีเป้าหมายไว้ราว 5 แสนล้านบาท ในระยะเวลา 5 ปี หรือเฉลี่ยปีละ 1 แสนล้านบาท ซึ่งจะช่วยสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมของพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Gross Provincial Cluster Product : GPCP EEC) ขยายตัวเฉลี่ย 6.3 % และดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievement Index) ในพื้นที่ได้แก่ ดัชนีย่อยด้านชีวิตการงานและดัชนีย่อยด้านเศรษฐกิจ มีอัตราเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 2 %

อย่างไรก็ตาม สำหรับการผลักดันเป้าหมายดังกล่าว จะดำเนินงานภายใต้การพัฒนา 5 แนวทางประกอบด้วย 1.ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายและบริการแห่งอนาคต 2. เพิ่มประสิทธิภาพ และการใช้ประโยชน์โครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค 3. ยกระดับทักษะแรงงานให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีและนวัตกรรม 4. พัฒนาเมืองให้มีความทันสมัย น่าอยู่อาศัยและเหมาะสมกับการประกอบอาชีพ และ 5. เชื่อมโยงประโยชน์จากการลงทุนสู่ความยั่งยืนของชุมชน ขณะที่แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับการพัฒนาอีอีซี ระหว่างปี 2566 -2570 ที่ผ่านมาได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไปแล้ว ภายใต้ 3 ยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ประกอบด้วย 1. การเพิ่มขีดความสามารถของระบบรางและทางน้ำ และเชื่อมต่อกับการขนส่งสินค้ารูปแบบอื่น 2. การยกระดับโครงข่ายคมนาคมรองรับการเดินทางของประชนชนอย่างไร้รอยต่อ และ 3.ยกระดับโครงข่ายคมนาคมด้วยมาตรการเชิงรุกและเทคโนโลยีที่ทันสมัย

 

ข่าวต่างประเทศ

A red flag with yellow stars

Description automatically generated

 

4. มูดี้ส์หั่นแนวโน้มเครดิตจีนสู่เชิงลบ ชี้ศก.ชะลอตัว-ภาคอสังหาฯยังย่ำแย่ (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2566)

มูดี้ส์ สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำ เปิดเผยว่า ได้ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของรัฐบาลจีนลงสู่เชิงลบจากมีเสถียรภาพในวันที่ 5 ธันวาคม 2566 โดยระบุถึงการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงในระยะกลาง และความเสี่ยงจากวิกฤตครั้งใหญ่ในตลาดอสังหาริมทรัพย์ของจีน ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ระบุว่า การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือสะท้อนถึงหลักฐานที่เพิ่มขึ้นว่า รัฐบาลจีนจะต้องให้การสนับสนุนด้านการเงินกับรัฐบาลท้องถิ่นและบริษัทของรัฐที่มีปัญหาด้านหนี้สิน ซึ่งจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อความแข็งแกร่งด้านการคลัง, เศรษฐกิจ และสถาบันของจีน ซึ่งการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มความน่าเชื่อถือยังสะท้อนถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะกลางที่ชะลอลง และการที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์มีขนาดเล็กลงอย่างต่อเนื่อง โดยมูดี้ส์ปรับลดแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของจีนลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของจีนลงสู่อันดับ A1 ในปี 2560 โดยระบุถึงการคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะลอลงและหนี้สินที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม มูดี้ส์ยังคงตรึงอันดับความน่าเชื่อถือตราสารหนี้ระยะยาวสกุลเงินหยวนและสกุลเงินต่างประเทศของจีนไว้ที่อันดับ A1 และคาดว่า การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของจีนจะชะลอตัวลงสู่ระดับ 4.0% ในปี 2567 และ 2568 และจะอยู่ที่ระดับเฉลี่ย 3.8% ตั้งแต่ปี 2569-2573

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)