ข่าวประจำวันที่ 5 กรกฎาคม 2567

ข่าวในประเทศ

A person in a suit sitting in a chair

Description automatically generated

นายภูมิธรรม เวชยชัย

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

1. ไทยจับมือมาเลเซีย ผลักดันมูลค่าการค้าแตะ 1 ล้านล้าน (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 5 กรกฎาคม 2567)

 

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า ไทย-มาเลเซีย (Thailand -Malaysia Joint Trade Committee :JTC) ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย ว่าจากการประชุมร่วมกันนายเตงกู ซาฟรุล เตงกู  อับดุล อาซิซรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุน การค้าและอุตสาหกรรมมาเลเซีย ได้หารือ 2 ประเด็นหลักด้วยกัน คือ ประเด็นที่ 1. มีการตกลงที่จะสร้างระบบโลจิสติกส์ของทั้งสองประเทศเพื่อเชื่อมโยงกันเพื่อเป็นตัวเชื่อมในการทำเศรษฐกิจการค้าทั้งสองประเทศ เดินหน้าเชื่อมโยงเศรษฐกิจชายแดนและเพิ่มตัวเลขการค้าชายแดน โดยเร่งรัดให้คณะทำงานด้านการค้าชายแดน และการค้าการลงทุนที่นายกรัฐมนตรีสองฝ่ายได้จัดตั้งขึ้นทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด ซึ่งความมุ่งหวังถ้าทั้งสองประเทศทำได้จะสร้างมูลค่าการค้าระหว่างกันถึง 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 1 ล้านล้านบาท ภายในปี 2570 โดยจะอำนวยความสะดวกในการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของทั้งสองฝ่ายให้รวดเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งไทยได้ขอให้มาเลเซียเร่งอนุญาตนำเข้าเนื้อโค เนื้อสุกร และนกเขาชวาเสียง รวมทั้งตรวจรับรองผู้ผลิตสินค้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งของไทยในการส่งออกไปยังมาเลเซีย ประเด็นที่ 2 คือ การเร่งรัดการค้าชายแดนไทยได้เสนอการเชื่อมโยงเศรษฐกิจท้องถิ่นระหว่าง 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทยกับ 5 รัฐตอนเหนือของมาเลเซียในรูปแบบเมืองคู่แฝดทางการค้า ระหว่างจังหวัดนราธิวาส-รัฐกลันตัน สงขลา-รัฐเคดาห์ สตูล-รัฐเปอร์ลิส ยะลา-รัฐเปรักและปัตตานี-รัฐตรังกานู ตลอดจนได้ผลักดันให้เร่งหาข้อสรุปในการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารข้ามพรมแดนระหว่างไทย-มาเลเซีย เพื่อให้ลงนามได้ภายในปีนี้ ขณะเดียวกันทั้งสองฝ่ายยินดีต่อความคืบหน้าการก่อสร้างถนนเชื่อมด่านสะเดาแห่งใหม่และด่านบูกิตกายูฮิตัมฝั่งมาเลเซียที่กำหนดจะแล้วเสร็จในปี 2568 ซึ่งจะทำให้การขนส่งสินค้าและการเดินทางของนักท่องเที่ยวข้ามพรมแดนสะดวกมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะส่งเสริมความร่วมมือใหม่ๆ โดยเฉพาะการส่งเสริมผู้ประกอบการด้านฮาลาล และธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไทยมีศักยภาพไปยังมาเลเซีย รวมถึงความร่วมมือด้านดิจิทัลและดาต้าเซ็นเตอร์ที่รัฐบาลทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการสร้างสภาพแวดล้อม ที่เอื้ออำนวยต่อการค้า ดึงดูดการลงทุน และเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และได้ประชาสัมพันธ์เชิญชวนฝ่ายมาเลเซียเข้าร่วมงานมหกรรมการค้าชายแดน ณ จังหวัดสงขลา รวมทั้งกิจกรรมส่งเสริมการค้าของไทยในปี 2567 ที่จะจัดขึ้นในประเทศมาเลเซีย เช่น งาน Thailand Week 2024 และงานแสดงสินค้านานาชาติในประเทศไทยด้วย มาเลเซียจะจัดงานสินค้าฮาลาล ของประเทศ

 

A person in a suit with his arms crossed

Description automatically generated

นายวีริศ อัมระปาล

ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

 

2กนอ.เปิดเวทีรับฟังความเห็นจากภาคเอกชน (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 5 กรกฎาคม 2567)

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 เป็นโครงการสำคัญของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มขีดความสามารถ และความจุในการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติและสินค้าเหลวสำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมี ซึ่งการเปิดรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้เพื่อทบทวนการศึกษาให้เหมาะสมกับความต้องการ กนอ. ในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการนำเสนอหลักการที่ต้องการเปลี่ยนแปลง รวมถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่อหลักการเดิมของโครงการฯ ที่คณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) หรือคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบไว้ต่อสำนักงานคณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ตามที่กำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการ ในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ.2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของธุรกิจหรือกิจการของภาคเอกชน                     ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน และลักษณะทางกายภาพของสภาพพื้นที่ของโครงการฯ

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนายคณพศ ขุนทอง รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ 3) กล่าวว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้แสดงความคิดเห็นและความต้องการที่จะพัฒนาโครงการฯ ประกอบด้วย พื้นที่หลังท่าเทียบเรือ 350 ไร่ ความยาวหน้าท่า 814 เมตร เพื่อนำไปวิเคราะห์รูปแบบการประกอบธุรกิจรวมถึงรายละเอียดต่างๆ ที่สำคัญ สำหรับโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 แบ่งการพัฒนาโครงการเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วยงานขุดลอกร่องน้ำ งานถมทะเลพื้นที่ 1,000 ไร่ และลงทุนธุรกิจท่าเทียบเรือก๊าซ 200 ไร่ กนอ. ลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) กับบริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล หรือ GMTP เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ระยะเวลาสัมปทาน 35 ปี กนอ. ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 12,900 ล้านบาท บริษัท GMTP ลงทุนท่าเทียบเรือก๊าซ 35,000 ล้านบาท ซึ่งขณะนี้คืบหน้าไปแล้วกว่า 84% พร้อมเปิดให้บริการปี 2569 ส่วนช่วงที่ 2 อยู่ระหว่างทบทวนผลการศึกษาสำหรับการพัฒนาพื้นที่ท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 2) ประกอบด้วยพื้นที่หลังท่าเทียบเรือ 350 ไร่ ความยาวหน้าท่า 814 เมตร

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายพิชิต มิทราวงศ์

กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.)

 

3. SME กังวลต้นทุนพุ่งกดดัชนีความเชื่อมั่น Q2 ร่วง (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 5 กรกฎาคม 2567)

นายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank เปิดเผยว่า SME D Bank ร่วมกับ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทำการสำรวจดัชนีเชื่อมั่นเอสเอ็มอี ไตรมาส 2/67 โดยพบว่าภาพรวมดัชนีเชื่อมั่นฯ ไตรมาส 2/2567 อยู่ในระดับ 52.06 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากไตรมาสแรก อยู่ในระดับ 52.36 เนื่องจากเอสเอ็มอี กังวลต้นทุนประกอบการสูงขึ้น ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทั้งเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐยังขาดความชัดเจน กำลังซื้อของลูกค้าลดลง ปัญหาขาดสภาพคล่อง  ในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ เมื่อแยกพิจารณาตามประเภทอุตสาหกรรม เอสเอ็มอี ด้านการผลิต 55% มีความเชื่อมั่นสูงกว่ากลุ่มอื่น เนื่องจากไตรมาส 2/2567 เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวในภาคการท่องเที่ยว การบริโภคในประเทศ และการส่งออก ทำให้ธุรกิจการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเชื่อมั่นว่า ผลประกอบการและสภาพคล่องของธุรกิจการผลิตจะดีขึ้น และเชื่อมั่นเงินลงทุนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ธุรกิจภาคเกษตรมีราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง มีความเชื่อมั่นต่ำที่สุด และต่ำกว่าธุรกิจอื่น เช่นเดียวกับในไตรมาสที่ 1/2567 ที่ผ่านมา ส่วนคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า (ไตรมาส 3/2567) ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีความเชื่อมั่นโดยภาพรวมเพิ่มขึ้นอยู่ระดับ 58.60 เพิ่มขึ้นในเกือบ ทุกด้าน โดยเฉพาะด้านผลประกอบการ จำนวนคำสั่งซื้อ ราคาขายของสินค้า สภาพคล่องของธุรกิจ และปริมาณการผลิต เนื่องจากคาดการณ์เศรษฐกิจโดยรวมจะดีขึ้น แต่ความกังวลด้านต้นทุนการประกอบการยังคงอยู่ในระดับเดิม

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ต้องการให้ภาครัฐ ออกมาตรการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนอย่างทันท่วงที โดยมาตรการที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี กลุ่มวิสาหกิจรายย่อย (Micro) และกลุ่มวิสาหกิจขนาดย่อม (Small) ต้องการมากที่สุด คือ มาตรการอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจเพื่อกระตุ้นกำลังซื้อ ในขณะที่กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลาง (Medium) ต้องการมาตรการเงินลงทุนยกระดับมาตรฐาน หรือปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

 

ข่าวต่างประเทศ

A red circle on a white cloth

Description automatically generated

4. ญี่ปุ่นเผยการใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลง 1.8% ในเดือนพ.ค. สวนทางคาดการณ์ (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 5 กรกฎาคม 2567)

กระทรวงกิจการภายในประเทศและการสื่อสารของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนญี่ปุ่นลดลง 1.8% ในเดือนพฤษภาคม 2567 เมื่อเทียบเป็นรายปี สวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.1% เนื่องจากราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นยังคงส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค และอาจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่เปราะบางของญี่ปุ่น ทั้งนี้ เมื่อเทียบเป็นรายเดือน การใช้จ่ายของภาคครัวเรือนญี่ปุ่นลดลง 0.3% ในเดือนพฤษภาคม สวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้น 0.5% ทางด้านสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า การใช้จ่ายภาคครัวเรือนเป็นดัชนีชี้วัดการอุปโภคบริโภคของภาคเอกชนญี่ปุ่น ซึ่งมีสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นปรับลดการประเมินตัวเลข GDP ประจำไตรมาส 1/2567 เป็นหดตัวลง 2.9% จากตัวเลขประมาณการเดิมที่ระบุว่าหดตัวเพียง 1.8% โดยนักวิเคราะห์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดการณ์ว่า การปรับลดการประเมินตัวเลข GDP อาจจะส่งผลให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ตัดสินใจปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นรายไตรมาสในเดือนนี้ และอาจจะ  มีผลกระทบต่อช่วงเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งต่อไปของ BOJ ด้วยเช่นกัน

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)