ข่าวประจำวันที่ 11 เมษายน 2567

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

1. 'พิมพ์ภัทรา' อัพสกิลชุมชนดีพร้อม เชื่อมโยงท่องเที่ยวสายมูปั้นรายได้ (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 11 เมษายน 2567)

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงการลงพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า นายเศรษฐาได้ลงพื้นที่และมอบนโยบายเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นผ่านการยกระดับต้นทุนเดิมไปสู่ศักยภาพในการแข่งขัน เพื่อให้เศรษฐกิจในพื้นที่มีความเข้มแข็งและประชาชนมีรายได้อย่างยั่งยืนได้นั้น จึงจำเป็นต้องกระจายโอกาสและสร้างรายได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงการเชื่อมโยงศักยภาพซอฟต์พาวเวอร์ในพื้นที่ ล่าสุดจึงมอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม เร่งยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและสร้างความเข้มแข็งชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบผ่านโครงการถ่ายทอดองค์ความรู้ เปลี่ยนชุมชน ให้ดีพร้อมสู่อุตสาหกรรมที่ยั่งยืน ด้วยการถอดบทเรียนความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนจากผู้ประกอบการและเกษตรกรในพื้นที่ที่ได้เข้ารับบริการของกระทรวงอุตสาหกรรมมาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และบอกเล่าประสบการณ์ในการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีต่างๆ ไปปรับใช้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เพื่อให้เกษตรกรและผู้ที่สนใจทั่วไปได้นำไปปรับใช้กับธุรกิจและเชื่อมโยงไปสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวชุมชนสายมูได้อย่างดี โดยมีประชาชนจากชุมชนต่างๆ ในพื้นที่ให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 2,000 คน

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ นายเศรษฐายังเตรียมเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยการยกระดับศักยภาพโครงสร้างพื้นฐานในการให้บริการสนามบินจังหวัดนครศรีธรรมราชสู่สนามบินนานาชาติ รวมถึงผลักดันการขยายถนน 4 ช่องจราจร ได้แก่ สายคลองเหลง-ขนอม และขนอม-ดอนสัก

 

A person in a suit with his arms crossed

Description automatically generated

นายวีริศ อัมระปาล

ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

2กนอ.อัดมาตรการเสริม ดึงผู้ประกอบการเข้า 'Rubber City' (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 11 เมษายน 2567)

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า กนอ. จัดมาตรการส่งเสริมการขายที่ดินนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จังหวัดสงขลา ในส่วนพื้นที่ Rubber City มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 โดยผู้ประกอบกิจการใหม่ จะได้รับส่วนลด 3% ของอัตราราคาขายที่ดิน และผู้ประกอบกิจการเดิม จะได้รับส่วนลด 5% ของอัตราราคาขายที่ดิน สำหรับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ผู้ประกอบกิจการใหม่และผู้ประกอบกิจการเดิมจะได้รับมาตรการส่งเสริมการขายที่ดิน ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ดังนี้ 1. ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน หรือทำสัญญาซื้อขายที่ดินเพื่อประกอบกิจการในนิคมอุตสาหกรรม ตามแบบที่ กนอ. กำหนด 2. ชำระค่ามัดจำไม่น้อยกว่า 15% ของมูลค่าที่ดินในวันทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน โดยค่าที่ดินส่วนที่เหลือต้องชำระภายใน 30 วัน หลังจากได้รับหนังสือแจ้งจาก กนอ. 3. แจ้งเริ่มประกอบกิจการภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อประกอบกิจการจาก กนอ. 4. ห้ามขายหรือโอนที่ดินบางส่วนหรือทั้งหมดภายใน 9 ปี นับจากวันที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อประกอบกิจการจาก กนอ. เว้นแต่ได้รับอนุญาตจาก กนอ. ทั้งนี้ ไม่นับรวมถึงกรณีการควบรวมกิจการ หรือกรณีผู้ขออนุญาตใช้ที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดามีการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นใหม่ภายหลังได้แจ้งกับ กนอ. ไว้แล้วเป็นลายลักษณ์อักษร และผู้ขออนุญาตใช้ที่ดิน ดังกล่าวถือหุ้นในนิติบุคคลที่จัดตั้งใหม่ไม่น้อยกว่า 20% ของทุนจดทะเบียน และ 5. กรณีผู้ประกอบกิจการใหม่หรือ ผู้ประกอบกิจการเดิม ไม่ปฏิบัติตามข้อใด ข้อหนึ่งที่กำหนดไว้ ให้ถือว่ามาตรการส่งเสริมการขายที่ดินทั้งหมดเป็นอันยุติ ผู้ประกอบกิจการใหม่หรือผู้ประกอบกิจการเดิม ต้องชำระค่าที่ดิน ค่าบำรุงรักษาสิ่งอำนวยความสะดวก และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งหมดให้แก่ กนอ. โดยมีผลย้อนหลังนับตั้งแต่วันทำสัญญาจะซื้อจะขายหรือสัญญาซื้อขายที่ดินกับ กนอ. และต้องชำระให้แล้วเสร็จภายในเวลาที่ กนอ. กำหนด

อย่างไรก็ตาม Rubber City เป็นทางเลือกใหม่ที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างมากในขณะนี้ โดยมีความได้เปรียบในด้านทำเลที่ตั้งในจังหวัดสงขลา ซึ่งถือเป็นศูนย์กลางการค้าขนาดใหญ่ และเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญทางเศรษฐกิจ และยังมีโครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคมขนส่งที่มีประสิทธิภาพเชื่อมโยงทั้งภายในและต่างประเทศที่สำคัญ ยังเป็นศูนย์กลางแหล่งผลิตยางพาราและตลาดการค้ายางที่สำคัญของประเทศอีกด้วย ทั้งนี้ สำหรับนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จังหวัดสงขลา ในส่วนพื้นที่ Rubber City ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลฉลุง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เนื้อที่ 1,043 ไร่ เป็นพื้นที่เขตอุตสาหกรรมทั่วไป 582 ไร่ พื้นที่พาณิชยกรรม 35 ไร่ และพื้นที่ระบบสาธารณูปโภคและพื้นที่สีเขียว 426 ไร่ ปัจจุบันมีผู้ประกอบกิจการแล้ว 12 ราย ใช้พื้นที่รวม 64 ไร่ ประกอบด้วย นักลงทุนไทย 56% นักลงทุนมาเลเซีย 21% นักลงทุนญี่ปุ่น 4% และนักลงทุนอื่นๆ อาทิ อังกฤษ ไต้หวัน ปานามา 19% โดยนิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จังหวัดสงขลา ในส่วนพื้นที่ Rubber City ยังคงเหลือพื้นที่ขาย/ให้เช่า อีก 468 ไร่

 

A person in a suit

Description automatically generated

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท

ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)

 

3. กยท.เจ้าภาพจัดประชุม IRC โชว์งานวิจัย-นวัตกรรมยางพารา (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 11 เมษายน 2567)

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า ได้เป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมวิชาการยางระหว่างประเทศ (IRC) ภายใต้แนวคิด "จุดประกายเสริมสร้างนวัตกรรมยางพารามุ่งสู่อนาคตที่ยั่งยืน" ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างประเทศของสภาวิจัยและพัฒนายางระหว่างประเทศ (International Rubber Research and Development Board: IRRDB) ซึ่งเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาจากสถาบันวิจัยยางธรรมชาติในประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติ ปัจจุบันมีสมาชิก 19 ประเทศ (บังกลาเทศ บราซิล กัมพูชา แคเมอรูน จีน โกตดิวัวร์ ฝรั่งเศส กัวเตมาลา อินเดีย อินโดนีเซีย ไลบีเรีย มาเลเซีย เมียนมา ไนจีเรีย ปาปัวนิวกินี ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา เวียดนาม และไทย) โดยนักวิจัยจะนำเสนอผลงานทางวิชาการ งานวิจัย และร่วมแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะ ความคิดเห็น ประสบการณ์ ถือเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงงานวิจัยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด นำไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมยางที่ยั่งยืน สามารถขับเคลื่อนวงการยางพาราทั้งระบบให้พร้อมรับมือกับความท้าทายที่กำลังเผชิญและในอนาคตได้

อย่างไรก็ตาม ในปีนี้มีงานวิจัยและนวัตกรรมที่เป็นไฮไลท์ สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาตลอดห่วงโซ่อุปทานที่น่าสนใจ ได้แก่ โมเดลระบบกรีดยางที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิต การจัดการความยั่งยืนจากเกษตรกรรายย่อยที่ประสบความสำเร็จ นวัตกรรม ในการบริหารความเสี่ยง เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร การผลิตพลังงานทางเลือกจากยางธรรมชาติ และการวิจัยด้านคุณสมบัติถุงมือยางธรรมชาติที่ไร้โปรตีน ซึ่งชิ้นงานเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอด เพื่อยกระดับยางพาราตามมาตรฐานสากล นำไปสู่การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไป ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ลงพื้นที่เรียนรู้ ศึกษากระบวนการรวบรวมผลผลิตและการส่งน้ำยางขายให้พ่อค้าคนกลางของกลุ่มเกษตรกรทำสวนยางพาราบางบุตร จังหวัดระยอง และกระบวนการผลิตแผ่นรมควัน (RSS) ของสหกรณ์กองทุนสวนยางอำเภอบ่อทอง จำกัด จังหวัดชลบุรี ซึ่งเวทีนี้ จะสร้างเครือข่ายความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้องในวงการยาง ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ จนถึงปลายน้ำทุกความคิดเห็น และมุมมองที่หลากหลาย จะนำไปสู่การกำหนดแนวทางร่วมกัน เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมยางให้เกิดความยั่งยืนทั้งด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ โดยมุ่งประโยชน์ที่จะเกิดกับกลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย นำไปสู่การพัฒนาความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม

 

ข่าวต่างประเทศ

 

A flag with a red blue and black circle

Description automatically generated

4. ยอดส่งออกของเกาหลีใต้เพิ่ม 21.6% ในช่วง 10 วันแรกของเดือนเม.ย. (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 11 เมษายน 2567)

สำนักงานศุลกากรเกาหลีใต้ (KCS) เปิดเผยว่า ยอดส่งออกของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นในอัตราเลขสองหลักในช่วง 10 วันแรกของเดือนเมษายน 2567 เนื่องจากเซมิคอนดักเตอร์และรถยนต์ที่ผลิตในเกาหลีใต้เป็นที่ต้องการอย่างมาก โดยในรายงานระบุว่า ยอดส่งออกของเกาหลีใต้อยู่ที่ 1.644 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐในช่วง 10 วันแรกของเดือนเมษายน เพิ่มขึ้น 21.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยยอดส่งออกเซมิคอนดักเตอร์พุ่งขึ้น 45.5% แตะที่ 2.57 พันล้านดอลลาร์ ขณะที่ยอดส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้น 8.6% สู่ระดับ 1.64 พันล้านดอลลาร์ สำหรับยอดส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมัน เหล็ก ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์เคลื่อนที่ เครื่องจักรที่มีความแม่นยำ เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และคอมพิวเตอร์ ต่างปรับตัวเพิ่มขึ้นในอัตราเลขสองหลักในช่วง 10 วันแรกของเดือนเมษายน

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของยอดนำเข้าเพิ่มขึ้น 5.8% เมื่อเทียบเป็นรายปี แตะ 1.843 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วง 10 วันแรกของเดือนเมษายน ส่งผลให้เกาหลีใต้มียอดขาดดุลการค้า 1.99 พันล้านดอลลาร์

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)