ข่าวประจำวันที่ 17 เมษายน 2567

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

1. “พิมพ์ภัทรา” กางแผนขนย้ายแคดเมียม ดำเนินคดีผู้ครอบครอง (ที่มา: โพสต์ทูเดย์, ประจำวันที่ 17 เมษายน 2567)

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันนี้ คณะกรรมการอำนวยการขนย้ายกากแคดเมียม และสังกะสี ได้ชี้แจงรายละเอียดแผนการขนย้ายกากแดคเมียมของ บมจ.เบาว์แอนด์บียอนด์ ให้กับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั้ง 3 พื้นที่ ได้แก่ จังหวัดตาก สมุทรสาคร และชลบุรี ทราบเพื่อเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการชี้แจงประชาชนในพื้นที่ต่างๆ เพื่อให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เบื้องต้น ทราบจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดว่า ผู้ประกอบการที่ครอบครองกากแดคเมียมทุกรายยินยอมที่จะให้นำกากที่ถูกอายัดไว้ กลับไปฝังกลบที่จังหวัดตาก นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือประเด็นการตรวจสอบกองกากแคดเมียมก่อนที่จะนำขึ้นรถขนส่ง การจัดทำแผนฉุกเฉินของ บมจ.เบาว์แอนด์บียอนด์ หากเกิดอุบัติเหตุระหว่างการขนส่ง และการทบทวนคำสั่งทางปกครองของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดที่ต้องสอดคล้องกับแผนการขนย้ายกาก ซึ่งในวันนี้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาครจะไปร้องทุกข์กล่าวโทษการกระทำผิดของผู้ครอบครองกากแคดเมียมทั้งหมด กับ บก.ปทส. พร้อมประเมินปริมาณของกลางก่อนที่จะโอนให้ บก.ปทส.ต่อไป และในวันเดียวกัน กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปร่วมตรวจสอบความแข็งแรงของหลุมฝังกลบของบริษัทฯ ที่จังหวัดตาก คาดว่าจะรู้ผลในวันเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม สำหรับความเห็นของประชาชนในพื้นที่ต้นทางเคลื่อนย้ายกาก คือ จังหวัดสมุทรสาคร ชลบุรี และกรุงเทพมหานคร อยากให้การขนย้ายขึ้นรถบรรทุกไม่เกิดการรั่วไหล หรือการฟุ้งกระจายของกากแคดเมียมส่วนประชาชนในพื้นที่ปลายทางที่จังหวัดตาก โดยเฉพาะในพื้นที่หมู่ 6 ตำบลหนองบัวใต้ อยากให้ตรวจสอบความแข็งแรงของหลุมฝังกลบ การเคลื่อนย้ายกากลงหลุมฝังกลบต้องปลอดภัย ไม่ฟุ้งกระจายและหลังจากฝังกลบแล้วไม่เกิดการรั่วไหลออกสู่สิ่งแวดล้อม และไม่กระทบต่อสุขภาพของประชาชน ทั้งนี้ ทุกประเด็นข้อกังวล ทางคณะทำงานแก้ปัญหา และการขนย้ายกากตะกอนแคดเมียม ซึ่งประกอบด้วย 6 กระทรวง จะประชุมหารือ พิจารณาแผนงาน และมาตรการขนย้ายกากแคดเมียม

 

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

 

2ทัพ EV จีนบุกไทย ทะลักแสนล้าน (ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ, ประจำวันที่ 17 เมษายน 2567)

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยประสบความสำเร็จในการช่วงชิงความเป็นผู้นำด้านการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า(EV) เป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาค จากข้อมูลสถิติการให้ส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพลังงานแบตเตอรี่ (BEV) ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนแล้วจำนวน 17 โครงการ มูลค่าการลงทุน 38,792 ล้านบาท กำลังการผลิตรวมกว่า 364,000 คัน ทั้งนี้ มีบริษัทจีนที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม เช่น BYD, Changan Motor, SAIC-CP (MG), AION, NETA, Great Wall Motor เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีรถยนต์ไฟฟ้าแบบปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) จำนวน 7 โครงการ มูลค่าการลงทุน 9,263 ล้านบาท กำลังการผลิต 159,600 คัน รถยนต์ไฟฟ้าแบบไฮบริด (HEV) จำนวน 6 โครงการ มูลค่าการลงทุน 30,224 ล้านบาท คิดเป็นกำลังการผลิต 305,900 คัน ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้ลงทุนหลายรายได้เริ่มผลิตรถยนต์ BEV ในประเทศไทยแล้ว ตามข้อกำหนดจากมาตรการ EV3 เช่น Great Wall Motor และ NETA ขณะที่ MG, BYD และ GAC-AION ก็จะเริ่มผลิตภายในปี 2567 นี้ ส่วน CHANGAN อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงานและคาดว่าจะเริ่มผลิตได้ในไตรมาสแรกของปี 2568

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของแบตเตอรี่สำหรับรถ EV ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2567 มีโครงการได้รับอนุมัติส่งเสริมลงทุนแล้ว 41 โครงการ เงินลงทุน 25,638 ล้านบาท หากรวมทั้งหมด 71 โครงการที่กล่าวมา จะมีมูลค่าเงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท (103,907 ล้านบาท) ยังไม่รวมสถานีชาร์จไฟฟ้า (EV Charging Station) ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมแล้ว 15 โครงการ เงินลงทุนรวม 4,403 ล้านบาท จำนวนหัวจ่ายประจุไฟฟ้ารวมกัน 18,223 หัวจ่าย

 

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา

รองประธานกรรมการหอการค้าไทย นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป

 

3. รัฐ-เอกชนหนุนไทยฮับ 'อาหารอนาคต' (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 17 เมษายน 2567)

 

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย นายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยว่า การเปลี่ยนแปลงของเทรนด์โลกและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดนวัตกรรมอาหารใหม่ๆ เกิดขึ้น เกิดเป็นกลุ่มสินค้าใหม่ที่เรียกว่า อาหารอนาคต (Future Food) ซึ่งในประเทศไทยก็ได้รับกระแสของอาหารอนาคตเช่นเดียวกัน ดังนั้น หอการค้าไทยได้หารือกับหน่วยงานรัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง โดยประเด็นหารือ ทั้งเรื่องกำหนดนิยาม จัดกลุ่มอาหารอนาคต และกำหนดเป้าหมายการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารอนาคตของไทยภายในปี 2570 ซึ่งทุกหน่วยงานเข้าใจตรงกันและมีเป้าหมายเดียวกันในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารอนาคต จึงแบ่งหมวดหมู่อาหารอนาคต ออกเป็น 4 กลุ่ม คือ 1. อาหารฟังก์ชั่น และสารประกอบเชิงฟังก์ชั่น อาทิ สารสกัด Nutrition adjustment ผลิตภัณฑ์โพรไบโอติก เป็นต้น 2. อาหารทางการแพทย์ และอาหาร เฉพาะบุคคล อาทิ อาหารผู้ป่วยเฉพาะโรค อาหารสำหรับผู้สูงวัย 3. อาหารอินทรีย์ อาทิ ผลิตผลอินทรีย์ พืชผัก ธัญพืช ผลไม้ และผลิตภัณฑ์ อาหารอินทรีย์ และ 4. อาหารโปรตีนทางเลือก อาทิ Plant based, Insect based, Microbial based, Algae based และ Novel food เช่น กลุ่มเนื้อ เพาะเลี้ยง Cultured meat เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม จากนิยามและการจัดกลุ่ม ทำให้เห็นภาพชัดขึ้นในการส่งเสริมและผลักดันอาหารอนาคต ว่าอาหารอนาคตมีความหลากหลาย และอาหารอนาคตไทยมีการส่งออกไปทั่วโลก โดยปี 2565 ไทยส่งออกสินค้า Future Food มีมูลค่า 1.42 แสนล้านบาท เติบโต 24% และปี 2566 ไทยส่งออกสินค้า Future Food มีมูลค่า 1.43 แสนล้านบาท เติบโต 1% คิดเป็นสัดส่วน 9% ของอาหารทั้งหมด โดยกลุ่มอาหารอนาคตที่ส่งออกมากสุด คือ อาหารฟังก์ชั่น และสารประกอบเชิงฟังก์ชั่น รวม 1.28 แสนล้านบาท เติบโต 1% มีสัดส่วน 89.5% ต่ออาหารอนาคตทั้งหมด รองลงมา อาหารโปรตีนทางเลือก 6.5 พันล้านบาท เติบโต 1% มีสัดส่วน 4.6% ตามด้วยอาหารทางการแพทย์และอาหารเฉพาะบุคคล 6.3 พันล้านบาท เติบโต 4% มีสัดส่วน 4.5% และอาหารอินทรีย์ 1.96 พันล้านบาท หดตัว 13% มีสัดส่วน 1.4% ตลาดสำคัญปี 2566 ได้แก่ อาเซียน มีสัดส่วน 43% หดตัว 1.3% ตามด้วยสหรัฐ 14% หดตัว 3% สหภาพยุโรป 27% และ สหราชอาณาจักร 11% เติบโต 8.6% จีน 10.3% เติบโต 16.6% ทั้งนี้ ในปี 2567 อาหารอนาคตจะตอบโจทย์ ผู้บริโภคมากขึ้น คาดเติบโต 25% จากปัจจัยเศรษฐกิจฟ้นตัวดีขึ้น ทำให้มั่นใจการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น อีกทั้งเทรนด์การบริโภคเรื่องสุขภาพและความยั่งยืน ล้วนเป็นสิ่งที่อาหารอนาคตตอบโจทย์ โดยเทรนด์อาหารปี 2567 อาทิ แรงหนุนจากชุมชนท้องถิ่น สู่อุตสาหกรรมอาหาร สังคมการสูงวัย อาหารที่ดีต่อสมดุลจุลินทรีย์ในลำไส้ การเพิ่มมูลค่าลดการสูญเสียอาหาร และการท่องเที่ยวเน้นรับประทานอาหารสุขภาพ จึงเป็นโอกาสของไทยในสินค้า อาหารอนาคตเช่นเดียวกัน และเชื่อว่าไทยมีความพร้อมเป็นศูนย์กลางอาหารอนาคต

 

ข่าวต่างประเทศ

A blue and white logo

Description automatically generated

 

4. IMF เพิ่มคาดการณ์การเติบโต GDP โลกปี 67 เป็น 3.2% (ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, ประจำวันที่ 17 เมษายน 2567)

นายปิแอร์-โอลิวิเยร์ กูแรงชาส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของไอเอ็มเอฟและผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย กล่าวในการแถลงข่าวระหว่างการประชุมฤดูใบไม้ผลิประจำปี 2567 ของไอเอ็มเอฟ และธนาคารโลกว่า แม้จะมีการคาดการณ์ที่เลวร้าย เศรษฐกิจโลกก็ยังคงมีความเข้มแข็งอย่างน่าทึ่ง โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องและอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลงเร็วเกือบเท่ากับที่เพิ่มขึ้น ซึ่งแม้จะมีแผลเป็นทางเศรษฐกิจน้อยลงจากวิกฤตต่างๆ ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา แต่ไอเอ็มเอฟประเมินว่า ประเทศกำลังพัฒนาที่มีรายได้ต่ำจะมีแผลเป็นมากขึ้น โดยหลายประเทศในกลุ่มนี้ยังคงดิ้นรนเพื่อฟื้นตัวจากโควิด-19 และวิกฤตค่าครองชีพ ทั้งนี้ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ปรับเพิ่มประมาณการการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในปี 2567 เป็น 3.2% เพิ่มจากระดับ 3.1% ที่คาดการณ์ไว้ในเดือนมกราคม 2567 ตามรายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลก (WEO) ฉบับล่าสุดที่เผยแพร่เมื่อวันอังคาร (16 เมษายน 2567)

อย่างไรก็ตาม ทางด้านสำนักข่าวซินหัวระบุว่า รายงาน WEO แสดงให้เห็นว่าประมาณการล่าสุดสำหรับการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในอีก 5 ปีข้างหน้าที่ 3.1% นั้น ถือว่าอยู่ในระดับต่ำสุดในรอบหลายทศวรรษ โดยไอเอ็มเอฟ ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปทั่วโลกคาดว่าจะลดลงจากค่าเฉลี่ยทั้งปีที่ 6.8% ในปี 2566 เป็น 5.9% ในปี 2567 และ 4.5% ในปี 2568 โดยประเทศเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้วจะกลับสู่เป้าหมายเงินเฟ้อได้เร็วกว่าประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)