ข่าวประจำวันที่ 19 เมษายน 2567

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a desk writing on papers

Description automatically generated

นายณัฐพล รังสิตพล

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. 'ปลัดอุตฯ' ลงพื้นที่ตาก เช็กความพร้อมฝังกลบ 'แคดเมียม' (ที่มา: ไทยโพสต์, ประจำวันที่ 19 เมษายน 2567)

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะ เดินทางลงพื้นที่ตรวจดูความพร้อมของสถานที่ ที่จะรับกากแร่แคดเมียมจากพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดชลบุรี และกรุงเทพฯ กลับมาฝังกลบที่จังหวัดตาก ที่บริษัทเบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) ตำบลหนองบัวใต้ อำเภอเมืองตาก โดยนายสมชัย กิจเจริญรุ่งโรจน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก ให้การต้อนรับ ทั้งนี้ คณะได้เดินทางไปดูสภาพบ่อเก็บกากแคดเมียม บ่อที่ 5, บ่อที่ 4, โรงเก็บกากแร่จากบ่อที่ 4 และอาคารโรงเก็บแร่เก่า ตามลำดับ โดยพบว่า ผนังบ่อที่ 5 และพื้นบ่อมีรอยแตกร้าวเป็นช่วงๆ ยังไม่มีความพร้อมที่จะรองรับกากแคดเมียมได้อย่างปลอดภัย เพราะอาจก่อให้เกิดการรั่วซึมขึ้นได้ ส่วนบ่อที่ 4 ผู้ประกอบการมีการปิดคลุมผ้าใบไว้แล้ว ขณะที่โรงเก็บกากแร่จากบ่อที่ 4 มีกากแคดเมียมอยู่ในถุงบิ๊กแบ็ก และกองอยู่นอกถุง จำนวนประมาณ 2,600 ตัน และตรวจสอบอาคารโรงเก็บแร่เก่า พบว่า สามารถรองรับปริมาณกากแคดเมียม เพื่อรอนำไปฝังกลบ ในขณะที่มีการปรับปรุงช่อมแซมบ่อเก็บกากแคดเมียมบ่อที่ 5 ได้อย่างเพียงพอ จากนั้นช่วงบ่าย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและคณะ ได้ประชุมร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดตาก รองผู้ว่าราชการจังหวัดตาก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ช่วย สส.ตาก เขต 1 และภาคประชาชน ที่ห้องประชุมชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดตาก รวมทั้งประชุมออนไลน์ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดชลบุรี และจังหวัดกรุงเทพฯ เพื่อพิจารณาแผนการบริหารจัดการขนย้ายกากแคดเมียม กลับไปยังพื้นที่หลุมฝังกลบที่ตาจังหวัดตาก และการสร้างความเข้าใจกับชุมชนในพื้นที่ ที่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยอยู่

อย่างไรก็ตาม กรอบการนำกากแคดเมียม กลับไปฝังกลบที่จังหวัดตาก จะเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2567 ไปสิ้นสุดในเดือนสิงหาคม 2567 โดยหลังดำเนินการเสร็จ จะปิดคลุมบ่อด้วยผ้ายาง HDPE และเทคอนกรีตปิดฝาบ่อ รวมทั้งตรวจสอบคุณภาพน้ำใต้ดินทุกๆ 3 เดือน

 

A person sitting at a desk with a microphone

Description automatically generated

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

 

2พาณิชย์ชี้ช่องผู้ส่งออก พัฒนาสินค้าเจาะตลาดแคนาดา (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 19 เมษายน 2567)

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมฯ ได้รับรายงานจาก น.ส.วิวรรณ ศรีรับสุข ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโตรอนโต แคนาดา ถึงทิศทางการบริโภคอาหารของชาวแคนาดา และโอกาสในการส่งออกสินค้าอาหารและเครื่องดื่มของไทยเจาะตลาดแคนาดา ดยทูตพาณิชย์ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผู้บริโภคในแคนาดาเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยอย่างต่อเนื่องในปี 2567 ท่ามกลางปัจจัยภายในภาวะเศรษฐกิจซบเซา ภาวะเงินเฟ้อ และปัจจัยภายนอก ผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนและความวุ่นวายด้านภูมิรัฐศาสตร์ทั่วโลก และในด้านอาหาร ได้มองหาสินค้าอาหารประเภท Comfort Food อาหารที่รับประทานแล้วสบายใจ หรือเครื่องดื่มที่เมื่อบริโภคแล้วเกิดความรู้สึกดี หรือช่วยปลอบประโลมจิตใจให้อารมณ์ดียิ่งขึ้น กลุ่มสินค้านี้ทำให้เกิดโอกาสทางธุรกิจและนวัตกรรมใหม่ เพื่อตอบโจทย์และสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ผู้บริโภคที่หลากหลายมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น พฤติกรรมการดื่มกาแฟในทุกวัน ยังคงเป็นที่นิยม หนึ่งในเหตุผลของการบริโภคกาแฟ มาจากประโยชน์ของสารกาเฟอีนที่สร้างความกระปรี้กระเปร่า แต่ผู้บริโภคมีความต้องการแสวงหาทางเลือกใหม่ๆ ที่มาทดแทนสารกาเฟอีนในรูปแบบอื่น เช่น หันไปดื่มเครื่องดื่มที่ให้พลังงานในรูปแบบอื่นทดแทน อย่างเช่นกาแฟ gold milk ที่มีส่วนผสมสมุนไพร (Chai) ชาอินเดีย ผงเห็ดหอม รากชิคโครี่ ผงขิง อบเชย และพริกไทยดำ ซึ่งเป็นตัวเลือกของผู้บริโภคสายห่วงใยสุขภาพ สำหรับอาหาร ก็มีความต้องการอาหารร่วมสมัยที่พัฒนาจากอาหารพื้นเมือง เช่น อาหารของคาบสมุทรบอลข่าน ซึ่งเป็นดินแดนทางตะวันออกเฉียงใต้ของทวีปยุโรป ส่วนการดูแลสุขภาพ จะตระหนักเลือกผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ที่มีส่วนผสมที่สร้างประโยชน์ให้ผิวพรรณ เช่น แซลมอน แตงกวา กะหล่ำปลี และกิมจิ เพื่อเป็นอาหารผิวที่ช่วยรักษาผิวแห้ง สร้างความชุ่มชื่น หรือที่เรียกกันว่า Skincare breakfast ที่เป็นกระแสในโซเชียลมีเดีย

อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตและผู้ส่งออกในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม ควรศึกษา แนวโน้มตลาด และคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ หรือการนำของดั้งเดิมมาเพิ่มความแตกต่างเพื่อตอบโจทย์ตลาด ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มรักสุขภาพที่มองหาผลิตภัณฑ์ทางเลือก การพัฒนารูปแบบสินค้าจากรูปแบบเดิมเพื่อสร้างจุดขายให้ผลิตภัณฑ์ การผลิตอาหารร่วมสมัยที่พัฒนาจากอาหารพื้นเมือง การสรรหาผลไม้ต่างถิ่นเข้าสู่ตลาด และการสร้างความทรงจำดีๆ ผ่านรูปแบบอาหาร ประหนึ่งได้ทานรสมือแม่ กลับมาเป็นกระแสอีกครั้ง รวมถึงการยกระดับนวัตกรรมที่นำปัญญาประดิษฐ์มาเป็นส่วนหนึ่งในการผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์ในอนาคต หากสามารถคิดค้นสูตรจากอาหารที่หลากหลายในประเทศ เริ่มจากอาหารที่ต่างชาติ รู้จักและเป็นที่นิยม นำมาพัฒนาให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ในรูปแบบต่างๆ เช่น มันฝรั่งกรอบรสส้มตำ เป็นโอกาสทางธุรกิจที่ให้คนไทยสามารถพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าสินค้าจากวัตถุดิบที่มีในพื้นที่

 

A person sitting at a table

Description automatically generated

น.ส.บุปผา เรืองสุด

อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

3. เพิ่มศักยภาพรับศก.ฟื้น (ที่มา: สยามรัฐ, ประจำวันที่ 19 เมษายน 2567)

น.ส.บุปผา เรืองสุด อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เปิดเผยว่า จากข้อมูลของสภาพัฒน์ ว่าแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัวจากภาคส่งออกการอุปโภคบริโภคและท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง รวมถึงสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ได้เปิดเผยข้อมูลสถานการณ์ และแนวโน้มอุตสาหกรรม ปี 2567 และสภาอุตสาหกรรมภาค 5 ภาค เพื่อนำเสนอมุมมองแนวโน้มอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในปีนี้จาก 46 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า กลุ่มอุตสาหกรรมที่คาดว่า จะขยายตัวดีขึ้น อาทิ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็น กลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วน และอะไหล่ยานยนต์ กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยจากข้อมูลดังกล่าวกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในฐานะหน่วยงานที่ต้องพัฒนาศักยภาพแรงงานให้มีผลิตภาพสูง รองรับความต้องการของตลาดแรงงาน จึงร่วมกับหลายหน่วยงานเพื่อวางแผนในการพัฒนากำลังแรงงานของประเทศ ซึ่งครั้งนี้ ได้ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เตรียมความพร้อมทั้งหลักสูตรการฝึกเพื่อพัฒนาทักษะแรงงานของไทยให้ทันต่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย และนวัตกรรมใหม่ เพื่อรองรับการเจริญเติบโตด้านอุตสาหกรรมของประเทศ ซึ่งตรงกับนโยบาย Up-Skill for More Earn เพื่อการมีงานทำรองรับเศรษฐกิจใหม่ของนายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เตรียมแผนในการ UpSkill และ Re-Skill ให้แก่แรงงานในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมด้านยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์และหุ่นยนต์ ดิจิทัลและการวิเคราะห์ข้อมูล นอกจากนี้มีการร่วมกันกำหนดหลักสูตรของกรมพัฒนาฝีมือแรงงานมาใช้ในการฝึกอบรม ซึ่งจะนำร่องใน 14 นิคมอุตสาหกรรม ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ นิคมอุตสาหกรรมพิจิตร นิคมอุตสาหกรรมแก่งคอย นิคมอุตสาหกรรมนครหลวง นิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร นิคมอุตสาหกรรมบางขัน นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง นิคมอุตสาหกรรมบางปู นิคมอุตสาหกรรมบางพลี นิคมอุตสาห กรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ นิคมอุตสาหกรรมสงขลา และนิคมอุตสาหกรรมสระแก้ว

 

ข่าวต่างประเทศ

A flag with a star on it

Description automatically generated

 

4. S&P หั่นเรตติ้งเครดิตอิสราเอลหวั่นความขัดแย้งบานปลาย (ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, ประจำวันที่ 18 เมษายน 2567)

S&P Global Ratings เปิดเผยว่า การหั่นเรตติ้งเครดิตสกุลเงินท้องถิ่นและสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของอิสราเอลเหลือ A+ จาก AA- มีสาเหตุมาจากความเสี่ยงด้านความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ S&P ยังให้แนวโน้มประเทศเป็นลบ สะท้อนถึงความเสี่ยงว่าความขัดแย้งทางทหารอาจจะรุนแรงขึ้นและส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของอิสราเอล การจัดสรรงบประมาณ และบัญชีเดินสะพัดมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ พร้อมทั้งคาดการณ์ว่าการขาดดุลงบประมาณของรัฐบาลอิสราเอลจะเพิ่มเป็น 8% ของจีดีพี

อย่างไรก็ตาม ในเดือนเมษายน 2567 นี้ ฟิทช์ เรตติ้งได้ถอดอิสราเอลออกจาก "รายชื่อเฝ้าระวังอันดับความน่าเชื่อถือ" (rating watch negative) และคงอันดับเครดิตเรตติ้งไว้ที่ A+ แต่ระบุว่า สงครามของอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในฉนวนกาซาเป็นความเสี่ยง

 

 

 

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)