ข่าวประจำวันที่ 7 มิถุนายน 2567

ข่าวในประเทศ

A person standing at a podium with a microphone

Description automatically generated

นายจุลพงษ์ ทวีศรี

อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)

 

1. คุมโซลาร์เซลล์ใช้แล้ว กรอ. คาด 16 ล้านแผง (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 7 มิถุนายน 2567)

 

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้เป็นประธานการประชุม คณะอนุกรรมการอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด ครั้งที่ 1 เพื่อเสนอแนะเป็นแนวทางการควบคุมการนำเข้า-ส่งออกเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้แล้ว และแนวทางในการควบคุมการนำเข้าแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แล้ว โดย กรอ.ได้เสนอแนวทางการควบคุมการนำเข้า-ส่งออกเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้แล้ว โดยเสนอให้ใช้เกณฑ์ในการพิจารณาประสิทธิภาพที่ 70% ของประสิทธิภาพเดิม ด้วยวิธีการตรวจวัดประสิทธิภาพตามการตรวจสอบความพร้อมใช้ของเซลล์แสงอาทิตย์ที่ผ่านการใช้งานแล้ว (มศอ.1011-2565) เป็นเกณฑ์ในการจำแนกระหว่างเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้แล้วและซากเซลล์แสงอาทิตย์ ตาม พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย 2535 และห้ามนำเข้าเซลล์แสงอาทิตย์ที่ใช้แล้ว เพิ่มเติมข้อกำหนดของกระทรวงพาณิชย์ที่ได้ห้ามนำเข้าซากเซลล์ แสงอาทิตย์แล้ว เนื่องจากคำนึงถึงผล กระทบที่อาจจะเกิดขึ้น และการจัดการ ซากเซลล์แสงอาทิตย์ (ขยะอิเล็กทรอนิกส์) ภายในประเทศต่อไป และได้เสนอแนวทางพิจารณาการควบคุมการนำเข้าแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้าที่ใช้แล้วเข้ามาในราชอาณาจักรด้วย

อย่างไรก็ตาม รายงานข่าวแจ้งว่า ประเมินจากแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าประเทศไทย 2561-2580 ส่งเสริมใช้พลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) 15,574 เมกะวัตต์ ภายในปี 2580 ทำให้ประเมินว่าจะแผงโซลาร์ในไทยรวม 16 ล้านแผง หรือ 400,000 ตัน

 

A person sitting at a desk with a microphone

Description automatically generated

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์

อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์

 

2ส่งออกอาหารมังสวิรัติ (ที่มา: สยามรัฐ, ประจำวันที่ 7 มิถุนายน 2567)

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมได้มอบนโยบายให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทำการสำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่ประจำอยู่ ตามนโยบายนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และให้รายงานผลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้รับรายงานจาก นางสาวชนรรค์ดา สรภักดี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ถึงแนวโน้มการบริโภคอาหารมังสวิรัติของชาวเนเธอร์แลนด์ที่ได้เป็นอาหารมื้อหลักมากขึ้น และโอกาสในการส่งออกสินค้าอาหารของไทยเข้าสู่ตลาดเนเธอร์แลนด์ โดยทูตพาณิชย์ได้รายงานเพิ่มเติมว่า ขณะนี้มีข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติเนเธอร์แลนด์ ระบุว่า หนึ่งในสี่ของอาหารมื้อหลักทั้งหมดที่ผู้บริโภคเนเธอร์แลนด์บริโภคในปีที่ผ่านมาเป็นอาหารมังสวิรัติ โดยร้อยละ 22 ของผู้บริโภคชาวเนเธอร์แลนด์ยังคงรับประทานเนื้อสัตว์ แต่เลือกที่จะปรับเปลี่ยนไปรับประทานอาหารที่ไม่มีเนื้อสัตว์หรือปลาอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ และร้อยละ 43 ของผู้บริโภคชาวเนเธอร์แลนด์เลือกรับประทานอาหารมังสวิรัติ 1 หรือ 2 วันต่อสัปดาห์ ซึ่งปัจจัยที่ทำให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มาจากเรื่องสุขภาพ และการป้องกันเรื่องสภาพภูมิอากาศจากการเลี้ยงสัตว์ ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้บริโภคเนเธอร์แลนด์ ให้ความใส่ใจเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม รวมถึงสภาพภูมิอากาศมากขึ้น ทำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยหันไปบริโภคอาหารที่ทำจากพืชหรือผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนเนื้อสัตว์มากขึ้น และลดการบริโภคเนื้อสัตว์ให้น้อยลง และมีแนวโน้มที่ผู้บริโภคจะลดการบริโภคเนื้อสัตว์น้อยลงอย่างต่อเนื่องด้วยเหตุผลทั้งเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นและเพื่อเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้สภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมดีขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม หากผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทย สามารถปรับตัวและพัฒนา รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนเนื้อสัตว์ให้มีคุณภาพและรสชาติที่ดีขึ้น สามารถตอบโจทย์ความต้องการและความคาดหวังของผู้บริโภคได้ คาดว่าผลิตภัณฑ์อาหารทดแทนเนื้อสัตว์ของไทย จะสามารถเจาะตลาดและขยายตลาดในเนเธอร์แลนด์และยุโรปได้มากขึ้น แต่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องคุณภาพของผลิตภัณฑ์ รวมถึงคุณค่าทางโภชนาการ รสชาติและเนื้อสัมผัส เพื่อที่จะสามารถตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้บริโภค

 

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

 

3. บีโอไอชวนฉางอานซื้อชิ้นส่วนยานยนต์ (ที่มา: ข่าวสด, ประจำวันที่ 7 มิถุนายน 2567)

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ผลสำเร็จจากความร่วมมือระหว่าง บีโอไอ กับบริษัท ฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย จำกัด ในการจัดงาน "CHANGAN Sourcing Day" เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 เพื่อจัดหาชิ้นส่วนจากผู้ผลิตในประเทศ สำหรับสายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัท ฉางอาน พบว่าเกิดการเจรจาธุรกิจ 78 คู่ มีมูลค่าซื้อขายชิ้นส่วนในประเทศกว่า 3,600 ล้านบาท โดยการจัดงานในครั้งนี้ มีผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมงานกว่า 400 คน จาก 233 บริษัท ซึ่งในจำนวนนี้มีบริษัทที่ได้รับคัดเลือกให้ร่วมเจรจาธุรกิจในครั้งนี้ครอบคลุมชิ้นส่วนหลักๆ ตามความต้องการของฉางอาน เช่น High Voltage Harness, Outside Door Handle, E-Drive, Cross Car Beam (Die Casting), Intelligent Thermal, Outside Door mirror และ Headlining/Carpet โดยฉางอานประกาศแผนลงทุนในไทยเฟสแรก 10,000 ล้านบาท ในการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพวงมาลัยขวาแห่งแรกของบริษัทที่อยู่นอกประเทศจีน และเป็นศูนย์กลางการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร และแอฟริกาใต้ ซึ่งโรงงานจะตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง กำลังการผลิตรวม 100,000 คันต่อปี และจ้างงานกว่า 2,000 คน วางศิลาฤกษ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 และคาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องการผลิตได้ในช่วงต้นปี 2568 ทั้งนี้ ฉางอานแสดงถึงความตั้งใจจริงที่จะใช้ชิ้นส่วนในประเทศ โดยได้ประกาศเป้าหมายการใช้ชิ้นส่วนในประเทศมากถึง 60% ภายในปีแรก และจะเพิ่มถึง 80% ภายใน 5 ปีด้วย

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา บีโอไอได้จัดกิจกรรม Sourcing Day ร่วมกับผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไปแล้ว 4 ราย ได้แก่ BYD, NETA, MG และ BMW ได้ทำให้เกิดมูลค่าซื้อขายชิ้นส่วนในประเทศกว่า 42,000 ล้านบาท โดยการจัดงาน CHANGAN Sourcing Day ครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศใน Tier ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการจัดซื้อชิ้นส่วน การว่าจ้างผลิต หรือการร่วมมือเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาสู่ผู้ประกอบการไทย

 

ข่าวต่างประเทศ

A close up of a flag

Description automatically generated

 

4. มูดี้ส์ขู่หั่นเครดิตธนาคารระดับภูมิภาค 6 แห่งของสหรัฐ กังวลผลกระทบปล่อยกู้ภาคอสังหาฯ (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 7 มิถุนายน 2567)

มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส เปิดเผยว่า ธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐอย่างน้อย 6 แห่งที่ปล่อยกู้ให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ (Commercial Real Estate) มีความเสี่ยงที่จะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ โดยมูดี้ส์ระบุว่า ธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐที่มีความเสี่ยงจะถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือได้แก่ เฟิร์สต์ เมอร์ชานท์ส คอร์ป (First Merchants Corp), เอฟ.เอ็น.บี คอร์ป (F.N.B. Corp), ฟูลตัน ไฟแนนเชียล คอร์ป (Fulton Financial Corp), โอลด์ เนชันแนล แบงคอร์ป (Old National Bancorp), พีแพค-แกลดสโตน ไฟแนนเชียล คอร์ป (Peapack-Gladstone Financial Corp) และธนาคาร WaFd ซึ่งแถลงการณ์ของมูดี้ส์ยังระบุด้วยว่า ธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐที่มุ่งเน้นการปล่อยเงินกู้ให้กับภาคอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ กำลังเผชิญกับปัญหาคุณภาพสินทรัพย์และความสามารถในการทำกำไร เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับสูงเป็นเวลานานนั้น ทำให้สถานะของธนาคารระดับภูมิภาคเหล่านี้ตกอยู่ในความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเสี่ยงที่จะเผชิญกับวงจรขาลง

อย่างไรก็ตาม การล่มสลายของธนาคารซิลิคอน วัลเลย์ แบงก์ และซิกเนเจอร์ แบงก์ได้สั่นความเชื่อมั่นในภาคธนาคารระดับภูมิภาคของสหรัฐ และก่อให้เกิดแรงเทขายอย่างหนักในหุ้นกลุ่มธนาคารระดับภูมิภาค และเมื่อไม่นานมานี้ มูดี้ส์ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคารนิวยอร์ก คอมมิวนิตี แบงคอร์ป (NYCB) ลงสู่อันดับขยะ (Junk) โดยระบุว่า NYCB ประสบปัญหาขาดทุนอย่างหนักอันเนื่องมาจากการปล่อยกู้ให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)