ข่าวประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2567

ข่าวในประเทศ

A person smiling at a microphone

Description automatically generated

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. เอกนัฏเปิด 4 กล่องของขวัญ (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2567)

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้มอบของขวัญปีใหม่ ปี 2568 ให้ผู้ประกอบการและประชาชน 4 กล่อง กระทรวงอุตสาหกรรมปลดล็อกโซลาร์รูฟท๊อป จัดสรรเงินผลประโยชน์พิเศษแก่รัฐให้ อปท. 187 แห่ง ครอบคลุม 54 จังหวัด เพื่อพัฒนาชุมชนกว่า 525 ล้านบาท เพิ่มราคารับซื้อใบและยอดอ้อย 300 บาทต่อต้นใบ เติมเงินทุนต่อยอด ขับเคลื่อนเอสเอ็มอี อุตสาหกรรมฮาลาลสู่ตลาดโลก ทั้งนี้ สำหรับกล่องของขวัญประกอบด้วย กล่องที่ 1 สนับสนุนสินค้าและบริการดี เช่น ปลดล็อกโซลาร์รูฟท๊อปทุกกำลังการผลิต ไม่ต้องขออนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน เพื่อสนับสนุนใช้ไฟฟ้าสะอาดจากพลังงานแสงอาทิตย์ พร้อมตอบสนองกติกาสากลและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศแบบซีโร่คาร์บอน, ส่งเสริมการลงทุน นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ในพื้นที่รับเบอร์ซิตี้ รับส่วนลด 3-15% ของอัตราราคาขายที่ดิน, ส่วนลดราคาพิเศษ เช่น ลดค่าสมาชิกสถาบันอาหาร 20% จำนวน 100 สิทธิ, ลดราคาโปรแกรมเอชอาร์ สำหรับเอสเอ็มอี 15% เป็นระยะเวลา 3 ปี ทดลองใช้ฟรี 30 วัน จำนวน 200 สิทธิ ส่วนกล่องที่ 2 เสริมแกร่งธุรกิจ บริการซอฟต์แวร์จากดีพร้อมแคร์ ฟรี 6 เดือน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาการบริหารจัดการธุรกิจ เช่น โปรแกรม SekWeb เครื่องมือสร้างเว็บไซต์อัจฉริยะพร้อมข้อมูลโปรแกรมPEAK บัญชีออนไลน์ อำนวยความสะดวกด้านการเงินและงบการเงินต่าง ๆ โปรแกรมบอทน้อย กล่องที่ 3 สร้างโอกาส กระจายรายได้ โครงการเหมืองแร่ปลอดภัยห่วงใยประชาชน บริการตรวจสุขภาพฟรี รอบสถานประกอบการเหมืองแร่กว่า 30,000 ราย

อย่างไรก็ตาม สำหรับกล่องที่ 4 เสริมสภาพคล่อง เช่น ยกเว้นค่าธรรมเนียมและลดค่าบริการ ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการลงทุนในระบบอัตโนมัติ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของสถานประกอบการ 10%, มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เงินทุนต่อ ยอด สินเชื่อเสือติดปีก 1,200 ล้านบาท วงเงินสูงสุดไม่เกิน 15 ล้านบาท ผ่อนสูงสุดไม่เกิน 10 ปี ดอกเบี้ย 3-5% ต่อปี สินเชื่อคงกระพัน 700 ล้านบาท วงเงินสูงสุดไม่เกิน 5 ล้านบาท ผ่อนสูงสุดไม่เกิน 3 ปี ดอกเบี้ย 4-7% ต่อปี

 

A person with her arms crossed

Description automatically generated

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม

อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า

 

2. 3 จุดอ่อนดิจิทัลคอนเทนต์ไทย (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2567)

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้วิเคราะห์ธุรกิจที่น่าจับตามองโดยพบว่าธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ กำลังเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญ และความต้องการตรงต่อตลาดโลก เพราะขณะนี้ได้ก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทั้งสมาร์ตโฟน สมาร์ตทีวี แท็บเล็ต หรือสื่อโฆษณาดิจิทัล ซึ่งขณะนี้ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ในประเทศไทยแม้ไม่ดูหวือหวาเหมือนในตลาดต่างประเทศ เพราะยังมีความท้าทายใน 3 ด้าน คือ เงินทุน ที่เปรียบเสมือนเชื้อเพลิงสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจนี้เติบโตไปได้โดยเฉพาะการจ้างบุคลากรที่มีฝีมือดีที่มีค่าตัวที่สูง เครื่องมือที่ใช้ผลิตดิจิทัลคอนเทนต์ที่มีราคาแพงทำให้ธุรกิจขนาดเล็กยังเข้าไม่ถึงมากนัก นอกจากนี้ยังมีข้อจำกัดด้านบุคลากร แม้คนไทยมีความสามารถที่ดี แต่ยังขาดตลาดในประเทศที่ช่วยพัฒนาทักษะให้เติบโต ทำให้นักออกแบบต้องหาประสบการณ์ต่างประเทศ และสุดท้ายทางด้านตลาด ส่วนใหญ่แล้วตลาดในไทยนั้น จะเป็นการส่งออกคอนเทนต์ไปยังต่างประเทศมากกว่าการบริโภคในประเทศ ขณะนี้ภาครัฐได้เห็นความสำคัญ จึงได้สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนผลักดันให้ธุรกิจสามารถขับเคลื่อนไปได้ โดยการจัดงานแสดงศักยภาพต่างๆ พร้อมทั้งการพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยีในการผลิตชิ้นงานออกมา

อย่างไรก็ตาม หากวิเคราะห์ในเชิงลึกจะพบว่า ธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์ของไทยประเภท อี-บุ๊ก เป็นกลุ่มที่มีศักยภาพสูงสามารถสร้างรายได้และกำไรได้ดีที่สุดต่อเนื่อง โดยปี 2566 กลุ่มอี-บุ๊ก มีมูลค่าอุตสาหกรรมอยู่ที่ 3,971 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการผลิตและบริโภคในประเทศ สร้างรายได้ 3,162 ล้านบาท กำไร 107 ล้านบาท นอกจากนี้ กลุ่มคาแรกเตอร์ เป็นที่น่าจับตามองเพราะ เริ่มมีนักออกแบบคาแรกเตอร์ชาวไทยสร้างผลงานให้เป็นที่รู้จักอย่าง Plaplatootoo โดยนำไอเดียมาจากปลาทูแม่กลอง และยังเชื่อมโยงกับธุรกิจ อาร์ต ทอย ต่อยอดไปสู่การผลิตสินค้าที่ระลึกได้ด้วย เช่น Butter Bear หรือหมีเนย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโอกาสให้นักลงทุนไทย เมื่อรัฐบาลให้ความสำคัญกับธุรกิจดิจิทัลคอนเทนต์จะก่อให้เกิดความคึกคักและสถาบันทางการเงินก็จะเปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ง่ายขึ้นจากเดิมที่ยังไม่เป็นที่น่าสนใจมากนัก ดังนั้น นักธุรกิจและผู้ที่อยู่ในสายงานออกแบบนี้จะต้องเร่งพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อให้ทันต่อการเติบโตของธุรกิจ เมื่อเกิดการแข่งขันกันมากขึ้นก็จะทำให้ต้นทุนการผลิตในหลายด้านลดลง ส่งผลให้ธุรกิจขนาดเล็กมีโอกาสมากขึ้น

 

A group of buildings with text

Description automatically generated

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC)

 

3. ปี 68 ส่งออกไทยเหนื่อย ชี้รับผลกระทบ 'ทรัมป์ 2.0' ทั้ง 2 ทาง (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2567)

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ (SCB EIC) ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์เกี่ยวกับการส่งออกของไทย โดยระบุว่า มูลค่าการส่งออกไทยขยายตัวสูงต่อเนื่องช่วงครึ่งปีหลัง ทั้งปี 2567 มีโอกาสขยายตัวสูงกว่า 4% แม้ที่ผ่านมาส่งออกไทยจะเผชิญอุปสรรคตั้งแต่ต้นปีจากเศรษฐกิจโลกที่คาดการณ์ว่าจะชะลอลงและอุปสรรคการขนส่งทางเรือในโลกหลายที่ แต่ส่งออกไทยกลับได้แรงหนุนจากหลายปัจจัยบวกที่ชัดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี เช่น เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว Soft landing ได้ การส่งออกทองคำสูงขึ้นมาก อานิสงส์วัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และอุปสงค์ต่างประเทศเริ่มเร่งตัวจากความกังวลประเทศต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ที่อาจเก็บภาษีนำเข้าเพิ่มในปี 2568 ประกอบกับปัจจัยฐานต่ำในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของไทย 11 เดือนขยายตัวมากถึง 5.2% จึงมีความเป็นไปได้สูงมากที่ตัวเลขการส่งออกของไทยทั้งปีอาจจะออกมาขยายตัวเกิน 4% สูงกว่าที่ SCB EIC และ กระทรวงพาณิชย์ประเมินไว้ก่อนหน้านี้ที่ 3.9% และ 4% ตามลำดับ ถึงแม้ว่าการส่งออกดูจะขยายตัวดีในช่วงท้ายปี 2567 และมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องไปช่วงต้นปี 2568 แต่ SCB EIC ประเมินว่าการส่งออกของไทยระยะต่อไปจะเริ่มเจอแรงกดดัน จากนโยบายกีดกันการค้ามากขึ้น โดยเฉพาะช่วงครึ่งหลังของปี 2025 ที่มาตรการกีดกันการค้าประเทศต่างๆ นอกจากจีน จะเริ่มมีผลบังคับใช้ โดยประเมินว่าประเทศไทยเสี่ยงสูงที่จะเจอนโยบายขึ้นภาษีนำเข้าจาก Trump 2.0 เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบผ่านช่องทางการค้าเป็นหลัก สะท้อนจาก 1. สหรัฐฯ ขาดดุลการค้ากับไทยมากขึ้นเทียบช่วงทรัมป์ 1.0 2. หลายงานศึกษาประเมินว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจาก Trump 2.0 มาก สะท้อนจาก Trump Risk Index สูง และอาจติดเกณฑ์ประเทศเข้าข่าย"Unfair Trade" 3. สินค้าส่งออกสำคัญของไทยมีความเสี่ยงถูกตั้งกำแพงภาษีจากนโยบาย Trump 2.0

อย่างไรก็ตาม ปี 2568 อาจไม่ง่ายสำหรับภาคส่งออกไทย จากแรงกดดันภายนอกประเทศที่ท้าทายขึ้น โดย SCB EIC ประเมินว่ามูลค่าส่งออกสินค้าไทยจะขยายตัวได้ราว 2% (ตัวเลขระบบดุลการชำระเงิน) ลดลงกว่าครึ่งหนึ่งเทียบกับการเติบโตของการส่งออกในปี 2567 ดังนั้น เพื่อเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่จะเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ภาครัฐจำเป็นต้องเตรียมแนวทางเจรจา/ต่อรองกับสหรัฐฯ เพื่อหาวิธีลดความเสี่ยงต่อนโยบายภาษีนำเข้า Trump 2.0 ในช่วงปี 2568 โดยเฉพาะประเด็นการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ รวมถึงมาตรการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของภาคการผลิตและภาคส่งออกไทยตั้งแต่ก่อนสงครามการค้ารอบใหม่จะเริ่มมีผลชัดเจนขึ้น ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นช่วงครึ่งหลังของปี

 

ข่าวต่างประเทศ

 

4. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเดือนพ.ย.หดตัว 2.3% ครั้งแรกในรอบ 3 เดือน (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 27 ธันวาคม 2567)

ข้อมูลจากทางการญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายน 2567 หดตัว 2.3% จากเดือนก่อนหน้า นับเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 3 เดือน โดยสำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า จากรายงานเบื้องต้นของกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ดัชนีผลผลิตที่ปรับค่าตามฤดูกาลแล้วของโรงงานและเหมืองแร่อยู่ที่ 101.7 โดยเทียบกับค่าฐาน 100 ในปี 2563 หลังจากที่มีการปรับลดตัวเลขการขยายตัวในเดือนตุลาคม เป็น 2.8% ทั้งนี้ กระทรวงฯ ยังคงประเมินภาวการณ์ผลิตไว้ตามเดิม โดยระบุว่า "ยังผันผวนไม่มีทิศทางชัดเจน"

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจ 15 ภาคอุตสาหกรรม พบว่า 11 ภาคส่วนมีผลผลิตลดลง นำโดยเครื่องจักรการผลิตและยานยนต์ ขณะที่ 3 ภาคส่วน รวมถึงเครื่องจักรอเนกประสงค์และเครื่องจักรเพื่อธุรกิจมีผลผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนผลิตภัณฑ์เซรามิก หิน และดินเหนียวยังคงทรงตัว โดยผลสำรวจผู้ผลิตระบุว่า กระทรวงฯ คาดการณ์ผลผลิตจะเพิ่มขึ้น 2.1% ในเดือนธันวาคม และ 1.3% ในเดือนมกราคม ในส่วนของด้านดัชนีการจัดส่งสินค้าอุตสาหกรรมเดือนพฤศจิกายนลดลง 2.7% อยู่ที่ 99.6 ขณะที่ดัชนีสินค้าคงคลังหดตัว 0.9% อยู่ที่ 101.4

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)