ข่าวประจำวันที่ 4 กรกฎาคม 2567

ข่าวในประเทศ

A person in a blue shirt

Description automatically generated

นายภาสกร ชัยรัตน์

อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม

 

1. "ดีพร้อม" ส่งเสริมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มไทย ปีนี้มี 22 กิจการผ่านมาตรฐาน Thailand Textiles Tag (ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, ประจำวันที่ 4 กรกฎาคม 25672567)

นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) เปิดเผยว่า ภาครัฐมีนโยบายขับเคลื่อนซอฟต์เพาเวอร์ เพื่อยกระดับความรู้ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยให้เกิดมูลค่าและรายได้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มที่ได้รับแรงกดดันสูงจากกลุ่มประเทศตลาดใหม่ที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ดังนั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมดำเนินการตามนโยบาย RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ผ่านกลยุทธ์การปรับตัวให้ก้าวทันอุตสาหกรรมยุคใหม่ (RESHAPE THE INDUSTRY) โดยการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเข้ามาเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า รวมทั้งนำจุดเด่นของไทยประสานกับความคิดสร้างสรรค์สร้างความแตกต่างให้กับสินค้าไทยให้มีความโดดเด่นในตลาดโลก และเพิ่มมาตรฐานของสินค้าในทุกๆ ด้าน ทั้งนี้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้จัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอเข้าสู่มาตรฐานอุตสาหกรรม (Thailand Textiles Tag) ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน โดยการบูรณาการกับสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ เพื่อเร่งยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย ทั้งต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เช่น ผู้ผลิตเส้นด้าย ผ้าผืน เสื้อผ้าสำเร็จรูป เคหะสิ่งทอ และสินค้าไลฟ์สไตล์ ที่มีสิ่งทอเป็นองค์ประกอบพร้อมการขอรับรองภายใต้ตราสัญลักษณ์คุณภาพผลิตภัณฑ์สิ่งทอไทย (Thailand Textiles Tag)

อย่างไรก็ตาม ในปี 2567 มีผู้ประกอบการสนใจยื่นขอการรับรองและได้รับตราสัญลักษณ์ดังกล่าวรวมทั้งสิ้น 22 กิจการ 34 ผลิตภัณฑ์ เช่น ผ้าผืนสำหรับนำไปพิมพ์และตัดเย็บเป็นกางเกงช้างและกางเกงประจำจังหวัดต่างๆ ผ้าไหม ผ้าฝ้ายทอมือ เสื้อผ้าเด็ก เสื้อผ้าสำเร็จรูปทั้งบุรุษและสตรี รวมทั้ง ชุดเครื่องนอนและเสื้อผ้ากีฬาที่ได้รับการพัฒนาโครงสร้างเนื้อผ้าให้สัมผัสแล้วรู้สึกเย็นสบาย เป็นต้น คาดการณ์ว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท โดยใน 5 ปีที่ผ่านมานั้น มีผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองเครื่องหมายรวมทั้งสิ้น 151 กิจการ 271 ผลิตภัณฑ์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจปีละไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 180 ล้านบาท

 

A person in a suit

Description automatically generated

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย

ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ จีไอที

 

2ส่งออกทองคำพ.ค.พลิกบวก (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 4 กรกฎาคม 2567)

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ จีไอที เปิดเผยว่า ยอดการส่งออกทองคำเดือนพฤษภาคม 2567 มีมูลค่า 582.33 ล้านดอลลาร์สหรัฐ กลับมาเพิ่มขึ้น 135.39% หลังจากราคาทองคำเริ่มนิ่งและผันผวนลดลง ทำให้มีการส่งออกไปเก็งกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งต่างจากช่วง 2 เดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งเดือน มีนาคมและเมษายน การส่งออกทองคำลดลงอย่างมากนับร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะผู้ส่งออกกลัวความเสี่ยงจากการผันผวนของราคา ทั้งนี้ ส่งผลให้ยอดรวม 5 เดือน ของปี 2567 (มกราคม - พฤษภาคม) ส่งออกทองคำ มีมูลค่า 2,472 ล้านดอลลาร์ แต่ยังติดลบ 16.79% และหากแยกการส่งออกทองคำเป็นรายเดือน เดือนมกราคม มีมูลค่า 469.12 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 194.17% เดือนกุมภาพันธ์ มีมูลค่า 740.46 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 309.51% เดือนมีนาคม มีมูลค่า 391.82 ล้านดอลลาร์ ลดลง 75.02% และเดือนเมษายน มีมูลค่า 288.64 ล้านดอลลาร์ ลดลง 64.57% ส่วนการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับ ไม่รวมทองคำเดือนพฤษภาคม 2567 มีมูลค่า 826.08 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 4.02% ฟื้นตัวต่อเนื่อง 9 เดือนติดต่อกัน และหากรวมทองคำ มีมูลค่า 1,408.42 ล้านดอลลาร์ ก็ยังเพิ่มขึ้นถึง 35.22% ขณะที่ยอดส่งออก 5 เดือน ปี 2567 การส่งออกไม่รวมทองคำมูลค่า 3,851.79 ล้านดอลลาร์ เพิ่ม 11.24% หากรวมทองคำ มูลค่า 6,324.15 ล้านดอลลาร์ ลดลง 1.70%

อย่างไรก็ตาม การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับที่ขยายตัวได้ดี ได้รับแรงหนุนจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว รวมถึงจากภาวะเงินเฟ้อชะลอตัว ธนาคารกลางหลายประเทศมีแนวโน้มลดดอกเบี้ย ทำให้ช่วยกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชน และการผลิตโลก ประกอบกับ กระทรวงพาณิชย์ได้ทำการกระตุ้นการส่งออก และการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง มีการเดินทางท่องเที่ยว ก็ส่งผลให้อัญมณีและเครื่องประดับขายดีขึ้นตามไปด้วย โดยที่ได้รับความนิยมในการส่งออก เช่น เครื่องประดับทอง เพิ่ม 10.48% เครื่องประดับเงิน เพิ่ม 24.51% พลอยก้อน เพิ่ม 90.73% พลอยเนื้อแข็งเจียระไน เพิ่ม 9.47% พลอยเนื้ออ่อนเจียระไน เพิ่ม 5.91% เพชรก้อน เพิ่ม 0.29% เพชรเจียระไน เพิ่ม 11.72% เครื่องประดับเทียม เพิ่ม 11.93% เป็นต้น

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายผยง ศรีวณิช

ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.)

 

3. เศรษฐกิจไทยยังน่าห่วงปัจจัยลบใหม่ฉุดส่งออก-ภาคผลิต (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 4 กรกฎาคม 2567)

นายผยง ศรีวณิช ประธานสมาคมธนาคารไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) เปิดเผยภายหลังการประชุม กกร.ว่า ที่ประชุมมีการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจในหลายๆ ด้าน และเห็นว่าบางเรื่องบางเหตุการณ์ เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยเฉพาะความรุนแรงด้านสงครามระหว่างประเทศและอื่นๆ ทำให้จากการค้าโลกมีแนวโน้มชะลอตัว ขณะที่ต้นทุนและระยะเวลาการขนส่งเพิ่มขึ้น การค้าโลกชะลอตัวทำให้ตลอดไตรมาสที่ 2 และคาดว่า จะต่อเนื่องไปอีก เป็นผลจากความขัดแย้งด้านภูมิรัฐศาสตร์ในตะวันออกกลางที่รุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ ผู้ประกอบการบางส่วนเร่งสั่งซื้อสินค้าก่อนมาตรการขึ้นภาษีของสหรัฐฯต่อจีนมีผลภายในปีนี้ ส่งผลให้ค่าระวางเรือล่าสุดปรับตัวขึ้น 95% เมื่อเทียบจากเดือนเมษายน 2567 และใช้ระยะเวลาในการขนส่งนานขึ้น ตามภาวะขนส่งคับคั่งและขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ สิ่งเหล่านี้ถือเป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมต่อภาคการผลิตและการส่งออกของโลกในระยะข้างหน้า ขณะที่การส่งออกไทยเผชิญความเสี่ยงจากสงครามการค้าของสหรัฐฯ-จีน การขึ้นภาษีของสหรัฐฯต่อสินค้าจีนรอบใหม่อาจกระทบสินค้าส่งออกไทยที่เป็นห่วงโซ่อุปทานให้แก่จีน ซึ่งประเมินว่าสินค้าเหล่านี้คิดเป็นสัดส่วน 19.5% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดไปจีน โดยสินค้าที่มีความเสี่ยงได้รับผลกระทบมาก เช่น ยางแผ่น ยางแท่ง เม็ดพลาสติกและเคมีภัณฑ์ ฯลฯ ซึ่งอาจมีปัจจัยบวกชั่วคราวจากการเร่งสั่งซื้อสินค้าและการปรับเปลี่ยนมาส่งออกจากไทย คาดว่ามูลค่าการส่งออกทั้งปีปรับดีขึ้นเล็กน้อยแต่ยังมีประเด็นฉุดรั้งจากเรื่องต้นทุนจากการขาดแคลนเรือและตู้คอนเทนเนอร์ รวมถึงระยะเวลาการขนส่งที่เพิ่มขึ้น กกร. จึงปรับกรอบการเติบโตของการส่งออกเป็น 0.8-1.5% จากเดิม 0.5-1.5%

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ การชะลอตัวของอุตสาหกรรมยานยนต์และอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากอุปสงค์ในประเทศยังเปราะบางจะกระทบภาพรวมเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจสูงอย่างยานยนต์ และอสังหาริมทรัพย์ โดยยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วง 5 เดือนแรกหดตัว 24% เป็นผลมาจากผู้บริโภคมีรายได้ จากเศรษฐกิจนอกระบบเป็นสัดส่วนสูง ส่วนยอดโอนอสังหาฯ 4 เดือนแรกสำหรับบ้านจัดสรรหดตัว 11.8% และอาคารชุดหดตัว 7.4% ซึ่งหากอุตสาหกรร ยานยนต์และอสังหาฯ มีแนวโน้มหดตัวมากขึ้นอาจจะกระทบทำให้ GDP ปีนี้ลดลงกว่าที่คาดไว้ 0.3-0.4%

 

ข่าวต่างประเทศ

A flag with a crescent and a star

Description automatically generated

4. ตุรกีเผยดัชนี CPI +71.60% เดือนมิ.ย. ต่ำกว่าคาดการณ์ (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 4 กรกฎาคม 2567)

สถาบันสถิติของตุรกี เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้บริโภค ปรับตัวขึ้น 71.60% ในเดือนมิถุนายน 2567 เมื่อเทียบรายปี แต่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 72.60% และชะลอตัวจากระดับ 75.45% ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้ เมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี CPI ปรับตัวขึ้น 1.64% จากระดับ 3.37% ในเดือนพฤษภาคม

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ สถาบันสถิติ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากการใช้จ่ายของผู้ผลิต ปรับตัวขึ้น 50.09% ในเดือนมิถุนายน 2567 เมื่อเทียบรายปี ทั้งนี้ เมื่อเทียบรายเดือน ดัชนี PPI ปรับตัวขึ้น 1.38% ในเดือนมิถุนายน 

                          

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)