ข่าวประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2567

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. 'พิมพ์ภัทรา' ถก 'JETRO' หนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนและอุตฯ สีเขียว (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2567)

 

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเข้าเยี่ยมชมโรงงานรีไซเคิลรถยนต์ "Eco R Japan" จังหวัดโทจิหงิ ภูมิภาคคันโตะ ประเทศญี่ปุ่น เพื่อศึกษาและสนับสนุนการดำเนินมาตรการ ELV (End of Life Vehicle) ว่า การศึกษาดูงานครั้งนี้ เพื่อเป็นการผลักดันไทยสู่เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) โดยมาตรการ ELV มุ่งเน้นลดปริมาณของเสียจากยานยนต์ การบำบัดซากยานยนต์อย่างถูกวิธี และการนำชิ้นส่วนวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับการรีไซเคิลและการนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ ทั้งนี้ บริษัท Eco-R Japan เป็นผู้นำด้านรีไซเคิลรถยนต์เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1959 มุ่งเน้นการนำทรัพยากรจากรถยนต์เก่ากลับมาใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด Eco-R ไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับการรีไซเคิลและการนำกลับมาใช้ใหม่เท่านั้น แต่ยังมุ่งมั่นในการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และดูแลพนักงานให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนองค์กรและสังคมไปสู่ความยั่งยืน นอกจากนี้ ยังได้เดินทางไปสำนักงานใหญ่องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (JETRO) เพื่อหารือร่วมกับ นายอิชิกุโระ โนริฮิโกะ ประธาน JETRO และผู้บริหาร JETRO ในประเด็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและอุตสาหกรรมสีเขียว ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาไทยสู่ความยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม ไทยมุ่งมั่นผลักดันนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy Model) โดยให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า การนำวัสดุกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน นโยบาย BCG สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศในการผลักดันมาตรการ ELV ซึ่งจะสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ซึ่งการศึกษาดูงานครั้งนี้ คณะผู้แทนจากกระทรวงอุตสาหกรรมมีโอกาสเยี่ยมชมโรงงานที่มีกระบวนการจัดการของเสียที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดการซากรถยนต์ หลอดไฟ และแผงโซลาร์เซลล์ที่หมดอายุ รวมถึงมีโอกาสได้เยี่ยมชม Eco Town ของจังหวัดคิตะคิวชู ซึ่งเป็นต้นแบบของเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศด้วย ทั้งนี้ ไทยประกาศเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาโลกร้อน โดยตั้งเป้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี ค.ศ. 2050 และคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในปี ค.ศ. 2065 กระทรวงอุตสาหกรรมจึงวางนโยบายและมาตรการต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานสะอาด สร้างอุตสาหกรรมสีเขียว และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย นอกจากนี้ รัฐบาลไทย ยังมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น เซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน และเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

 

A person in a blue shirt

Description automatically generated

นายภาสกร ชัยรัตน์

อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม)

 

2"ดีพร้อม" วาดฝัน 2 หมื่นล้านบาท (ที่มา: ไทยรัฐ, ประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2567)

นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) เปิดเผยว่า กรมได้เดินหน้านโยบาย "RESHAPE THE FUTURE : โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต" ในกลยุทธ์ปรับเพิ่มการเข้าถึงโอกาสผ่านการขยายเครือข่ายความร่วมมือ (DIPROM CONNECTION) โดยเร่งสร้างความร่วมมือและบูรณาการกับองค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศผ่านการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อเป็นการสร้างโอกาสให้กับผู้ประกอบการรวมถึงยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม การส่งเสริมการลงทุนการเจรจาจับคู่ธุรกิจ รวมทั้งความร่วมมือกับต่างประเทศคาดว่าทั้งหมดนี้จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 20,000 ล้านบาท โดยล่าสุด ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ อาทิ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ผ่านโครงการติดปีกธุรกิจพิชิตโอกาสเชื่อมตลาดสู่ความสำเร็จเพื่อเสริมแกร่งชุมชน-วิสาหกิจไทยยกระดับสินค้าและบริการให้มีคุณภาพ ให้ส่วนลดพิเศษในการขนและขายสินค้าชุมชนผ่านระบบออนไลน์และออฟไลน์ ณ ที่ทำไปรษณีย์ไทย 50,000 แห่ง, สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ผ่านโครงการ "ติดปีก:เกษตรกรด้วยเกษตรอุตสาหกรรม" กับเพื่อพัฒนาศักยภาพการแปรรูปเพิ่มผลิตภาพให้กับพืชเศรษฐกิจและผลไม้ พร้อมยกระดับสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยี โดยเน้นโกโก้ไผ่สมุนไพรชีวมวล

อย่างไรก็ตาม ขณะเดียวกัน ได้ตั้งเป้าจะร่วมมือกับพันธมิตรภายในประเทศอีก 7 หน่วยงาน อาทิ กลุ่มเซ็นทรัลร่วมมือในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์และเสริมแกร่งด้านตลาดให้กับสินค้าเอสเอ็มอีในส่วนของความร่วมมือกับต่างประเทศได้เตรียมขยายความร่วมมือกับหน่วยงานในญี่ปุ่นอีก 4 หน่วยงาน ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรม อาทิ องค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (NEDO) เพื่อเน้นการอนุรักษ์พลังงานด้วยการให้ทุน เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับอนุรักษ์พลังงานให้กับบริษัทต่างๆ รวมถึงทำความร่วมมือกับจังหวัดในญี่ปุ่นอีก 3 จังหวัด คือ จังหวัดโทคุชิมะจังหวัดโออิตะ และจังหวัดนางาซากิ ด้วยการต่อยอดความร่วมมือ (Framework Agreement) ชูนวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต

 

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม

อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

 

3. ชี้ตลาดสัตว์เลี้ยงอู้ฟู่โกยรายได้ 2.5 แสนล. (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2567)

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ขณะนี้ธุรกิจสัตว์เลี้ยงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ส่งผลให้ธุรกิจ 3 กลุ่มเติบโตตามไปด้วย คือ กลุ่มอาหาร ของเล่น ฟาร์มสัตว์ และบริการรับเลี้ยงสัตว์ โดยล่าสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567 ประเทศไทยมีธุรกิจสัตว์เลี้ยงที่จดทะเบียนนิติบุคคล 5,009 ราย แบ่งเป็นธุรกิจ 3 กลุ่ม คือ ฟาร์มสัตว์ 1,233 ราย, อาหาร และของเล่น 2,138 ราย และบริการดูแล 1,638 ราย มูลค่าทุนจดทะเบียน 98,798 ล้านบาท แบ่งเป็น ฟาร์มสัตว์ 11,966 ล้านบาท, อาหาร และของเล่น 80,444 ล้านบาท และบริการดูแลสัตว์เลี้ยง 6,388 ล้านบาท โดยภาพรวมตลอดปี 2566 มีรายได้รวม 258,703 ล้านบาท กำไรสุทธิ 14,990 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจในกลุ่มบริการดูแลมีเทรนด์การเติบโตที่เพิ่มขึ้น โดยเป็นธุรกิจที่ให้บริการด้านสุขภาพอย่างธุรกิจโรงพยาบาลสัตว์ บริการรับฝากสัตว์เลี้ยง อาบน้ำและตัดขน ด้านการลงทุนของนักธุรกิจต่างชาติในไทยสร้างมูลค่าการลงทุนในธุรกิจสัตว์เลี้ยง 5,333 ล้านบาท แบ่งเป็น ฟาร์มสัตว์ 228 ล้านบาท อาหารและของเล่น 4,807 ล้านบาท และบริการและดูแล 298 ล้านบาท โดยมีต่างชาติที่เข้ามาลงทุนสูงสุด 3 อันดับแรก คือ สิงคโปร์ มูลค่าการลงทุน 1,647 ล้านบาท รองลงมาออสเตรเลีย 871 ล้านบาท และญี่ปุ่น 728 ล้านบาท ซึ่งทิศทางของธุรกิจสัตว์เลี้ยงยังมีอนาคตที่สดใส เพราะตลาดมีการแข่งขันกันมากขึ้น มีธุรกิจเกิดใหม่จากวัฏจักรชีวิตสัตว์เลี้ยง เช่น บริการดูแลสุขภาพสำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น

 

ข่าวต่างประเทศ

A red flag with a yellow star

Description automatically generated

 

4. เวียดนามมองโอกาสทองส่งออกข้าวปีนี้ อานิสงส์ดีมานด์ทั่วโลก (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2567)

กระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าของเวียดนาม เปิดเผยรายงานการมีโอกาสทอง ด้านการส่งเสริมการส่งออกข้าว ตลอดช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้ เนื่องจากความต้องการข้าวทั่วโลกยังอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ ราคาข้าวเวียดนามที่ลดลงสอดคล้องตามแนวโน้มราคาข้าวโลก หลังจากที่ราคาส่งออกพุ่งสูงขึ้นมาเป็นเวลานาน ขณะที่กระทรวงเกษตรเวียดนามยืนยันการให้ความสำคัญกับการผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพสูง สินค้าส่งออกที่สำคัญ และการสร้างพันธุ์ข้าวคุณภาพที่ให้ผลผลิตสูง ซึ่งทนทานต่อโรคและปรับตัวได้กับสภาพอากาศที่แตกต่างกัน ซึ่งเวียดนามสร้างรายได้ราว 2,980 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 108,000 ล้านบาท) จากการส่งออกข้าว 4.68 ล้านตัน ตลอดช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ หรือระหว่างเดือนมกราคม - มิถุนายน ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้น 10.4% ในแง่ของปริมาณ และ 32% ในแง่มูลค่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ รัฐบาลเวียดนามคาดการณ์การส่งออกข้าวประมาณ 8 ล้านตันในปีนี้ และสร้างรายได้เข้าประเทศมากกว่า 5,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 181,000 ล้านบาท) โดยฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน กานา มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นกลุ่มตลาดส่งออกหลักของข้าวเวียดนามในช่วงที่เหลือของปี

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)