ข่าวประจำวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567

ข่าวในประเทศ

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.)

 

1. คุมเข้ม 10 สินค้าไปสหรัฐอเมริกา (ที่มา: สยามรัฐ, ประจำวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567)

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า คต.ได้ยกระดับการให้บริการตรวจถิ่นกำเนิดสินค้า สำหรับรายการสินค้าเฝ้าระวัง ผ่านทางระบบตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้าแบบไร้กระดาษ (ROVERs Plus) เต็มรูปแบบ โดยผู้ส่งออกสามารถยื่นคำขอและรับผลการตรวจถิ่นกำเนิดผ่านระบบ ROVERs Plus เพื่อใช้ประกอบการ ขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า ที่ไม่ใช้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Form CO ทั่วไป) ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวก ปรับลดขั้นตอนการยื่น คำขอฯและตรวจสอบถิ่นกำเนิดสินค้า ให้กับผู้ส่งออกได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ คต.ได้ออกประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่องการตรวจคุณสมบัติ ของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิดเพื่อการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ไม่ใช้ สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร สำหรับสินค้าเฝ้าระวัง พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลใช้บังคับแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 โดยกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการยื่นคำขอตรวจคุณสมบัติฯ ให้รองรับวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ และปรับปรุงบัญชีรายการ สินค้าเฝ้าระวังและเพิ่มเติมรายการสินค้า สำหรับการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ จำนวน 10 รายการ ได้แก่ (1) ท่อเหล็ก (2) ลวดและเคเบิล ทำจากอะลูมิเนียม (3) ล้อรถ (4) ส่วนประกอบรถ (5) ใบเลื่อย (6) พื้นไม้ (7) ผลิตภัณฑ์จากหินควอตซ์ (8) ไม้แขวนเสื้อ (9) สปริงด้านใน และ (10) ผลิตภัณฑ์จากไม้ ส่งผลให้ปัจจุบันมีรายการสินค้าเฝ้าระวังรวมทั้งสิ้น 58 รายการ ทั้งนี้ คต.ได้มีการประสานความร่วมมือ กับศุลกากรประเทศปลายทางอย่าง ต่อเนื่องเพื่อให้กลไกการป้องกันการแอบอ้างถิ่นกำเนิดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบขั้นตอน วิธีการยื่นคำขอ และรายการสินค้าเฝ้าระวังที่ต้องยื่นตรวจถิ่นกำเนิดสินค้าทั้ง 58 รายการ ได้ที่ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่องการตรวจคุณสมบัติของสินค้าทางด้านถิ่นกำเนิด เพื่อการขอหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าที่ไม่ใช้สิทธิพิเศษทั้งภาษีศุลกากร สำหรับสินค้าเฝ้าระวัง พ.ศ. 2566 บนเว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ (www.dft.go.th)

 

A person in a suit sitting at a podium

Description automatically generated

นายนภินทร ศรีสรรพางค์

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์

 

2. พณ.เร่ง 9 มาตรการช่วยเอสเอ็มอี (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567)

นายนภินทร ศรีสรรพางค์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังประชุม คณะอนุกรรมการส่งเสริมและยกระดับ SMEs ไทยว่า วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2567 ร่วมกับผู้แทนภาครัฐและเอกชน เช่น สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ติดตามความคืบหน้ามาตรการส่งเสริมและแก้ปัญหาให้เอสเอ็มอีไทย 9 ด้าน โดยเร่งรัดให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว ได้แก่ 1. บูรณาการหน่วยงานเติมความรู้ SME 2. เพิ่มมูลค่าสินค้า GI ให้รู้จัก 3. บริหารจัดการสินค้าเกษตรเพื่อรักษาสมดุลราคา 4. พัฒนาร้านค้าโชห่วย 5. ส่งเสริมการเติบโต SME ในท้องถิ่นผ่าน THAI SME-GP 6. สนับสนุนสร้างมาตรฐานธุรกิจอีคอมเมิร์ซ 7. ส่งเสริมพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับของไทย 8. สร้างอาชีพผ่านระบบแฟรนไชส์ และ 9. เพิ่มกำลังซื้อในประเทศ ทั้งหมดจะช่วยให้เอสเอ็มอีไทยเข้มแข็ง ผลักดันให้จีดีพี SMEs ในประเทศขยับจาก 35.2% เป็น 40% ในปี 2570 ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯ อนุมัติ 2 มาตรการเร่งด่วนให้หน่วยงานเดินหน้าทันที มาตรการแรกสร้างอาชีพผ่านระบบแฟรนไชส์ ซึ่งอนุมัติ 8 ข้อ คัดเลือกพื้นที่ทำเลค้าขายราคาประหยัดสำหรับแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย คือ ใกล้แหล่งชุมชน, มีความหนาแน่น,ผู้คนผ่านตลอดทั้งวัน, ต้นทุนทำเลเหมาะสม, ระยะเวลาเช่าเหมาะสม, ที่จอดรถเพียงพอ, สภาพแวดล้อมเอื้อต่อการประกอบธุรกิจ และไม่มีข้อจำกัดด้านกฎหมาย เช่น จัดโซนนิ่งพื้นที่บางธุรกิจ อาทิ ร้านอาหาร หรือต้องเสียภาษีป้าย โดยมอบกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เจรจาเอกชน หน่วยงานพันธมิตรจัดสรรพื้นที่ในกรุงเทพฯ ในราคาพิเศษ เช่น สถานีบริการน้ำมัน ตลาดชุมชน ห้างสรรพสินค้า ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ โดยได้แล้ว 124 แห่ง ส่วนภูมิภาคให้สำนักงานพาณิชย์ 76 จังหวัดเจรจาและได้แล้ว 3,977 แห่ง อยู่ภาคเหนือ 17 จังหวัด 758 แห่ง ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ 20 จังหวัด 1,435 แห่ง ภาคกลาง 25 จังหวัด 1,121 แห่ง และภาคใต้ 14 จังหวัด 663 แห่ง ยังมีธุรกิจแฟรนไชส์ 525 ราย แบ่งเป็นอาหาร 234 แบรนด์ เครื่องดื่ม 103 แบรนด์ การศึกษา 68 แบรนด์ บริการ 63 แบรนด์ ค้าปลีก 33 แบรนด์ ความงาม และสปา 24 แบรนด์ รวมถึงสินค้าชุมชน และรถขายอาหารเคลื่อนที่ (ฟู้ดทรัค) เป็นทางเลือก

อย่างไรก็ตาม สำหรับมาตรการที่ 2 เพิ่มกำลังซื้อในประเทศ กระตุ้นและส่งเสริมแรงงานต่างด้าวที่อาศัยอยู่ไทยซื้อสินค้าส่งกลับภูมิลำเนาแทนการส่งเงิน ระยะแรกเน้นแรงงานเมียนมา ซึ่งเข้ามาประกอบอาชีพในไทยมากสุด 2,513,856 คน กำหนด 2 กลุ่มแรก คือ 1. สินค้าที่รู้จักอยู่แล้ว ผู้ผลิตเป็นผู้ส่งสินค้า หรือมีศูนย์กระจายสินค้า เอาต์เล็ต ในเมียนมา ซื้อสินค้าผ่านผู้ผลิตผ่านระบบสั่งซื้อ ผู้ผลิตเป็นผู้บริหารจัดส่งสินค้าไปศูนย์กระจายสินค้า เอาต์เล็ต หรือเครือข่ายในเมียนมาเพื่อมารับสินค้า 2. สินค้าชุมชนและ OTOP SME ยังไม่มีเอาต์เล็ตในเมียนมา ให้สั่งซื้อผ่านแพลตฟอร์มของโลจิสติกส์ จัดส่งผ่าน Logistics Platform ของไทย เมียนมา ซึ่งต้องมีการส่งเสริมและนำเสนอสินค้าให้เป็นที่รู้จัก

 

A person sitting at a podium with a microphone

Description automatically generated

นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์

ผู้แทนการค้าไทย

 

3. นายกฯ หวังดึงเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (ที่มา: สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น., ประจำวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567)

นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ผู้แทนการค้าไทย กล่าวถึงการทำงานด้านการค้าและการลงทุนของทีมไทยแลนด์ โดยได้เปิดเผยตัวเลขด้านการลงทุนจากการทำงานของทีมไทยแลนด์ภายใต้การนำของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ว่าองคาพยพด้านการลงทุนที่สำคัญ คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน โดยปี 2566 ในภาพรวม มีโครงการขอรับการส่งเสริม 2,307 โครงการ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 16 มูลค่าเงินลงทุน 848,318 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 43 ซึ่งถือว่าสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา สำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ซึ่งถือเป็นเครื่องจักรที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ในประเทศไทย นำไปสู่การจ้างงานและการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีระหว่างบริษัทต่างชาติกับผู้ประกอบการไทย ปี 2566 มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมจำนวน 1,394 โครงการ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38 มูลค่าเงินลงทุนรวม 663,239 ล้านบาท เพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 72 โดยหากพิจารณาประเทศที่มีมูลค่าการขอรับการส่งเสริมสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน 159,387 ล้านบาท สิงคโปร์ 123,385 ล้านบาท และสหรัฐอเมริกา 83,954 ล้านบาท จะเห็นได้ว่า ประเทศจีนประเทศเดียว มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 25 ของเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมด สำหรับประเทศญี่ปุ่น มีมูลค่า 79,151 ล้านบาท สูงเป็นอันดับ 4 แต่นับว่ายังเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 จากปีก่อน นักลงทั้งทุนจากทั้งสี่ประเทศจึงมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจไทย

อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบายให้ทีมไทยแลนด์ทุกคนร่วมกันทำงานเพื่อดึงเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ เพื่อส่งผลกระทบเชิงบวกอย่างต่อเนื่องต่อระบบเศรษฐกิจไทย ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันกันเองในอุตสาหกรรมซึ่งเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภค และเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ในประเทศ เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์อีวี อุตสาหกรรม BCG ทำให้เกิดการจ้างงาน ในขณะเดียวกันรัฐบาลยังส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศเพื่อสร้างเครือข่ายการผลิตของตนเอง และใช้สิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนไปเปิดตลาดใหม่ในประเทศเป้าหมาย

 

ข่าวต่างประเทศ

 

4. สมาคมการค้าสหรัฐวอนรัฐบาลทั่วโลกร่วมมือสร้างปลอดภัยการเดินเรือในทะเลแดง (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2567)

สมาคมการค้าหลายแห่งในสหรัฐซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทจำนวนมากในแวดวงอุตสาหกรรมของโลก ได้พร้อมใจกันยื่นจดหมายเปิดผนึกเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลทั่วโลกมีส่วนร่วมในความพยายามด้านความมั่นคงในทะเลแดงซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งทางทะเลที่สำคัญของโลก โดยสำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า จดหมายเปิดผนึกดังกล่าวลงนามโดยกลุ่มการค้าชั้นนำหลายแห่งในสหรัฐ ซึ่งรวมถึงสมาคมเครื่องแต่งกายและรองเท้าสหรัฐ (AAFA) และสหพันธ์ค้าปลีกแห่งชาติของสหรัฐ (NRF) ซึ่งปัจจุบัน ปฏิบัติการผู้พิทักษ์ความเจริญรุ่งเรือง (Operation Prosperity Guardian) ซึ่งนำโดยสหรัฐ เป็นความพยายามทางการทหารหลักในการปกป้องเรือพาณิชย์ในทะเลแดงจากการโจมตีโดยกลุ่มกบฏฮูตีซึ่งเป็นกลุ่มติดอาวุธในเยเมน โดยมีประเทศมากกว่า 23 แห่งลงนามเพื่อเป็นแนวร่วม ทั้งนี้ จดหมายเปิดผนึกดังกล่าวเรียกร้องให้ชาติอื่นๆ เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการปกป้องการขนส่งสินค้า

 อย่างไรก็ตาม จดหมายเปิดผนึกระบุว่า ในฐานะตัวแทนของสมาคมต่างๆ ซึ่งมีสมาชิกที่ต้องพึ่งพาเส้นทางขนส่งทางทะเลที่ปลอดภัยและความมั่นคง เราขอเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ ให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุน หรือปฏิบัติตนให้สอดคล้องกับภารกิจ เพื่อสนับสนุนการค้าทางทะเลที่ปลอดภัยและมั่นคงในทะเลแดง

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)