ข่าวประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568

ข่าวในประเทศ

A person holding a microphone

Description automatically generated

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. 'เอกนัฏ' ฟันธงลงทุน ปี 68 คึกจีบจีนตั้งอุตฯ ไฮเทคในอีอีซี (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, ประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568)

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การลงทุนปี 2568 มีแนวโน้มที่ดี และเชื่อว่ามูลค่าไม่ต่างจากปี 2567 เห็นได้จากตัวเลขเงินลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ (FDI) ที่สูงต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2567 สูงถึง 832,114 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% และภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้จะเดินทางไปประเทศจีน เพื่อชักจูงการลงทุน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมไฮเทคอย่างยานยนต์ไฟฟ้า (EV) แต่การดึงนักลงทุนเข้ามาและสร้างการแข่งขันให้กับประเทศ เพื่อแข่งกับประเทศเพื่อนบ้านอย่างสิงคโปร์ เวียดนาม ส่วนประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จำเป็นที่จะต้องอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุน โดยล่าสุด 6 หน่วยงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และกลุ่มอมตะ ร่วมกันเปิดศูนย์บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จแบบครบวงจร (Government All-Service Center) เพื่อให้บริการนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่เข้ามาติดต่อหน่วยราชการ สามารถใช้บริการผ่านศูนย์บริการภาครัฐแบบเบ็ดเสร็จ ทั้งในด้านการขอใบอนุญาต การยื่นคำขอรับสิทธิประโยชน์ การขออนุญาตนำเข้าและส่งออกที่จะครอบคลุมการให้บริการในพื้นที่ EEC และยังเป็นศูนย์แห่งแรกที่จัดตั้งในจังหวัดชลบุรี ทั้งนี้ ในระยะถัดไปจะเปิดบริการในพื้นที่ อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีสถานประกอบการด้านอุตสาหกรรมจำนวนมาก ดังนั้น ศูนย์จะเป็นเครื่องมือและกลไกสำคัญในการผลักดันให้เกิดการลงทุน เพื่อให้มีความพร้อมในทุกๆ ด้าน เมื่อการลงทุนเข้ามามากและเป็นอุตสาหกรรมไฮเทค แน่นอนว่าเป็นส่วนที่จะช่วยผลักดันให้ GDP เพิ่มขึ้นถึง 1%

อย่างไรก็ตาม ที่ศูนย์แห่งนี้ต่างจาก One Stop Service ตรงที่ทุกหน่วยงานด้านการลงทุนด้านใบอนุญาตมารวมที่นี่ เมื่อยื่นเอกสารจะลิงก์ผ่านระบบออนไลน์เข้าส่วนกลางเพื่อพิจารณาทันที ขั้นตอนจะง่ายและเร็วขึ้นกว่าเดิม อย่างของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ที่จะดูเรื่องถมที่ ก่อสร้างอาคาร เรื่องของ ศุลกากร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) กรมโรงงานอุตสาหกรรม พวก รง.4 ก็มายื่นได้เลย

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายชัยชาญ เจริญสุข

ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)

 

2. จับ 5 ปัจจัยลบฉุดส่งออก สรท.เสนอ 6 เรื่อง ให้รัฐเร่งดำเนินการ (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568)

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า สำหรับภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในเดือนมกราคม-ธันวาคม ของปี 2567 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า ไทยส่งออก รวมมูลค่า 300,529.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 5.4% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 10,548,759 ล้านบาท ขยายตัว 7.3% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่า การส่งออกในช่วงมกราคม-ธันวาคม ขยายตัว 5.4%) ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 306,809.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 6.3% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 10,896,480 ล้านบาท หดตัว 3.8% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม-ธันวาคม 2567 ขาดดุลเท่ากับ 6,280.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็นการขาดดุลในรูปเงินบาท 347,721 ล้านบาท ทั้งนี้ การส่งออกทั้งปี 2567 เติบโต 5.4% ถือเป็นการเติบโตในระดับที่เกินเป้าหมาย ทำให้ฐานปี 2567 ค่อนข้างสูง สรท. จึงคาดการณ์ส่งออกปี 2568 เติบโตที่ 1-3% (ณ กุมภาพันธ์ 2568) โดยมีปัจจัยเสี่ยงและความผันผวนที่สำคัญต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด ได้แก่ 1. นโยบายของสหรัฐอเมริกาที่การใช้มาตรการทางภาษีศุลกากรกดดันหลายประเทศ 2. ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์ ที่ยังไม่มีข้อยุติทั้งกรณี รัสเซีย-ยูเครน และสถานการณ์ในตะวันออกกลาง 3. ค่าเงินบาทยังคงมีความผันผวน 4. ปัจจัยเสี่ยงจากการขนส่งสินค้าทางทะเล 5. ประเด็นอื่นๆ อาทิ 5.1 ต้นทุนผู้ประกอบการ ทั้งในส่วนของต้นทุนพลังงาน ต้นทุนค่าแรง ต้นทุนทางการเงินยังค่อนข้างสูง ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันในตลาดโลก และ 5.2 ความพร้อมของประเทศไทยในการรับมือกับรูปแบบและมาตรการทางการค้าใหม่ รวมถึงมาตรการตอบโต้อื่น

อย่างไรก็ตาม สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย มีข้อเสนอแนะที่สำคัญ ดังนี้ 1. เร่งรัดให้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและภาคเอกชน กระทรวงพาณิชย์ (กรอ.พณ.) รายเดือนหรือรายไตรมาส เพื่อติดตามสถานการณ์ความผันผวนการค้าระหว่างประเทศ 2. จัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าในต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง 3. เร่งเจรจาการค้าเสรีและจัดทำข้อตกลงความร่วมมือทางการค้า กับคู่ค้าสำคัญ รวมถึงเร่งเจรจาทวิภาคีกับสหรัฐอเมริกา 4. ส่งเสริมการลงทุนของไทยในประเทศเป้าหมาย เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการกีดกันทางการค้า 5. ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำกับดูแลการผลิตเพื่อส่งออกให้สอดคล้องกับมาตรฐานสินค้าของประเทศคู่ค้าปลายทาง และ 6. แก้ไขปัญหาการจราจรแออัดภายในท่าเทียบเรือแหลมฉบัง

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายสนั่น อังอุบลกุล

ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

 

3. เอกชนจี้รัฐบาลเตรียมรับมือทรัมป์ 2.0 (ที่มา: ข่าวสด, ประจำวันที่ 5กุมภาพันธ์ 2568)

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าเสนอรัฐบาลเตรียมรับมือนโยบาย นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่ หรือทรัมป์ 2.0 กับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ 3 เรื่องสำคัญ คือ 1. การเตรียม TEAM THAILAND+ ที่เป็นคณะทำงานร่วมระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อ เร่งศึกษาผลกระทบของไทยต่อนโยบายสหรัฐ ในทุก Sector และจัดทำเป็น Strategic Plan ของประเทศในการเจรจากับสหรัฐ รวมถึงการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนกับสหรัฐ 2. เร่งโปรโมตการลงทุนต่างชาติที่ต้องการย้ายฐานการผลิต โดยเสนอสิทธิประโยชน์ที่จูงใจ และ 3. เร่งเจรจา FTA ที่ค้างอยู่ โดยเฉพาะไทย-อียู เพื่อกระจายตลาดส่งออก ลดการพึ่งพาจีนและสหรัฐ และขยายไปภูมิภาคอื่นๆ เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรป

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า คาดไตรมาส 2 ปี 2568 เป็นต้นไปการส่งออกของไทยจะมีความท้าทายสูง สิ่งที่เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดคือมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐ เนื่องจากเป็นตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดของไทยครองส่วนแบ่งมากถึง 17% ในปี 2567 เติบโตมากถึง 13.7% คาดว่าสหรัฐอาจจะประกาศขึ้นภาษีสินค้าจากไทยตั้งแต่เดือนเมายน 2568 เป็นต้นไป สินค้าที่คาดว่าได้รับผลกระทบคือ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์, เครื่องจักรกล, เม็ดพลาสติก เป็นต้น ทั้งนี้ เสนอให้กระทรวงพาณิชย์จัดตั้งวอร์รูม เกาะติดมาตรการสงครามการค้าของสหรัฐ หรือทรัมป์ 2.0 ให้เร็ว และตั้งคณะทำงานพิเศษขึ้นมาดูแลเฉพาะ ประชุมร่วมกันทุกๆ เดือน เพื่อกำหนดกลยุทธ์การทำงานและรับมือกับปัญหาดังกล่าวให้เป็นแบบหนึ่งเดียวทั้งภาครัฐและเอกชน วางจุดยืนไทยให้ชัดเจน โดยเฉพาะแนวทางการเจรจาหลังสหรัฐประกาศมาตรการกับไทย หากรัฐบาลยังล่าช้าอาจกระทบการส่งออกปี 2568

 

ข่าวต่างประเทศ

A flag with a red circle and black lines

Description automatically generated

 

4. ทุนสำรอง FX เกาหลีใต้ ร่วงต่ำสุดรอบ 5 ปี เหตุค่าเงินวอนอ่อน (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2568)

ธนาคารกลางเกาหลีใต้ (BOK) เปิดเผยว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้ในเดือนมกราคม 2568 ลดลงจากเดือนก่อนหน้า และทำสถิติต่ำสุดในรอบเกือบ 5 ปี สืบเนื่องจากค่าเงินวอนที่อ่อนตัวลง โดย BOK ให้ข้อมูลว่า ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศของเกาหลีใต้อยู่ที่ระดับ 4.1101 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ณ สิ้นเดือนมกราคม 2568 ลดลง 4.59 พันล้านดอลลาร์จากเดือนธันวาคม 2567 ซึ่งตัวเลขในเดือนมกราคมนี้ ถือเป็นระดับต่ำสุดนับจากเดือนมิถุนายน 2563 ซึ่งอยู่ที่ 4.107 แสนล้านดอลลาร์ และถือว่าลดลงมากที่สุดนับจากเดือนเมษายน 2567 โดยมีสาเหตุหลักมาจากการที่ทางการเข้าแทรกแซงตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ผันผวน ทั้งนี้ ค่าเงินวอนอ่อนลงแตะจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 16 ปี ร่วงทะลุระดับ 1,460 วอนต่อดอลลาร์ ในเดือนธันวาคม และยังทรงตัวอยู่ในระดับนี้ตลอดเดือนมกราคม ท่ามกลางความวุ่นวาย   ทางการเมืองจากการประกาศใช้กฎอัยการศึกของประธานาธิบดียุน ซอกยอล รวมถึงค่าเงินดอลลาร์ที่ยังแข็งค่าต่อเนื่อง

อย่าไงรก็ตาม สำหรับทุนสำรองที่อยู่ในรูปของหลักทรัพย์ต่างประเทศ เช่น พันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนมากถึง 88.1% ของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศทั้งหมด โดยมีมูลค่า 3.6202 แสนล้านดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนมกราคม ลดลง 4.65 พันล้านดอลลาร์ จากเดือนธันวาคม ส่วนทุนสำรองที่อยู่ในรูปของเงินฝากอยู่ที่ 2.529 หมื่นล้านดอลลาร์ ณ สิ้นเดือนมกราคม เพิ่มขึ้น 70 ล้านดอลลาร์จากเดือนธันวาคม

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)