ข่าวประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2567

ข่าวในประเทศ

A person smiling at a microphone

Description automatically generated

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

1. สมอ.ขับเคลื่อนอุตฯใหม่ บอร์ดไฟเขียวลอตแรก 512 มาตรฐาน (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2567)

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้เร่งรัดให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะมาตรฐานในกลุ่มอุตสาหกรรม S-curve และ New S-curve เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมดิจิทัล หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม การเกษตรและเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เป็นต้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จำเป็นต้องพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค และเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายสินค้าในเวทีการค้าโลก ทั้งนี้ ยังเร่งรัดให้ สมอ. ยกระดับการคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ประชาชน โดยการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้มาก ยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมี 144 รายการ ครอบคลุมสินค้า 308 ผลิตภัณฑ์ ที่ผู้ประกอบการทั้งทำ นำเข้า และจำหน่าย จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน รวมทั้งเพิ่มความถี่และความ เข้มงวดในการตรวจควบคุมสินค้าที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดและทางออนไลน์ หากพบการ กระทำความผิดให้ดำเนินการทางกฎหมายอย่างถึงที่สุด

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ที่ประชุมคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) หรือ บอร์ด สมอ. ได้มีมติเห็นชอบแผนการกำหนดมาตรฐาน ประจำปี 2568 ที่ สมอ. ขออนุมัติเป็นครั้งแรก จำนวน 512 มาตรฐาน แบ่งเป็นมาตรฐานกลุ่ม S-Curve จำนวน 125 มาตรฐาน ได้แก่ การเกษตรและเทคโนโลยี 65 มาตรฐาน อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร 58 มาตรฐาน เชื้อเพลิงชีวภาพ 2 มาตรฐาน และกลุ่ม New S-Curve จำนวน 94 มาตรฐาน ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่ 62 มาตรฐาน อุตสาหกรรมดิจิทัล 16 มาตรฐาน หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม 16 มาตรฐาน และกลุ่มส่งเสริมผู้ประกอบการ จำนวน 293 มาตรฐาน นอกจากนี้ ยังเห็นชอบมาตรฐานอีก 68 มาตรฐาน เช่น มาตรฐานหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เคมี และไฟฟ้าส่องสว่าง เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี 2567 ที่ผ่านมา สมอ. ได้ขออนุมัติบอร์ดจัดทำมาตรฐานทั้งสิ้น 1,685 มาตรฐาน ดำเนินการแล้วเสร็จ 1,495 มาตรฐาน แบ่งเป็นมาตรฐานกลุ่มนโยบายที่รัฐส่งเสริม 64 มาตรฐาน กลุ่ม S-Curve 389 มาตรฐาน กลุ่ม New S-Curve 261 มาตรฐาน กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ 153 มาตรฐาน และกลุ่มส่งเสริมผู้ประกอบการ 628 มาตรฐาน ยังคงเหลืออีก 190 มาตรฐานที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ 

ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

 

2. อุตฯยานยนต์ไทยวิกฤตการผลิต-ยอดขายกอดคอกันร่วงหนัก (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2567)

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์  ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในเดือนกันยายน 2567 มีรถยนต์ที่ผลิตได้ทั้งสิ้น 122,277 คัน ลดลง 25.48% จากเดือนกันยายน 2566 เนื่องจากการผลิตเพื่อส่งออกลดลง 15.78% และผลิตเพื่อขายในประเทศลดลง 42.31% ตามจำนวนส่งออกและขายในประเทศที่ลดลง แต่เพิ่มขึ้น 2.17% จากเดือนสิงหาคม 2567 ส่งผลให้จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ใน 9 เดือนปีนี้ (มกราคม - กันยายน 2567) มีจำนวนทั้งสิ้น 1,128,026 คัน ลดลง 18.61% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ เป็นการผลิตเพื่อส่งออก 87,666 คัน เท่ากับ 71.69% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลง 15.78% จากเดือนกันยายน 2566 ส่งผลให้ 9 เดือนแรกปีนี้ผลิตเพื่อส่งออกได้ 774,175 คัน เท่ากับ 68.63% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลง 4.42% จาก ช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเดือนกันยายน 2567 ผลิตได้ 34,611 คัน เท่ากับ 28.31% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลง 42.31% จากเดือนกันยายน 2566 ดังนั้น 9 เดือนแรกปีนี้ผลิตได้ 353,851 คัน เท่ากับ 31.37% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลง 38.57% จาก ช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะนี้เรามีความกังวลในเรื่องของยอดขายมาก เพราะหนี้ครัวเรือนยังสูงถึง 90% ส่วนปีนี้ ปีหน้ายังไม่มีสัญญาณบอกว่าจะดีหรือโต ซึ่งขณะนี้ตัวเลขหนี้รถยนต์เช่าซื้อลดลง แต่หนี้เสียมันเพิ่มขึ้น โดยรายได้มีการลดตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 ถ้าสถานการณ์ยังเป็นแบบเดิมจะทำให้อำนาจการซื้อลดลง รวมถึงการจ้างงานก็จะน้อยลงก็จะกระทบทุกส่วน โดยมีการคาดการณ์ว่าอีก 2-3 ปีหนี้ครัวเรือนถึงจะลด สุดท้ายต้องดูว่าเศรษฐกิจจะโตมากน้อยเพียงใดและจะมีผลกระทบอย่างไรกับภาคอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม ในเดือนพฤศจิกายน 2567 นี้ จะหารือกันในกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อประเมินสถานการณ์และปรับเป้าผลิตขายในประเทศและเป้าผลิตส่งออก โดยช่วงที่เหลืออีก 3 เดือนจะมีการประเมินสถานการณ์ว่ากลับมาได้หรือไม่ ถ้าไม่ได้ก็ต้องปรับเป้าลง เพราะผ่านมา 9 เดือนแล้วยังได้ยอดไม่ถึง 75% เพราะปัจจุบันสถาบันการเงินยังคงเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อ ขณะเดียวกันยอดขายรถอีวีก็ยังลดลงจากความกังวลด้านราคาว่าจะเปลี่ยนการเปลี่ยนแปลงอีกหรือไม่

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร

เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

 

3. จับตา GDP เกษตร Q3 หดตัวร้อยละ 0.7 จากปรากฏการณ์ เอลนีโญ-ลานีญา (ที่มา: ไทยโพสต์, ประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2567)

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจการเกษตรในไตรมาส 3 ปี 2567 (กรกฎาคม - กันยายน 2567) หดตัวร้อยละ 0.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 โดยการผลิตสินค้าเกษตรบางส่วนในไตรมาส 3 ได้รับผลกระทบจากเอลนีโญ ส่งผลให้ปริมาณฝนน้อย และอากาศแห้งแล้ง และยังได้รับผลกระทบลานีญาที่เกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2567 ทำให้มีมรสุมและฝนตกหนักต่อเนื่องเกิดอุทกภัยน้ำป่าไหลหลากในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้สาขาพืชและสาขาบริการทางการเกษตรยังคงหดตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 2 เช่นเดียวกับสาขาประมง หดตัวเช่นเดียวกัน ขณะที่สาขาปศุสัตว์และสาขาป่าไม้ ยังขยายตัวได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจการเกษตรในปี 2567 คาดว่าจะอยู่ในช่วงร้อยละ (-0.8) - 0.2 เมื่อเทียบกับปี 2566 เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญ และปรากฏการณ์ลานีญา โดยปริมาณฝนที่มากขึ้นยังส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของพืชในภาพรวม ประกอบกับการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ยกระดับสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพมาตรฐาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ของไทย โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเดินหน้าขับเคลื่อนพัฒนาภาคเกษตรทั้งในระยะเร่งด่วน มุ่งเน้นสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกร รวมทั้งเตรียมความพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อให้ภาคเกษตรเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพต่อไป

 

ข่าวต่างประเทศ 

A red circle on a white background

Description automatically generated

 

4. เงินเฟ้อโตเกียวชะลอตัวลงต่ำกว่า 2% เป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2567)

กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อในโตเกียวชะลอตัวลงต่ำกว่า 2% เป็นครั้งแรกในรอบห้าเดือน โดยสาเหตุหลักมาจากราคาพลังงาน ขณะที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) กำลังพิจารณาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจด้านนโยบายในสัปดาห์หน้า โดยข้อมูลระบุว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ที่ไม่รวมอาหารสดในกรุงโตเกียว เพิ่มขึ้น 1.8% ในเดือนตุลาคม นับเป็นเดือนที่สองที่ปรับตัวลง อันเนื่องมาจากราคาพลังงานที่ชะลอตัว ทั้งนี้ ตัวเลขเงินเฟ้อของโตเกียวถูกมองว่าเป็นตัวบ่งชี้แนวโน้มทั่วประเทศ ซึ่งนักวิเคราะห์มองว่า อัตราเงินเฟ้อที่อ่อนตัวลงในโตเกียวไม่น่าจะส่งผลกระทบมากนักต่อการตัดสินใจด้านนโยบายของ BOJ ในการประชุมที่กำลังจะมีขึ้น โดยแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องเผยว่าเจ้าหน้าที่ไม่เห็นความจำเป็นที่จะต้องรีบเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนนี้ แต่ยังคงพิจารณาการปรับขึ้นในภายหลัง

อย่างไรก็ตาม สำหรับผลการสำรวจล่าสุดของบลูมเบิร์กเผยให้เห็นว่า นักวิเคราะห์เกือบทุกคนไม่คาดว่าจะมีความเคลื่อนไหวใดๆ ในเดือนตุลาคม โดยครึ่งหนึ่งคาดว่า BOJ จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนธันวาคม ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเงินของ BOJ จะประกาศมติอัตราดอกเบี้ยหลังเสร็จสิ้นการประชุมเป็นเวลาสองวันในวันพุธและพฤหัสบดีหน้า

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)