ข่าวประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2567

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

1. ยันไทยยังครองฐานผลิตรถ (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2567)

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงกรณีบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) ย้ายโรงงานผลิตและส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป จากโรงงานที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ไปโรงงานที่จังหวัดปราจีนบุรี ว่า ได้รับทราบรายงานเรื่องดังกล่าวแล้ว โดยเห็นว่าที่ผ่านมาบริษัท ฮอนด้าฯ ได้ย้ายการผลิตส่วนหนึ่งไปแล้ว เมื่อช่วงปีที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศ และครั้งนี้ก็เห็นว่าเป็นการย้ายฐานการผลิตไปรวมกันมากกว่า และส่วนหนึ่งก็ช่วยลดต้นทุนได้มากขึ้นด้วย ทั้งนี้ ปัจจุบันผู้ผลิตรถยนต์เครื่องยนต์สันดาปทุกค่ายได้ปรับตัว ขณะที่ค่ายรถยนต์ใหม่ๆ ที่ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรืออีวี มีการเข้ามาตั้งฐานการผลิตในไทยด้วย ซึ่งส่วนตัวมองว่า การแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ตอนนี้ มีผลต่อการดำเนินธุรกิจของค่ายรถยนต์แต่ทั้งหมดเชื่อว่าไทยจะได้ประโยชน์จากการใช้เป็นฐานการผลิตรถยนต์ในหลายประเภท ดังนั้นการผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์แต่ละแห่งตัดสินใจใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิต ทั้งรถยนต์เครื่องยนต์และอีวี สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องหาทางบริหารจัดการและหาทางสนับสนุนผู้ประกอบการผลิตรถยนต์ที่หลากหลายมากขึ้น โดยที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมได้หารือร่วมกับองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น หรือ เจโทร และหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ ถึงแนวทางการสนับสนุนและการช่วยเหลือโดยยืนยันว่า รัฐบาลพร้อมให้ความช่วยเหลือภาคเอกชนจากญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาได้คุยกับทางเอกชนญี่ปุ่นไปแล้ว มีข้อเสนอหลายอย่าง ซึ่งรัฐบาลก็กำลังพิจารณาแต่สิ่งที่เป็นห่วงตอนนี้คือ ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับซัพพลายเชน ส่วนใหญ่เป็นเอสเอ็มอีของไทย จึงขอความร่วมมือว่าให้ช่วยเหลือกัน เพราะตอนนี้เทรนด์ความต้องการรถยนต์เปลี่ยนไป โดยอยากให้มองว่า แม้มีรถอีวีเข้ามาก็ตาม แต่ก็มีมุมบวกกับรถยนต์สันดาปเหมือนกัน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้พยายามหาทางช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องเพื่อให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน ที่รัฐจะเข้าไปดูแลได้อย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ ในสัปดาห์หน้าจะเดินทางไปร่วมงานเปิดโรงงานของ จีเอซี ไอออน ซึ่งผลิตรถยนต์อีวีในประเทศไทย โดยจะช่วยสะท้อนถึงการใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการผลิตรถยนต์อีวีของภูมิภาคนี้

 

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์
อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กระทรวงพาณิชย์

 

2"พาณิชย์ - DITP" ชี้เป้าผู้ประกอบการไทยลงทุนในฟิลิปปินส์ เหตุมีศักยภาพสูง (ที่มา: สยามรัฐ, ประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2567)

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมได้มอบนโยบายให้ทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทำการสำรวจลู่ทางและโอกาสการส่งออกสินค้าไทยไปยังประเทศที่ประจำอยู่ตามนโยบายของนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และให้รายงานผลเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้รับรายงานจากนางสาวจันทนา โชติมุณี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา ฟิลิปปินส์ ถึงการเติบโตของประชากรวัยแรงงาน โอกาสในการส่งสินค้าไทยไปขาย และการเข้าไปลงทุนในฟิลิปปินส์ โดยปัจจุบันฟิลิปปินส์ เป็นประเทศที่มีประชากรวัยหนุ่มสาวจำนวนมาก อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 24.5 ปี เป็นอายุน้อยที่สุด เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียน รองจาก สปป.ลาว ที่เฉลี่ยอยู่ 23.8 ปี และมีการขยายตัวของจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นทุกปี โดยมีประชากรอายุต่ำกว่า15 ปี กว่า 30 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 31 ของจำนวนประชากรทั้งหมด มีประชากรวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 15-64 ปี ประมาณเกือบ70 ล้านคน หรือประมาณร้อยละ 64 ของประชากรทั้งหมด ถือเป็นอัตราการเติบโตของประชากรวัยทำงานเป็นอันดับ 3 รองจากมาเลเซียและ สปป.ลาวและ  มีอัตราเด็กเกิดใหม่ ปีละกว่า 1.5-1.6 ล้านคน ในขณะที่หลายประเทศ รวมถึงไทย เข้าสู่ยุคะที่หลายประเทศ รวมถึงไทย เข้าสู่ยุคประชากรชะลอตัวและคาดว่าจะลดลงในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ดังนั้นประเทศฟิลิปปินส์ จึงมีข้อได้เปรียบในเรื่องแรงงานและเศรษฐกิจในอนาคต โดยเฉพาะการเพิ่มกำลังแรงงานที่จะเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ที่สำคัญแรงงานฟิลิปปินส์ ยังมีความสามารถในด้านภาษาอังกฤษ และค่าแรงที่ค่อนข้างต่ำ รวมทั้งมีสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อธุรกิจ ทำให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุน ประเทศฟิลิปปินส์จึงเป็นตลาดที่น่าสนใจและมีศักยภาพ สำหรับผู้ประกอบการส่งออกของไทย ที่จะส่งออกสินค้าไปขาย และน่าสนใจสำหรับผู้ที่จะเข้าไปลงทุนในระยะต่อไป

 

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI)

 

3. BOI จับมือ EXIM BANK สร้างแรงจูงใจดึงลงทุนจากต่างประเทศ (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2567)

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า BOI ร่วมกับ ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ผสานพลังดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) และสนับสนุนผู้ประกอบการไทยตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) รวมทั้งสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้ยกระดับประสิทธิภาพการผลิตสู่ธุรกิจสีเขียว และเสริมศักยภาพผู้ประกอบการไทยให้พร้อมลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งการลงนามระหว่าง BOI และ EXIM BANK เป็นการผนึกกำลังและประสานจุดแข็งของทั้งสององค์กร เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยที่ต้องการขยายการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการดึงดูดกลุ่มนักลงทุนเป้าหมายจากต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในไทย โดย EXIM BANK เป็นธนาคารที่มีความเชี่ยวชาญด้านการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ รวมถึงมีผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่หลากหลาย ทั้งสินเชื่อในรูปแบบต่างๆ การประกันความเสี่ยง และบริการสนับสนุนการนำเข้า - ส่งออก ขณะที่ BOI เป็นหน่วยงาน ส่งเสริมการลงทุนที่มีเครือข่ายนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติที่กว้างขวาง มีสำนักงานในต่างประเทศ 17 แห่ง และในภูมิภาค 7 แห่งที่พร้อมดูแลนักลงทุนในพื้นที่ อีกทั้งมีเครื่องมือ สิทธิประโยชน์เพื่อส่งเสริมการลงทุนในด้านต่างๆ เช่น การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การอนุญาตให้ถือครองที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม การอำนวยความสะดวกด้านวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน และเงินอุดหนุนผ่านกองทุนเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันฯ เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ทางด้าน ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) กล่าวว่า ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ EXIM BANK นำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ    แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และดำเนินธุรกิจเป็นมิตร ต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยส่วนลดอัตราดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีในปีแรก สำหรับสินเชื่อ EXIM Green Goal และสินเชื่อ EXIM Solar D-Carbon Financing สำหรับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ภายในกิจการ เช่น การติดตั้ง Solar Rooftop, Solar Farm และ Solar Floating พร้อมได้สิทธิในการขึ้นทะเบียนคาร์บอนและรับรองคาร์บอนเครดิต รวมถึงสินเชื่อ EXIM Extra Transformation สำหรับผู้ส่งออกในกลุ่มอุตสาหกรรม S-curve เพื่อยกระดับภาคการผลิตของไทย การลงทุนเพื่อซื้อหรือปรับปรุงเครื่องจักร อุปกรณ์ ต่อเติม/ปรับปรุง/ก่อสร้างอาคารโรงงานพัฒนาหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ เพื่อลดต้นทุนการผลิตและยกระดับกิจการ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีใหม่และการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น

 

ข่าวต่างประเทศ

A close up of a flag

Description automatically generated

 

4. "พาวเวล" ชี้หากเฟดตรึงดอกเบี้ยสูงนานเกินไปอาจกระทบเศรษฐกิจ (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2567)

นายเจอโรม พาวเวล ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า การที่เฟดตรึงอัตราดอกเบี้ยในระดับสูงเกินไปและนานเกินไป อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ถึงแม้มีความคืบหน้าในการปรับลดเงินเฟ้อและลดความร้อนแรงในตลาดแรงงานในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เงินเฟ้อไม่ใช่ความเสี่ยงประการเดียวที่เราเผชิญ แต่การผ่อนคลายนโยบายการเงินที่ช้าเกินไปหรือน้อยเกินไปอาจสร้างความอ่อนแอต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการจ้างงาน ทั้งนี้ เศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีความแข็งแกร่ง เช่นเดียวกับตลาดแรงงาน แม้มีการชะลอตัวลงบ้างในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ เงินเฟ้อได้ชะลอตัวลง ขณะที่เฟดยังคงมีความมุ่งมั่นในการทำให้เงินเฟ้อปรับตัวลงสู่ระดับเป้าหมาย 2%

 อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ขาดความคืบหน้าในการทำให้เงินเฟ้อไปสู่เป้าหมาย 2% ในช่วงแรกของปีนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อรายเดือนครั้งล่าสุดก็ได้แสดงให้เห็นถึงความคืบหน้า และถ้าหากยังคงมีข้อมูลที่ดีปรากฎออกมาอีก ก็จะช่วยให้เรามีความเชื่อมั่นมากขึ้นว่าเงินเฟ้อกำลังปรับตัวไปสู่ระดับ 2% อย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ข้อมูลบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงมีการขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง แม้ว่าตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ได้ชะลอตัวก็ตาม

                    

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)