ข่าวประจำวันที่ 1 สิงหาคม 2567

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

1. คุมเข้มเหล็กเคลือบ สมอ.เร่งออกกฎบังคับ (ที่มา:  แนวหน้า, ประจำวันที่ 1 สิงหาคม 2567)

 

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ผลักดันให้มีการบังคับใช้มาตรฐานเหล็กเคลือบ ทั้งเคลือบสังกะสี อะลูมิเนียม แมกนีเซียม และเคลือบสี หลังจากได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่า มีการจำหน่ายเหล็กเคลือบไม่ได้มาตรฐานในท้องตลาด จึงได้เร่งรัดให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ดำเนินการบังคับใช้มาตรฐานโดยเร็ว เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชน และปกป้องอุตสาหกรรมเหล็กภายในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการนำเข้าเหล็กเคลือบคุณภาพต่ำเข้ามาจำหน่ายในราชอาณาจักร สร้างความเสียหายต่ออุตสาหกรรมเหล็ก และอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่นำเหล็กเคลือบไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเป็นอย่างมาก โดยเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวง จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนเคลือบอะลูมิเนียม 55% ผสมสังกะสี โดยกรรมวิธีจุ่มร้อนต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. . และร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเหล็กกล้าทรงแบนรีดเย็นเคลือบสังกะสี โดยกรรมวิธีจุ่มร้อน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. . ซึ่งคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในเดือนพฤษภาคม 2568

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ ครม. ยังได้เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟ ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละออง และควบคุมการระบายมลพิษจากแหล่งกำเนิด โดยใช้กลไกของกฎหมายในการควบคุมและกำกับดูแล เพื่อยกระดับมาตรฐานมลพิษทางอากาศที่เกิดจากยานยนต์ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานในระดับสากล (ยูโร 6) และพัฒนาขีดความสามารถของอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศไทย ให้มีศักยภาพสูงขึ้น รวมทั้งเป็นการคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนในด้านสุขภาพการได้รับผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ โดยมาตรฐานดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2568

 

A person in a pink dress

Description automatically generated

นางวรวรรณ ชิตอรุณ

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

2. ภาคอุตสาหกรรมยังแย่ 'กำลังซื้อวูบ-ต้นทุนพุ่ง' ฉุดดัชนี PMI ร่วง (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 1 สิงหาคม 2567)

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ภาคการผลิตของไทยยังคงหดตัว ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) มิถุนายน 2567 อยู่ที่ระดับ 96.08 หดตัว 1.71% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่58.41% เนื่องจากปัญหาขาดกำลังซื้อภายในประเทศ หนี้ครัวเรือน และอัตราดอกเบี้ยยังอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ ต้นทุนพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ได้ส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต รวมถึงสินค้านำเข้าจากต่างประเทศทะลักเข้าไทย ทั้งนี้ การหดตัวของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2567 ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม เฉลี่ยอยู่ที่ 94.74 หดตัวเฉลี่ย 0.27% มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสแรกที่หดตัว 3.58% และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 57.79% ในขณะที่ภาพรวม 6 เดือนแรกปี 2567 เฉลี่ยอยู่ที่ 97.83 หดตัวเฉลี่ย 2.01% และมีอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ 59.11% สะท้อนให้เห็นว่าภาคอุตสาหกรรมไทยยังคงหดตัวอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ด้านระบบการเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมภาพรวมของไทยเดือนกรกฎาคม 2567 "ส่งสัญญาณเฝ้าระวัง" โดยปัจจัยภายในประเทศส่งสัญญาณเฝ้าระวังทั้งหมด ความเชื่อมั่นและการลงทุนหดตัวลง เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ซบเซาส่งผลต่อการบริโภคและการค้าในประเทศ ในขณะที่ปัจจัยต่างประเทศส่งสัญญาณปกติเบื้องต้น โดยภาคการผลิตของสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นมีความเสี่ยงที่จะชะลอตัวในระยะนี้

อย่างไรก็ตาม สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลบวกต่อดัชนีผลผลิตเดือนมิถุนายน 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ น้ำมันปาล์ม ขยายตัว 41.90% ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัว 3.58% อาหารสัตว์สำเร็จรูป ขยายตัว 14.33% ส่วนอุตสาหกรรมหลักที่ส่งผลลบต่อดัชนีผลผลิตเดือนมิถุนายน 2567 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ ยานยนต์ หดตัวลดลง18.05% ชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์หดตัวลดลง 20.08% จักรยานยนต์ หดตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 23.42%

 

A person sitting at a podium

Description automatically generated

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์

ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

 

3. "เงินดิจิทัล" ช่วยจีดีพีโต 0.9% (ที่มา: ไทยรัฐ, ประจำวันที่ 1 สิงหาคม 2567)

น.ส.ชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในเดือนมิถุนายน 2567 เริ่มเห็นการชะลอลงของเศรษฐกิจไทย ตามการท่องเที่ยวและการส่งออกที่ชะลอลงโดยนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนมิถุนายนหดตัวลงจากเดือนก่อนหน้า 4.4% ขณะที่รายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 3.5% ส่งผลให้รายได้จากภาคบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวลดลง 0.3% จากเดือนก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกชะลอลงต่อเนื่องเช่นกัน โดยมูลค่าการส่งออกไม่รวมทองคำลดลง 1.1% เมื่อเทียบกับปีก่อนและลดลง 0.7% เทียบเดือนก่อนหน้าการนำเข้าลดลง 0.1% ส่งผลให้ภาคการผลิตลดต่อเนื่องโดยลดลง 1.7% เทียบกับปีก่อน และลดลง 0.6% เทียบเดือนก่อนหน้า การใช้จ่ายของคนชะลอลงเล็กน้อย โดยเพิ่มขึ้น 1.5%จากระยะเดียวกันปีก่อนแต่หากเทียบเดือนก่อนหน้าคนไทยใช้จ่ายชะลอลงเล็กน้อย 0.2% สอดคล้องความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังชะลอลง โดยการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 1.3% และเพิ่มขึ้น 0.6% เทียบกับเดือนก่อนหน้าขณะที่การใช้จ่ายของภาครัฐที่เพิ่มขึ้น โดยรายจ่ายอุปโภคเพิ่มขึ้น 3% และการใช้จ่ายงบลงทุนเพิ่มขึ้น 3.6%

อย่างไรก็ตาม ภาพเศรษฐกิจไทยน่าจะไม่แตกต่างจากที่เราคาดไว้มากนักและในเชิงเทคนิค ผลของโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ในปีนี้น่าจะผลบวกในช่วงไตรมาส 4 ประมาณ 0.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) หากเริ่มตั้งแต่เดือน ตุลาคมและผลในปีหน้า 0.2% โดยที่ดูเหมือนน้อยเพราะผลจากฐานที่ปีนี้เศรษฐกิจดีขึ้น โดยทั้งโปรแกรมมีผลให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 0.9%

 

ข่าวต่างประเทศ

A red flag with yellow stars

Description automatically generated

 

4. ไฉซินเผย PMI ภาคการผลิตจีนเดือนก.ค.หดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 1 สิงหาคม 2567)

ไฉซินและเอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยผลสำรวจว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนกรกฎาคม 2567 ของจีนหดตัวลงเป็นครั้งแรกในรอบ 9 เดือน เนื่องจากยอดสั่งซื้อใหม่ปรับตัวลดลง โดยดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนลดลงสู่ระดับ 49.8 ในเดือนกรกฎาคม จากระดับ 51.8 ในเดือนมิถุนายน โดยดัชนี PMI เดือนกรกฎาคม ถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 และอยู่ในระดับต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ที่ 51.5 ทั้งนี้ ทางด้านสำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ข้อมูลดังกล่าวของไฉซินสอดคล้องกับที่สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน (NBS) รายงานเมื่อวานนี้ว่า ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนกรกฎาคม ปรับตัวลงสู่ระดับ 49.4 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 5 เดือน จากระดับ 49.5 ในเดือนมิถุนายน โดยดัชนีอยู่ต่ำกว่า 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตของจีนอยู่ในภาวะหดตัว

อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจของไฉซินระบุว่า สาเหตุที่ทำให้ดัชนี PMI ภาคการผลิตเดือนกรกฎาคมของจีนชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 9 เดือนนั้น มาจากยอดสั่งซื้อใหม่ในภาคการผลิตที่ปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปี   

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)