ข่าวประจำวันที่ 30 มิถุนายน 2568

ข่าวในประเทศ

นายณัฐพล รังสิตพล

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

1. กระชับสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นเพิ่มดีกรีการแข่งขันอุตสาหกรรม (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 30 มิถุนายน 568)

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วยนายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม นายภัทรพล ลิ้มภักดี รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และ นายดุสิต อนันตรักษ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เข้าร่วมประชุมหารือ ความร่วมมือ ไทย-ญี่ปุ่นร่วมกับนายวิชชุ เวชชาชีวะ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว นางสาวเพ็ญโสม เลิศสิทธิชัย รองอธิบดีกรมเอเชียตะวันออก ณ กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) โดยการหารือในครั้งนี้ สืบเนื่องจากในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการจะเดินทางไปเยือนประเทศญี่ปุ่นในเดือนสิงหาคม 2568 ซึ่งจะเข้าพบนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่เพื่อหารือแนวทางการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น โดยในปี 2570 จะมีการจัดงานเฉลิมฉลองครบรอบ 140 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ดังนั้น กระทรวงการต่างประเทศจึงได้เชิญประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหารือแนวทางส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่นให้กระชับแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงอุตสาหกรรม เห็นพ้องกันร่วมกันที่จะนำประเด็นที่อยู่ภายใต้จัดการประชุมกลไกการหารือไทย-ญี่ปุ่นว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานและอุตสาหกรรม (Energy and Industry Dialogue : EID) ซึ่งได้มีการประชุมฯ ครั้งที่ 1 เมื่อปลายเดือนเมษายน ณ กรุงเทพฯ เป็นวาระสำคัญ

อย่างไรก็ตาม สำหรับประเด็นสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมในการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานแห่งอนาคต และสังคมคาร์บอนต่ำ ได้แก่ 1. การส่งเสริมแนวทางที่หลากหลาย (Promotion of Multi-Pathway) 2. การส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน (Promotion of Circular Economy) และ 3. การดูแลรักษาและพัฒนาห่วงโซ่อุปทานและทรัพยากรบุคคลให้สามารถแข่งขันได้ รวมถึงการสนับสนุน SMEs โดยเฉพาะการสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel และ Ethanol) การส่งเสริมการจัดการรถยนต์ใช้แล้ว การกำหนด Product Champion ในกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่เพื่อดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติมจากญี่ปุ่น

 

นายภาสกร ชัยรัตน์

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

 

2. สศอ. จับมือเอกชนบุกเซินเจิ้น ศึกษายานยนต์พลังงานใหม่-อัจฉริยะ (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 30 มิถุนายน 2568)

นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) พร้อมด้วย นายเกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ นายสุโรจน์ แสงสนิท นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ผู้แทนสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม และสถาบันยานยนต์ ได้เข้าพบและเยี่ยมชมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้การดำเนินโครงการ "The state of preparedness of the Lancang-Mekong region's market adoption for new energy vehicles (NEVs) and smart mobility" (โครงการประเมินความพร้อมของตลาดในภูมิภาคล้านช้าง-แม่โขง สำหรับการใช้งานยานยนต์พลังงานใหม่ และยานยนต์อัจฉริยะ) สนับสนุนโดย กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ เมืองเซินเจิ้น สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยคณะได้เยี่ยมชม Huawei ซึ่งเป็นผู้พัฒนาและผู้ให้บริการโซลูชันซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ยานยนต์อัจฉริยะที่สำคัญในจีน โดยร่วมมือกับผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของจีน ญี่ปุ่น และยุโรป มีจุดเด่นในการวิจัยและพัฒนา เช่น LiDAR, radar และ Domain Controllers ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของระบบขับเคลื่อนอัจฉริยะ โดย Huawei มีกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการเป็น "Tier 0" หรือ "System Integrator" ระดับโลก ซึ่งเป็นผู้จัดหาระบบและส่วนประกอบหลักที่จำเป็นสำหรับรถยนต์อัจฉริยะแบบครบวงจร รวมถึงการรวมระบบที่ซับซ้อนเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้ผลิตรถยนต์สามารถนำไปใช้ได้ทันที โดยมีเทคโนโลยีที่สามารถรองรับการขับขี่อัตโนมัติในระดับ 3 บนถนนไฮเวย์ได้ แสดงให้เห็นถึงความพร้อมของเทคโนโลยีในการเข้าสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ ทั้งนี้ ในการก้าวเข้ามาของ Huawei กำลังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งได้มีการดำเนินการแล้วในไทยในด้านโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ การให้บริการสถานีชาร์จไฟ เป็นต้น โดยคณะได้หารือแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนายานยนต์อัจฉริยะและโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเตรียมความพร้อมของตลาดระหว่าง 2 ประเทศ และได้เยี่ยมชมศูนย์แสดงเทคโนโลยีและ Huawei Shenzhen Base Flagship Store

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ได้เยี่ยมชม Shenzhen Future Mobility Experience เป็นจุดเด่นของเมืองเซินเจิ้น ในการให้บริการด้าน Future Mobility บนถนนและการจราจรจริง ด้วยการเริ่มต้นเปิดให้บริการ Robotaxi ซึ่งเป็นการขนส่งสาธารณะแบบไร้คนขับ ผ่านการใช้งาน Application ที่ทันสมัยและสะดวกสบาย ความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับระบบอัตโนมัติบนพื้นฐานของความปลอดภัยเพื่อก้าวไปสู่ยุคดิจิตอลแบบเต็มรูปแบบในอนาคต และ Drone Delivery เป็นบริการสั่งสินค้าและอาหารผ่าน Application และขนส่งมายังผู้บริโภคทางอากาศผ่านโดรน เป็นต้นแบบของการให้บริการที่ลดความแออัด ทันสมัย รวดเร็ว และสามารถพัฒนาให้แพร่หลายต่อไปในอนาคต

 

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) (สศอ.)

 

3. BOI พร้อมหนุน LOCAL CONTENT ประเดิมกลุ่ม EV-เครื่องใช้ไฟฟ้า (ที่มา: ทันหุ้น, ประจำวันที่ 30 มิถุนายน 2568)

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ด BOI) ได้มีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนในประเทศ (Local Content) เพื่อกระตุ้นให้นักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้าซื้อวัตถุดิบในประเทศมากขึ้นเป็นการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจและผลักดันผู้ประกอบการไทยเข้าสู่ Supply Chain ระดับโลก โดยมาตรการนี้ ถือเป็นหนึ่งในชุดมาตรการส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทยเพื่อรองรับโลกยุคใหม่ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ควบคู่กับการปกป้องอุตสาหกรรมที่มีความเปราะบาง รักษาระดับการแข่งขันให้เหมาะสม พร้อมลดความเสี่ยงจากมาตรการการค้าของสหรัฐ โดยในการประชุมบอร์ดบีโอไอครั้งก่อน ได้ออกมาตรการต่างๆ แล้ว ดังนี้ 1. มาตรการส่งเสริมให้ SMEs ไทย ปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 2. การงดส่งเสริมกิจการที่มีภาวะสินค้าล้นตลาด (Oversupply) เช่น เหล็กทรงยาว เหล็กแผ่น รีดร้อน ท่อเหล็ก และกิจการที่มีความเสี่ยงต่อมาตรการการค้าของสหรัฐ เช่น การผลิตแผงโซลาร์ 3. การเพิ่มความเข้มข้นในการพิจารณากระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่จะขอรับการ ส่งเสริม เพื่อป้องกันการสวมสิทธิและให้มีมูลค่าเพิ่มจากการผลิตในประเทศไทยมากขึ้น และ 4.การกำหนดสัดส่วนการจ้างงานบุคลากรไทยมากกว่าร้อยละ 70 ในกิจการผลิต และกำหนดเงื่อนไขเงินเดือนขั้นต่ำ 50,000-150,000 บาท สำหรับบุคลากรต่างชาติ เพื่อคัดกรองเฉพาะต่างชาติที่มีความเชี่ยวชาญสูง หนุนใช้วัตถุดิบในประเทศ ทั้งนี้ สำหรับมาตรการส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนในประเทศไทย (Local Content) ที่บอร์ดบีโอไอได้เห็นชอบเพิ่มเติมในครั้งนี้ จะใช้สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า BEV, PHEV, ชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยกำหนดสัดส่วน ดังนี้ หากโครงการยานยนต์ไฟฟ้า BEV และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีการใช้ชิ้นส่วนในประเทศมากกว่าร้อยละ 40, PHEV ที่มีการใช้ชิ้นส่วนในประเทศมากกว่าร้อยละ 45 และชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าที่มีการใช้วัตถุดิบในประเทศมากกว่าร้อยละ 15 ของมูลค่าวัตถุดิบทั้งหมด และได้รับการรับรองสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand MiT) จากสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย จะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลในอัตราร้อยละ 50 เพิ่มเติมอีก 2 ปี สำหรับ

อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า ถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ทั้งด้านเม็ดเงินลงทุน การจ้างงาน การส่งออก การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมชิ้นส่วนในประเทศ ตั้งแต่ปี 2565 ถึงเดือนพฤษภาคม 2568 มีโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วน รวมทั้งสิ้น 65 โครงการ เงินลงทุนรวมกว่า 96,000 ล้านบาท และอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า มีจำนวน 68 โครงการ เงินลงทุนรวมกว่า 96,800 ล้านบาท

 

ข่าวต่างประเทศ

A red flag with yellow stars

AI-generated content may be incorrect.

 

4. จีนเผย PMI ภาคการผลิตหดตัวเดือนที่ 3 คาดหนุนรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นศก. (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 30 มิถุนายน 2568)

สำนักงานสถิติแห่งชาติจีน เปิดเผยรายงานว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตเดือนมิถุนายน 2568 ของจีนอยู่ที่ระดับ 49.7 ซึ่งแม้ว่าปรับตัวขึ้นจากระดับ 49.5 ในเดือนพฤษภาคม แต่ดัชนีอยู่ที่ต่ำกว่าระดับ 50 ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งบ่งชี้ว่าภาคการผลิตของจีนยังคงอยู่ในภาวะหดตัว ส่วนดัชนี PMI นอกภาคการผลิตซึ่งรวมถึงภาคบริการและการก่อสร้าง ดีดตัวขึ้นแตะระดับ 50.5 ในเดือนมิถุนายน จากระดับ 50.3 ในเดือนพฤษภาคม โดยดัชนีที่สูงกว่า 50 บ่งชี้ว่าภาคบริการของจีนยังคงมีการขยายตัว ซึ่งผู้ประกอบการ              ในภาคการผลิตของจีนได้รับผลกระทบจากสงครามราคาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ท่ามกลางภาวะอุปทานที่อยู่ในระดับสูงและอุปสงค์ผู้บริโภคที่อ่อนแอ โดยสถานการณ์เหล่านี้ย่ำแย่ลงนับตั้งแต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ได้ปรับขึ้นภาษีศุลกากร ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าจากจีนไปยังสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลก

อย่างไรก็ตาม ตลาดคาดการณ์ว่าดัชนี PMI ภาคการผลิตที่หดตัวอย่างต่อเนื่องจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้รัฐบาลจีนออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อรับมือกับผลกระทบของข้อพิพาทการค้า   

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)