ข่าวประจำวันที่ 26 กรกฎาคม 2567

ข่าวในประเทศ

A person in a suit sitting in a chair

Description automatically generated

นายภูมิธรรม เวชยชัย

รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

1. ภูมิธรรมเดินหน้าทำเอฟทีเอยูเรเซีย (ที่มา: ข่าวสด, ประจำวันที่ 26 กรกฎาคม 2567)

 

นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 ได้พบกับนายอาร์มัน อิสเซตอฟ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐคาซัคสถานประจำประเทศไทย ณ ทำเนียบรัฐบาลเพื่อหารือแนวทางการขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ผ่านการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการค้าของกระทรวงพาณิชย์ เช่น งานแสดงสินค้า และการเจรจาธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์การจัดทำความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจไทย-คาซัคสถาน และการเริ่มการเจรจา FTA ไทย-สหภาพเศรษฐกิจยูเรเซีย (EAEU) ที่คาซัคสถานเป็นสมาชิกร่วมกับรัสเซีย เบลารุส อาร์เมเนีย และคีร์กิซสถาน ซึ่งเป็นตลาดขนาดใหญ่มีประชากรกว่า 185 ล้านคน ทั้งนี้ ได้ขอให้คาซัคสถานพิจารณานำเข้าสินค้าเกษตร และอาหารที่มีคุณภาพสูงของไทยเพิ่มขึ้น รวมทั้งอาหารสัตว์เลี้ยงพรีเมียมที่มีการเติบโตสูงขึ้นมากในปีนี้ โดยมูลค่าการส่งออกอาหารเลี้ยงสัตว์ใน 5 เดือนแรกเติบโตกว่า 1.39% จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ไทยและคาซัคสถานยังสามารถใช้เรื่องการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ เป็นซอฟต์พาวเวอร์ในการพัฒนาความ ร่วมมือและขยายการค้าระหว่างกันได้อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม คาซัคสถานเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคเอเชียกลาง มีความก้าวหน้าด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ สามารถเป็นประตูในการขยายการค้าและการลงทุนของไทยในภูมิภาคดังกล่าว ซึ่งตนมีกำหนดการเยือนคาซัคสถานในช่วงวันที่ 13-18 สิงหาคม 2567 เพื่อลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางการค้าและเศรษฐกิจไทย-คาซัคสถาน รวมทั้งพบปะนักธุรกิจและเยี่ยมศูนย์กลางขนส่งและกระจายสินค้าของคาซัคสถานด้วย

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

2. ครึ่งปียอดขอ BOI 4 แสนล. FDI สิงคโปร์เม็ดเงินลงทุนมากที่สุด (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 26 กรกฎาคม 2567)

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ทิศทางการลงทุนในไทยมีแนวโน้มที่ดีและเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม - มิถุนายน 2567) การส่งเสริมการลงทุนเพิ่มสูงขึ้นในทุกขั้นตอน ทั้งการขอรับการส่งเสริม การอนุมัติให้การส่งเสริม การออกบัตรส่งเสริม และเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนโครงการและเงินลงทุน โดยตัวเลขการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วงครึ่งแรกของปี 2567 มีจำนวน 1,412 โครงการ เพิ่มขึ้น 64% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มูลค่าเงินลงทุนรวม 458,359 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 35% และได้มีการอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุน จำนวน 1,451 โครงการเพิ่มขึ้น 37% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เงินลงทุนรวม 476,276 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 27% คาดว่าจะเพิ่มมูลค่าการส่งออกของประเทศอีกกว่า 1.3 ล้านล้านบาท/ปี โดยส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า นอกจากนี้ ยังเพิ่มการใช้วัตถุดิบในประเทศกว่า 4.9 แสนล้านบาท/ปี และเกิดการจ้างงานคนไทยกว่า 1 แสนตำแหน่ง ทั้งนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ขอรับการส่งเสริมที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มูลค่า 139,725 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ ยานยนต์และชิ้นส่วน มูลค่า 39,883 ล้านบาท เกษตรและแปรรูปอาหาร มูลค่า 33,121 ล้านบาท ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ มูลค่า 25,344 ล้านบาท และดิจิทัล มูลค่า 25,112 ล้านบาท ตามลำดับ โดยมีการลงทุนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่มีความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ อาทิกิจการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ได้แก่ การผลิต Wafer, การออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์, การประกอบและทดสอบเซมิคอนดักเตอร์และวงจรรวม 10 โครงการ เงินลงทุนรวม 19,543 ล้านบาท กิจการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Printed Circuit Board : PCB) 31 โครงการ เงินลงทุนรวม 39,732 ล้านบาท กิจการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ 8 โครงการ เงินลงทุนรวม 38,182 ล้านบาท เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องมีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมจำนวน 889 โครงการ เพิ่มขึ้น 83% เงินลงทุนรวม 325,736 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 16%โดยประเทศ/เขตเศรษฐกิจที่มีมูลค่าขอรับการส่งเสริมสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ สิงคโปร์ 90,996 ล้านบาท จีน 72,873 ล้านบาทฮ่องกง 39,553 ล้านบาท ญี่ปุ่น 29,987 ล้านบาท และไต้หวัน 29,453 ล้านบาทโดยในแง่พื้นที่ เงินลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออก 211,569 ล้านบาทรองลงมา ได้แก่ ภาคกลาง 179,332ล้านบาท ภาคเหนือ 32,972 ล้านบาทภาคใต้ 15,694 ล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 14,087 ล้านบาท และภาคตะวันตก 4,705 ล้านบาท

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์

ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

3. หนี้ครัวเรือนฉุดผลิตรถวูบ 2 แสน (ที่มา: ข่าวสด, ประจำวันที่ 26 กรกฎาคม 2567)

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ได้ปรับประมาณการการผลิตรถยนต์ปี 2567 ใหม่อยู่ที่ 1,700,000 คัน จาก 1,900,000 คัน ลดลง 200,000 คัน โดยเป็นการปรับเป้าเฉพาะยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลงจาก 750,000 คัน เป็น 550,000 คัน ทั้งนี้ เนื่องจากปัจจัยลบเรื่องหนี้ครัวเรือนสูงถึง 90% ของ    จีดีพีประเทศ รายได้ ครัวเรือนยังต่ำจากเศรษฐกิจที่เติบโตต่ำ การลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมยังลดลงคนงานมีรายได้ลดลง ประชาชนระวังในการใช้จ่ายมากขึ้น สถาบันการเงินเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ

อย่างไรก็ตาม เห็นได้จากยอดขายรถยนต์ภายในประเทศเดือนมิถุนายน 2567 อยู่ที่ 47,662 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 26.04% เพราะรถกระบะลดลง 36.44% และรถอเนกประสงค์ลดลง 49.98% โดยเฉพาะรถกระบะและรถบรรทุก ส่งผลให้ 6 เดือนของปีนี้ (มกราคม - มิถุนายน 2567) มียอดขายรถยนต์ในประเทศ 308,027 คัน ลดลงจากปีก่อน 24.16% คาดว่ายอดขายรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของครึ่งปีหลังปี 2567 จะดีขึ้นจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 และ 2568

 

ข่าวต่างประเทศ

A flag with a crescent moon and stars

Description automatically generated

4. ธนาคารกลางสิงคโปร์คงนโยบายการเงินตามคาด ปรับลดแนวโน้มเงินเฟ้อปีนี้ (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 26 กรกฎาคม 2567)

ธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) เปิดเผยว่า ได้มีมติคงนโยบายการเงินในการประชุมวันนี้ ซึ่งเป็นการคงนโยบายการเงินติดต่อกันในการประชุมครั้งที่ 5 และสอดคล้องกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ไว้ โดยปกติแล้ว ธนาคารกลางสิงคโปร์จะดำเนินนโยบายการเงินผ่านการกำหนดกรอบอัตราแลกเปลี่ยน 3 ด้านด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ความชัน (Slope), ค่ากลาง (Mid-Point) และความกว้าง (Width) ของกรอบอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนด (Policy Band) หรือที่เรียกว่า Nominal Effective Exchange Rate (NEER) ส่วนการดำเนินการในวันนี้ ธนาคารกลางได้ตัดสินใจคงความชัน, ค่ากลาง และความกว้างของกรอบอัตราแลกเปลี่ยนเอาไว้ที่ระดับเดิม ทั้งนี้ ธนาคารกลางสิงคโปร์คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจภายในประเทศจะยังคงแข็งแกร่งในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2567 โดยคาดว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มขยายตัวในกรอบ 2-3%

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ ธนาคารกลางสิงคโปร์ยังได้ปรับลดคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไป (headline inflation) ลงสู่ระดับเฉลี่ย 2.0-3.0% ในปี 2567 และยังคงคาดการณ์เงินเฟ้อพื้นฐาน (core inflation) ไว้เท่าเดิมที่ระดับ 2.5-3.5%         

 

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)