ข่าวประจำวันที่ 27 มิถุนายน 2568

ข่าวในประเทศ

นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา

อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม)

 

1. 'ดีพร้อม' ปักธงซอฟต์พาวเวอร์ ขับเคลื่อน ศก.ชุมชน 3,000 หมู่บ้าน (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 27 มิถุนายน 2568)

นางสาวณัฏฐิญา เนตยสุภา อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) เปิดเผยว่า การผลักดันซอฟต์พาวเวอร์ เป็นนโยบายที่สำคัญของรัฐบาลในการสร้างภาพลักษณ์ของประเทศไทยให้โดดเด่นในเวทีโลก โดยใช้ต้นทุนทางวัฒนธรรมเข้ามาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า และภาคการท่องเที่ยวของไทย รวมทั้งยังเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มรายได้ให้กับเศรษฐกิจฐานราก เปิดโอกาสให้ชุมชนนำสินค้า หรือบริการในท้องถิ่นมาประสานเข้ากับเรื่องราวและอัตลักษณ์ในแต่ละพื้นที่มาเพิ่มมูลค่า สร้างความโดดเด่นเหนือกว่าสินค้าอื่นในท้องตลาด ซึ่งจะทำให้ท้องถิ่นทั่วประเทศเกิดความมั่งคั่งอย่างยั่งยืน สำหรับแนวทางหลักในการนำซอฟต์พาวเวอร์มาสร้างรายได้เพิ่มขึ้นกับท้องถิ่น จะผลักดันผ่าน "ซอฟต์พาวเวอร์อาหาร" ซึ่งเป็น 1 ใน 5 อุตสาหกรรมวัฒนธรรมสร้างสรรค์ เนื่องจากในทุกพื้นที่ของไทยมีจุดเด่นด้านวัตถุดิบ และวัฒนธรรมการผลิตอาหารที่แตกต่างกัน ที่สามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ แนวทางการพัฒนาจะต้องมุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าอัตลักษณ์พื้นถิ่น (Crop) อาหารพื้นถิ่น (Food) หัตถกรรมพื้นบ้าน (Craft) สมุนไพรประจำถิ่น (Herb) และวัสดุพื้นถิ่น (Material) ด้วยการประยุกต์ใช้ทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญา นวัตกรรม และเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสทางการตลาดและพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์และการรับรู้ผ่านการสร้างแบรนด์ และนำเสนอเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับแหล่งผลิต ตลอดจนขยายโอกาสทางธุรกิจด้วยการเชื่อมโยงการ ท่องเที่ยวเชิงอาหาร การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งจะทำให้ชุมชนเกิดการสร้างรายได้ และสามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง อีกทั้งยังเป็นการกระจายรายได้ไปยังเกษตรกรและผู้ผลิตรายย่อย ซึ่งจะเป็นกลไกเสริมสร้างการจ้างงานอย่างเป็นรูปธรรมและทั่วถึง ซึ่งจะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจภูมิภาค (Local Economy) ได้อย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ ดีพร้อมยังได้ให้ศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรม หรือศูนย์ไอซีที ทั้ง 13 แห่ง ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ เข้าไปช่วยพัฒนาเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าเกษตรของชุมชนในทุกขั้นตอน เริ่มตั้งแต่การนำผลผลิตเกษตรไปแปรรูปให้มีมูลค่าเพิ่ม และตรงกับความต้องการของตลาด การออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่โดดเด่นสะท้อนเรื่องราวของชุมชน ชูให้สินค้ามีจุดเด่น รวมถึงสอนการทำตลาดทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ การทำคอนเทนต์ การทำธุรกิจ การขาย การบริหารจัดการการทำบัญชี การบริหารด้านการเงิน ไปจนถึงการสร้างแบรนด์ เพื่อให้ผลลัพธ์สุดท้ายสินค้าขายได้ มีกำไร เกิดมูลค่าเพิ่ม  ทางเศรษฐกิจ และช่วยดึงดูดการท่องเที่ยว ซึ่งดีพร้อมจะติดตามและวัดผลอย่างสม่ำเสมอ ให้รู้ว่ารายได้ของพื้นที่โดยรวมเพิ่มขึ้นเท่าไร ทั้งนี้ ในปี 2568 ดีพร้อมจะเดินหน้าขยายโครงการพัฒนาชุมชนออกไป ตั้งเป้าที่จะพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนให้ได้ไม่ต่ำกว่า 3 พันราย จาก 3 พันหมู่บ้าน

 

A person in a yellow jacket

AI-generated content may be incorrect.

นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ

อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP)

 

2. สินค้าเพื่อสุขภาพ-คาแร็กเตอร์ มีโอกาสเจาะตลาดผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 27 มิถุนายน 2568)

นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (DITP) กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากนายฉันทพัทธ์ ปัญจมานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ถึงการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคของนักท่องเที่ยวต่างชาติในตลาดที่ญี่ปุ่นที่มีการเปลี่ยนแปลง จากการซื้อสินค้าหรูมาเป็นซื้อของใช้ในชีวิตประจำวันแทน และโอกาสในการส่งออกสินค้าของไทยไปจำหน่าย โดยปัจจุบันการบริโภคของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางมาเยือนญี่ปุ่นกำลังเปลี่ยนแปลงจากการซื้อสินค้าราคาแพงไปสู่การซื้อของใช้ในชีวิตประจำวันแทน โดยมีข้อมูลของสำนักงานการท่องเที่ยวญี่ปุ่นยืนยันว่า การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติในช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2568 อยู่ที่ 2.272 ล้านล้านเยน (ประมาณ 5.2 แสนล้านบาท) โดยค่าใช้จ่าย เฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 222,000 เยน (ประมาณ 50,000 บาท) สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 211,000 เยน (ประมาณ 48,000 บาท) แต่ประเภทสินค้าที่ซื้อเริ่มเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ ปัจจุบัน มีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางไปญี่ปุ่น โดยเดือนเมษายน 2568 อยู่ที่ 3,908,900 คน เป็นสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาหนึ่งเดือน เพิ่มขึ้น 28.5% สูงกว่าสถิติเดิมที่เคยทำไว้ในเดือนมกราคม 2568 ที่มีจำนวน 3,781,629 คน และนอกจากการไปท่องเที่ยวยังสถานที่ ต่างๆ แล้ว นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่นิยมซื้อของ และจากการที่หันไปซื้อของใช้ในชีวิตประจำวัน มากขึ้น เป็นโอกาสสำหรับผู้ส่งออกไทย ที่ผลิตและส่งออกสินค้าอุปโภค-บริโภคและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพไม่เพียง แต่สินค้าที่ผลิตในรูปแบบ OEM เพื่อส่งออกไปยังญี่ปุ่น แต่ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์แบรนด์ไทยอย่างแบรนด์เครื่องสำอางของไทยที่กำลังได้รับความนิยมและมีบทบาทมากขึ้นในญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ การเติบโตอย่างต่อเนื่องของสินค้าที่เกี่ยวข้องกับคาแร็กเตอร์ อาจเป็นอีกโอกาสหนึ่งสำหรับผู้ประกอบการไทยที่กำลังสนใจบุกตลาดญี่ปุ่น ซึ่งอุตสาหกรรมคอนเทนต์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมในการ ส่งเสริม Soft Power ตามนโยบายของรัฐบาล โดยคาแร็กเตอร์ไทยที่มีวางจำหน่ายในญี่ปุ่นอาจมีโอกาสขยายตัวมากขึ้น หรือในกรณีที่ ผู้ประกอบการไทยมีการรับจ้างผลิตสินค้า OEM ให้กับคาแร็กเตอร์ญี่ปุ่น ก็มีแนวโน้มที่จะเติบโตต่อเนื่องเช่นกัน ทั้งนี้ จากการสำรวจตลาด พบว่า ความต้องการสินค้า เช่น เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ดูแลผิว ผ้าอนามัย อาหารเสริมสุขภาพ ผ้าปิดตา อุปกรณ์นวด ที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสมเพิ่มสูงขึ้น สินค้าจากประเทศไทยที่ใช้สมุนไพรหรือวัตถุดิบออร์แกนิก สามารถสร้างความแตกต่างในตลาดได้ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์แนวธรรมชาติ ที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น และสินค้าที่ผสมกลิ่นอายความเป็นญี่ปุ่น ไม่ว่าจะด้วยการออกแบบบรรจุภัณฑ์พิเศษหรือสินค้าลิมิเต็ดอิดิชั่น อาจสามารถดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวในการซื้อเป็นของฝากได้ ซึ่งกลุ่มสินค้าคาแรคเตอร์ก็เช่นเดียวกัน แต่สินค้าต้องเน้นคุณภาพ มาตรฐาน ราคาเหมาะสม

 

A person in a red jacket

AI-generated content may be incorrect.

นายธนวรรธน์ พลวิชัย

อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

 

3. ชี้สารพัดปัจจัยเสี่ยงฉุดเศรษฐกิจดิ่งเหว (ที่มา: ข่าวสด, ประจำวันที่ 27 มิถุนายน 2568)

 นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยหอการค้าได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจปี 2568 ลงจาก 3% เหลือ 1.7% เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีปัจจัยเสี่ยงรุมเร้า ได้แก่ กำแพงภาษีจากสหรัฐ, ความขัดแย้งอิสราเอล-อิหร่าน, ความตึงเครียดไทย-กัมพูชา และเสถียรภาพรัฐบาล รวมทั้งการผลิตภาคอุตสาหกรรมฟื้นช้า อัตรากำลังการผลิตยังต่ำที่ระดับ 65.1%, การลงทุนภาคเอกชนติดลบต่อเนื่อง, การส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังเสี่ยงลดลง, นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง และยังคาดการณ์ว่าหนี้ครัวเรือต่อจีดีพีจะปรับสูงขึ้นเป็น 87.4 % ซึ่งเป้าจีดีพีใหม่ที่ 1.7% นั้นเราประเมินภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แย่นัก คือ สหรัฐอาจประกาศภาษีไทยไม่สูงนักราว 15-20% ความขัดแย้งอิหร่าน-อิสราเอล และชายแดนกัมพูชาคลี่ลายได้เร็ว รวมทั้งนายกรัฐมนตรีสามารถอยู่ได้จบครบวาระ ทำให้รัฐบาล มีเสถียรภาพและสามารถเบิกจ่ายงบได้ 50% ขณะที่การส่งออกทั้งปีเติบโตเป็นอัตราบวก 2.5%

อย่างไรก็ตาม จีดีพีปีนี้ยังมีแนวโน้มที่จะผันผวนจากเป้าหมาย 1.7% โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัจจัยเสี่ยงต่างๆ โดยแบ่งเป็น 2 กรณี 1. กรณีที่แย่ที่สุด คือ จีดีพีอาจโตลดลงเหลือเพียง 0.9% หากการเมืองไทยไร้เสถียรภาพ โดยนายกรัฐมนตรีตัดสินใจยุบสภา ทำให้การเบิกจ่ายงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจทำได้แค่ 25%, สหรัฐประกาศเก็บภาษีไทยในอัตรา 25-30% และชายแดนกัมพูชาตึงเครียดจนต้องปิดด่าน 100% ตลอดปีนี้ และ 2. กรณีที่ดีที่สุด คาดว่าจีดีพีปีนี้อาจจะเติบโตได้ 2.3% ซึ่งสูงกว่าคาดการณ์โดยกรณีนี้จะเกิดขึ้นได้นั้นนายกรัฐมนตรีจะต้อง อยู่บริหารประเทศจนถึงสิ้นปีนี้ ทำให้สามารถเบิกจ่ายงบประมาณได้ 75% สหรัฐประกาศเก็บภาษีไทยเพียง 10% รวมทั้งความขัดแย้ง ไทย-กัมพูชา และสงครามอิสราเอล-อิหร่านจบลงเร็ว ทั้งนี้ เพื่อควบคุมไม่ให้เศรษฐกิจไทยผันผวนมาก รัฐบาลจะต้องเร่งเจรจาการค้ากับสหรัฐ, เร่งรัดการเบิกจ่ายงบ, ปลดล็อกการให้สินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทยควรจะหารือร่วมกับธนาคารพาณิชย์เพื่อผ่อนเกณฑ์การให้สินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อบ้านและรถ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เดินต่อได้, แก้ไขปัญหาหนี้สินครัวเรือนและการกระตุ้นการลงทุนเอกชน

 

ข่าวต่างประเทศ

A flag with a red white and blue flag

AI-generated content may be incorrect.

 

4. สหรัฐเผย GDP หดตัว 0.5% ใน Q1/68 (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 27 มิถุนายน 2568)

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 3 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ประจำไตรมาส 1/2568 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2568 ที่ผ่านมา โดยระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐหดตัว 0.5% ในไตรมาสดังกล่าว ย่ำแย่กว่าตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ที่ระบุว่าหดตัว 0.2% ขณะที่ตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 ระบุว่าหดตัว 0.3% โดยเศรษฐกิจสหรัฐหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบ 3 ปี ในไตรมาส 1/2568 โดยได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของการใช้จ่ายของผู้บริโภค รวมทั้งตัวเลขนำเข้าที่พุ่งขึ้น 37.9% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2563 จากการที่บริษัทต่างๆ พากันเร่งนำเข้าสินค้าก่อนที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์จะประกาศมาตรการ เรียกเก็บภาษีศุลกากรครั้งใหญ่ในเดือนเมษายน ทั้งนี้ ในปี 2567 เศรษฐกิจสหรัฐขยายตัว 1.4% ในไตรมาส 1, 3.0% ในไตรมาส 2, 3.1% ในไตรมาส 3 และ 2.4% ในไตรมาส 4

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) ซึ่งไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.5% ในไตรมาส 1/2568 หลังจากปรับตัวขึ้น 2.6% ในไตรมาส 4/2567

 

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)