ข่าวประจำวันที่ 19 กรกฎาคม 2567

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

1. สอน. เตรียมขอไฟเขียวครม. ขยายโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ชาวไร่อ้อย (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 19 กรกฎาคม 2567)

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายให้สำนักงาน คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ช่วยเหลือตลอดจนพัฒนาศักยภาพเกษตรชาวไร่อ้อยให้มีผลผลิตอ้อยที่ดี ได้น้ำตาลทรายที่มีคุณภาพ เพื่อทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยทั่วประเทศมีคุณภาพที่ดีขึ้น ล่าสุดได้รับรายงานจาก นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างเดินหน้าโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย สำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย และแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ปี 2565 - 2567 และเตรียมขยายโครงการอีกเป็นปี 2568 - 2570 วงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท รวม 6,000 ล้านบาท

 

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ เลขาธิการสอน. กล่าวว่า ในการประชุมคณะทำงานดำเนินโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย สำหรับบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตรในไร่อ้อยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย และแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) ปี 2565 - 2567 ครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2567 ได้มีการหารือถึงการขยายอายุโครงการฯ เนื่องจากกำลังจะหมดอายุในเดือนกันยายน 2567 และที่สำคัญเป็นโครงการที่ช่วยชาวไร่ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย เพิ่มสภาพคล่องทางด้านการเงิน ทั้งด้าน   การผลิตอ้อย ส่งเสริมการตัดอ้อยสด ลดปัญหาอ้อยไฟไหม้และ PM2.5 การมีแหล่งน้ำสำรองเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเมื่อเกิดภัยแล้ง ส่งเสริมการนำเครื่องจักรกลมาใช้ในไร่อ้อยแบบครบวงจร ทดแทนการขาดแคลนแรงงานคน รวมไปถึงการรองรับนโยบาย BCG Economy ทั้งนี้ ที่ประชุมจึงได้มีการเสนอขอขยายโครงการอีกเป็นปี 2568 - 2570 มีกรอบวงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท รวม 3 ปี เป็นเงิน 6,000 ล้านบาท

 

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม

อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

 

2เงินทุนตั้งธุรกิจครึ่งปีพุ่ง 1.4 แสนล. (ที่มา: ข่าวสด, ประจำวันที่ 19 กรกฎาคม 2567)

 

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจเดือนมิถุนายน 2567 ว่า มีจำนวน 7,351 ราย ลดลง 3.61% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ทุนจดทะเบียนรวม 27,979.07 ล้านบาท ลดลง 29.59% ธุรกิจจัดตั้งสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ก่อสร้างอาคาร อสังหาริมทรัพย์ และภัตตาคารร้านอาหาร ส่วนในช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม - มิถุนายน) 2567 มีการจัดตั้งธุรกิจ 46,383 ราย ลดลง 1.91% ทุนจดทะเบียนรวม 145,078.60 ล้านบาท ลดลง 66.15% การจดทะเบียนตั้งธุรกิจครึ่งปีแรกเป็นไปตามเป้า จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การเร่งเบิกจ่ายงบปี 2567 คาดทั้งปียังเติบโตได้ 5-15% มีจำนวนธุรกิจตั้งใหม่ 90,000-98,000 ราย ทั้งนี้ ในส่วนของการเลิกกิจการในเดือนมิถุนายน 2567 ว่า มีจำนวน 1,416 ราย ลดลง 14.65% มูลค่าทุนจดทะเบียนเลิก 4,903.58 ล้านบาท ลดลง 22.10% ส่วนในช่วง 6 เดือนแรก มีการเลิกกิจการ รวม 6,039 ราย ลดลง 14.91% ทุนจดทะเบียนเลิก 76,748.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.72% ส่งผลให้ ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 มีธุรกิจที่ดำเนินกิจการอยู่ 922,508 ราย มีทุนจดทะเบียนรวม 22,334,762.09 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ส่วนแนวโน้มธุรกิจไทยครึ่งปีหลังการจดทะเบียนธุรกิจปีนี้ยังโตต่อเนื่องเป็นผลมาจากนโยบายเงินดิจิทัล มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการผลิตและกิจการ

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายจุฬา สุขมานพ

เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

 

3. อีอีซีจับมือรัฐ-เอกชน หนุนไฟฟ้าพลังงานสะอาดในพื้นที่อีอีซี (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 19 กรกฎาคม 2567)

นายจุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า อีอีซี ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โครงการศึกษาแนวทางการสนับสนุนให้ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนสามารถจ่ายไฟฟ้าพลังงานสะอาดให้กับผู้ประกอบกิจการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ผ่านระบบโครงข่ายไฟฟ้าใหม่ ร่วมกับ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (อาร์อี 100) มูลนิธิพลังงานสะอาดเพื่อประชาชน กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน และกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตไฟฟ้า เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่าง อีอีซี และหน่วยงานภาครัฐและเอกชนขับเคลื่อนให้เกิดการลงทุน และสนับสนุนการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด นำไปสู่การพัฒนาในพื้นที่อีอีซีอย่างยั่งยืน ซึ่งความร่วมมือดังกล่าว จะขับเคลื่อนการศึกษาร่วมกันกับภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสร้างโอกาสให้เกิดการผลิต และจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดให้กับพื้นที่อีอีซี สนับสนุนให้เกิดการลงทุนในเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) โดยเฉพาะ ด้านพลังงานสะอาด ผลักดันการพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม รองรับให้เกิดการลงทุนนวัตกรรมใหม่ สอดคล้องกับเป้าหมายพัฒนาในภาพรวมให้ก้าวสู่พื้นที่ Net Zero Carbon Emission ภายในปี 2065 สร้างการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ความเป็นอยู่ของชุมชนและพื้นที่ ส่งเสริมการลงทุนเพื่อความยั่งยืนในพื้นที่อีอีซีต่อไป

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนายประดิษฐ์ เฟื่องฟู รองผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) กล่าวว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในการ ขับเคลื่อนพลังงานสะอาดของประเทศไทย และส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานสะอาด เพื่อรองรับและดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนมากขึ้น โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมที่มีความต้องการพลังงานไฟฟ้าสะอาดอย่างสูง กฟภ.จึงพัฒนาโครงข่ายไฟฟ้าเพิ่มศักยภาพของโครงข่ายไฟฟ้าให้สามารถรองรับแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด การร่วมขับเคลื่อนนโนบายการให้บริการไฟฟ้าสีเขียว UGT: Utility Green Tariff หนุนให้เกิดการใช้พลังงานหมุนเวียน มุ่งสู่ เป้าหมาย Net Zero ในอนาคต รวมถึงการส่งเสริม การให้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม หรือ Third Party Access Code : TPA Code เพื่อรองรับนโยบายส่งเสริมการแข่งขันในกิจการไฟฟ้าแบบเสรี เพื่อทำให้เกิดการซื้อขายไฟฟ้าพลังงานสะอาดได้โดยตรง

 

ข่าวต่างประเทศ

A red circle on a white cloth

Description automatically generated

 

4. เงินเฟ้อพื้นฐานญี่ปุ่นเดือนมิ.ย.พุ่ง 2.6% พลังงาน-อาหารแพงทำพิษ (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 19 กรกฎาคม 2567)

รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ไม่นับรวมราคาอาหารสด ปรับตัวขึ้น 2.6% ในเดือนมิถุนายน 2567 เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากราคาพลังงานและอาหารสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อครัวเรือน โดยดัชนี core CPI ดังกล่าวขยับขึ้นจากระดับ 2.5% ในเดือนพฤษภาคม และอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ที่หรือสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 เป็นต้นมา ขณะเดียวกัน ดัชนี core-core CPI ซึ่งไม่นับรวมทั้งราคาพลังงานและอาหารสดและแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มราคาพื้นฐาน เพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือนมิถุนายน ส่วนราคาพลังงานปรับตัวขึ้น 7.7% ในเดือนมิถุนายน เร่งตัวขึ้นจากระดับ 7.2% ในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากผลกระทบจากเงินอุดหนุนของรัฐบาลคลายตัวลง

อย่างไรก็ตาม ทางด้านสำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ค่าครองชีพที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค โดยอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นจำกัดผลกระทบของการเติบโตของค่าแรง ทั้งนี้ ในบรรดารายการหลักราคาอาหารเพิ่มขึ้น 2.8% และราคาสินค้าคงทนเพิ่มขึ้น 3.9%

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)