ข่าวประจำวันที่ 17 กรกฎาคม 2568

ข่าวในประเทศ

A person in a suit and tie

AI-generated content may be incorrect.

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

 

1. บีโอไอผุด 5 มาตรการ รับมือผลกระทบ 'ภาษีตอบโต้' สหรัฐฯ (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 17 กรกฎาคม 2568)

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ตั้งแต่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเริ่มประกาศนโยบายเก็บภาษีตอบโต้ (Reciprocal Tariffs) บีโอไอได้หารือกับกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมต่างๆ เพื่อหาแนวทางบรรเทาผลกระทบ โดยเมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ได้ออกมาตรการชุดหลัก ภายใต้ชื่อว่า "มาตรการส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทย เพื่อรองรับโลกยุคใหม่" เพื่อตอบโจทย์ 2 เรื่องสำคัญ คือ 1. สนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเสริมสร้าง Supply Chain ในประเทศให้แข็งแกร่ง พร้อมรองรับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น และ 2. ลดความเสี่ยงจากมาตรการการค้าของสหรัฐอเมริกา และจัดระเบียบการลงทุนในบางสาขา เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ และรักษาสมดุลในการแข่งขันทางธุรกิจให้เหมาะสม ทั้งนี้ บีโอไอจะออก 5 มาตรการย่อย ดังนี้ มาตรการที่ 1 มาตรการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการ SMEs ไทย ปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน มาตรการที่ 2 มาตรการส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนในประเทศไทย (Local Content) สำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและเครื่องใช้ไฟฟ้า เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยมีช่องทางการขายที่กว้างขวางขึ้น และสามารถเชื่อมต่อกับบริษัทต่างชาติเพื่อเข้าสู่ Supply Chain ระดับโลก มาตรการที่ 3 การเพิ่มความเข้มข้นในการพิจารณากระบวนการผลิตที่เป็นสาระสำคัญ สำหรับบางกิจการที่มีความเสี่ยงต่อการสวมสิทธิ และอาจได้รับผลกระทบจากมาตรการการค้าของสหรัฐอเมริกา มาตรการที่ 4 การจัดระเบียบการลงทุนในบางสาขา เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ และรักษาสมดุลในการแข่งขันทางธุรกิจให้เหมาะสม และมาตรการที่ 5 การปรับปรุงเงื่อนไขการจ้างงานบุคลากรต่างชาติ เพื่อสร้างโอกาสการจ้างงานในประเทศ และกระตุ้นให้เกิดการถ่ายทอดองค์ความรู้แก่บุคลากรไทยมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้บีโอไอกำลังเตรียมเสนอมาตรการเพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือกลุ่มผู้ประกอบการที่จะได้รับผลกระทบโดยตรงจากการขึ้นภาษีของสหรัฐอเมริกา อีกทั้งทำให้ประเทศไทยยังคงสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ในการดึงดูดการลงทุน โดยจะเน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น กลุ่มอาหาร ผลิตภัณฑ์ยาง ชิ้นส่วนยานยนต์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นต้น

 

A person in a suit and tie

AI-generated content may be incorrect.

นายองอาจ กิตติคุณชัย

นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป (TFPA)

 

2. อุตสาหกรรมอาหาร ชง 7 มาตรการเร่งด่วนต่อรัฐ ช่วยเหลือผู้ส่งออกไทย (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, ประจำวันที่ 17 กรกฎาคม 2568)

นายองอาจ กิตติคุณชัย นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป (TFPA) เปิดเผยว่า สมาคมได้หารือกับสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย (TFA) เพื่อสรุปมาตรการต่อภาครัฐเข้ามาช่วยเหลือและเยียวยา โดยสินค้าส่งออกสำคัญ เช่น สับปะรดกระป๋อง ข้าวโพดหวานกระป๋อง ผักกระป๋อง ผลไม้กระป๋อง ปลาทูน่า และอาหารทะเลกระป๋อง เครื่องปรุงรสและอาหารพร้อมรับประทาน สำหรับมาตรการเร่งด่วนที่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือ 7 มาตรการสำคัญ ได้แก่ 1. รักษาเสถียรภาพค่าเงินบาท 2. หนุนเทคโนโลยีลดต้นทุน 3. พิจารณาภาษีนำเข้าสหรัฐอย่างมีเงื่อนไข 4. ขยายตลาดใหม่ ลดพึ่งพาอเมริกา 5. เร่งเจรจา FTA ใหม่ 6. สร้างภาพลักษณ์สินค้าไทยในระดับโลก และ7. จัดทำข้อมูล Local Content เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ นอกจากนี้ ทางสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป และสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย ย้ำมาตรการภาษีนี้ คือ สัญญาณเตือนชัดเจนว่าเราต้องเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมอย่างเร่งด่วน ไม่ใช่แค่เพื่อความอยู่รอด แต่เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต และขอเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งดำเนินการเพื่อปกป้องความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยทั้ง 2 สมาคมยืนยันความพร้อมในการสนับสนุนข้อมูล ข้อเท็จจริง และความร่วมมือกับภาครัฐทุกระดับ เพื่อร่วมกันวางกลยุทธ์ฟื้นฟู และผลักดันอุตสาหกรรมอาหารไทยให้สามารถผ่านพ้นความท้าทายจากมาตรการการค้าโลกในครั้งนี้ได้อย่างมั่นคงต่อไป และต้องยอมรับว่าสหรัฐถือว่าเป็นผู้ค้าสำคัญในการส่งออกสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารของไทย และพบว่าในปี 2567 ไทยส่งออกสินค้ากลุ่มอาหารไปในตลาดสหรัฐ มีมูลค่าอยู่ที่ 166,224 ล้านบาท ขยายตัว 20.9%

อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของเอกชน หากจะมีการเจรจาเปิดเจรจาแลกเปลี่ยนสินค้า มองว่าการนำเข้าสินค้าในกลุ่มอาวุธยุทโธปกรณ์ เทคโนโลยี สินค้าไอที ชิป เครื่องบิน หรือวิทยาการในด้านใหม่ๆ ยาที่มีการนำเข้าจากสหรัฐอเมริกา อาจจะไม่ต้องเก็บภาษี เพื่อให้ต้นทุนและคุณภาพชีวิตภายในประเทศของเราดีขึ้น ส่วนการนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ในอัตราภาษี 0% ในสินค้ากลุ่มนี้ ยังมองว่าไม่เหมาะสม เพราะจะมีผลกระทบต่อภาคเกษตรกรไทยภายในประเทศ และยังผิดหลักการภายในประเทศที่ไม่ให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอ ส่วนใหญ่เป็นสินค้านอนจีเอ็มโอ หากนำเข้ามองว่าเราจะสูญเสียหลักการที่สำคัญของไทยเอง รวมไปถึงการพิจารณานำเข้าเนื้อหมูด้วย ทั้งนี้ สำหรับมาตรการด้านการเงินเป็นสิ่งที่ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีการพิจารณามาตรการให้มีความชัดเจนและรอบคอบ โดยเฉพาะเรื่องของการลดอัตราดอกเบี้ย เพราะถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นต้นทุนของผู้ประกอบการและผู้ผลิตภายในประเทศ ค่าเงินบาท ก็เป็นเรื่องที่ยังคงให้ความสำคัญ เพราะถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญในการแข่งขันสินค้าไทยในตลาดโลกไม่ต้องการให้ผันผวนและให้มีเสถียรภาพ

 

A person in a suit and tie

AI-generated content may be incorrect.

นายนาวา จันทนสุรคน

รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

 

3. ส.อ.ท.ชี้หลากปัจจัยลบรุมเร้า ฉุดดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรมมิ.ย.ร่วง (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 17 กรกฎาคม 2568)

นายนาวา จันทนสุรคน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2568 อยู่ที่ระดับ 87.7 ปรับตัวลดลงจากระดับ 88.1 ในเดือนพฤษภาคม 2568 ซึ่งเป็นผลจากการปิดด่านชายแดนไทย-กัมพูชา และการระงับการนำเข้าน้ำมัน และก๊าซ LNG จากไทย ส่งผลกระทบต่อการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน ส่วนกรณีที่สหรัฐฯปรับขึ้นภาษี Sectoral Tariff ในกลุ่มสินค้าเหล็ก และอลูมิเนียมจาก 25% เป็น 50% กระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทย, ความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลและอิหร่าน ส่งผลกระทบทำให้ราคาพลังงานผันผวน, การส่งออก และจำนวนนักท่องเที่ยวชะลอตัว อีกทั้งการทะลักเข้ามาของสินค้าจากต่างประเทศกดดันผู้ประกอบการ, การผลิตเพื่อส่งออกเริ่มถูกแทนที่ด้วยสินค้านำเข้า, ราคาสินค้าเกษตรหดตัวรุนแรง ส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกร และทำให้กำลังซื้อในภูมิภาคลดลง รวมถึงความขัดแย้งและความไม่แน่นอนทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและภาคเอกชน รวมทั้งเงินบาทแข็งค่าพร้อมสกุลเงินอื่น จากเงินทุนไหลเข้าภูมิภาค และการอ่อนค่าของดัชนีเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ทั้งนี้ ในเดือนมิถุนายนนี้ยังคงมีปัจจัยบวกจากการเร่งส่งออกก่อนสิ้นสุดมาตรการชะลอการเก็บภาษีแบบตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ในเดือนกรกฎาคม 2568 ขณะเดียวกันสัญญาณการเจรจาการค้าระหว่างไทย-สหรัฐฯ ยังมีทิศทางเชิงบวก และการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายของผู้ประกอบการช่วงกลางปี ช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศ

อย่างไรก็ตาม ขณะที่ดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงเช่นกัน อยู่ที่ระดับ 90.8 ลดลงจาก 91.7 ในเดือนพฤษภาคม 2568 เนื่องจากความไม่แน่นอนจากปัญหาบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา รวมถึงการปิดด่านอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน อาจส่งผลกระทบต่อมูลค่าการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนของไทย, ด้านคณะกรรมการค่าจ้าง มีมติปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาท ในพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัดในบางกิจการ มีผลวันที่ 1 กรกฎาคม 2568 กระทบต่อต้นทุนการจ้างของผู้ประกอบการ SMEs รวมถึงความไม่แน่นอนของมาตรการภาษีแบบตอบโต้ (Reciprocal Tariff) ส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ทางการค้า อย่างไรก็ดียังมีปัจจัยสนับสนุนที่คาดว่าจะมาจากการอนุมัติงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.15 แสนล้านบาท คาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.4% และโครงการเที่ยวไทยคนละครึ่ง 2568 คาดว่าจะช่วยกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น และกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชนอย่างทั่วถึง

 

ข่าวต่างประเทศ

A flag with a red white and blue design

AI-generated content may be incorrect.

 

4. ออสเตรเลียว่างงานสูงสุดในรอบ 4 ปี คาดหนุนแบงก์ชาติหั่นดบ. (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 17 กรกฎาคม 2568)

สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS) เปิดเผยรายงานว่า อัตราว่างงานเดือนมิถุนายน 2568 ดีดตัวขึ้นแตะระดับ 4.3% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี และสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าจะทรงตัวที่ระดับ 4.1% ส่วนการจ้างงานในเดือนมิถุนายน เพิ่มขึ้นเพียง 2,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 20,000 ตำแหน่ง โดยปัจจัยที่ทำให้ตัวเลขจ้างงานเดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นนั้นมาจากการจ้างงานพาร์ทไทม์ ทั้งนี้ การจ้างงานพาร์ทไทม์ปรับตัวขึ้น 40,200 ตำแหน่ง ขณะที่การจ้างงานเต็มเวลาลดลง 38,200 ตำแหน่ง ส่วนอัตราการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานเพิ่มขึ้นแตะระดับ 67.1% ทั้งนี้ อัตราว่างงานที่เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี หรือนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 และการจ้างงานที่ขยับขึ้นเพียงเล็กน้อยในเดือนมิถุนายน สะท้อนให้เห็นถึงความอ่อนแอของตลาดแรงงาน และอาจเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนหน้า

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการ RBA มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3.85% ในการประชุมเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งสวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะปรับลด โดย RBA ระบุว่าทางธนาคารกลางต้องการรอดูหลักฐานเพิ่มเติมว่าเงินเฟ้อจะแตะจุดกึ่งกลางของเป้าหมายที่ระดับ 2-3% หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาจากตลาดแรงงานที่ยังคงอยู่ในภาวะตึงตัว

 

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)