ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมีนาคม 2566

ข่าวในประเทศ

A person smiling for the camera

Description automatically generated with low confidence

นางวรวรรณ ชิตอรุณ

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

 

1. สศอ. เตือนรับมือต้นทุนพุ่ง 'รัสเซีย-ยูเครน' รบยืดเยื้อทำวัตถุดิบขาด (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 17 มีนาคม 2566)

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อในปัจจุบัน ส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทยเพียงเล็กน้อย สะท้อนจากมูลค่าการค้ารวม (การส่งออกและนำเข้า) ของไทยกับรัสเซีย-ยูเครนที่มีสัดส่วนประมาณ 0.5% เมื่อเทียบกับการค้าทั้งหมด โดยไทยได้รับผลกระทบทางอ้อม เนื่องจากรัสเซีย-ยูเครน เป็นผู้ผลิตและส่งออกพลังงาน รวมทั้งสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ในตลาดโลก ซึ่งกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานเป็นวงกว้างทั่วโลก รวมถึงผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมจากราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง ต้นทุนการผลิตและการขาดแคลนวัตถุดิบ ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ปรับสูงขึ้นและทำให้ห่วงโซ่อุปทานหยุดชะงัก อีกทั้งความเชื่อมั่นต่อบรรยากาศการค้าและการลงทุน โดยอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการใช้พลังงานต่อต้นทุนรวมในการผลิตสูง ได้แก่ อุตสาหกรรมเม็ดพลาสติก 30.56% เหล็กและเหล็กกล้า 20.03% ผลิตภัณฑ์พลาสติก 10.48% ยางรถยนต์ 7.37% และเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย 5.61% สำหรับภาพรวมราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเหลือง ข้าวสาลี น้ำมัน และปุ๋ยเคมี โดยรัสเซียส่งออกปุ๋ยเคมีมากที่สุดในโลกประมาณ 50 ล้านตันต่อปี ซึ่งในปี 2565 ไทยนำเข้าปุ๋ยเคมีจากรัสเซีย อยู่ที่ 10,141.59 ล้านบาท คิดเป็น 22.41% ของการนำเข้าจากรัสเซียทั้งหมด ทั้งนี้ หากสงครามยังคงยืดเยื้อจะส่งผลกระทบต่อการปรับราคาปุ๋ยเคมีและส่งผลกระทบต่อเนื่องมายังสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว ยางพารา อ้อย ปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นสินค้าหลักในการส่งออกของไทย ส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรแพงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ขณะเดียวกัน ผลกระทบทางอ้อมที่เกิดขึ้นเพิ่มเติม คือ บราซิลเป็นผู้นำเข้าปุ๋ยเคมีจากรัสเซียมากที่สุด และเป็นประเทศผู้ส่งออกถั่วเหลืองอันดับ 1 ของโลก และส่งออกข้าวโพดเป็นอันดับ 2 ของโลก หากราคาปุ๋ยเคมีสูงขึ้นจะส่งผลต่อต้นทุนการเพาะปลูกถั่วเหลืองและข้าวโพด ทำให้ราคาเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น ไทยจึงได้รับผลกระทบด้วยจากปี 2565 ไทยนำเข้าถั่วเหลืองจากบราซิล 76% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 53,954 ล้านบาท ส่งผลต่อต้นทุนการเลี้ยงปศุสัตว์ และสะท้อนไปสู่ราคาเนื้อสัตว์ที่เพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน อาจยังคงไม่มีข้อสรุปในเวลาอันใกล้นี้ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรติดตามสถานการณ์เพื่อหาแนวทางปรับตัว ได้แก่ การแสวงหาหุ้นส่วนของห่วงโซ่อุตสาหกรรมเพิ่มเติม เพื่อหาวิธีลดต้นทุนร่วมกัน (Cost Sharing) เช่น การทำ MOU เพื่อแลกเปลี่ยนทางการค้าที่ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย โดยหาประเทศที่เป็นมิตรต่อกัน เพื่อลดการพึ่งพิงประเทศใดประเทศหนึ่งมากเกินไป และการแสวงหาพันธมิตรทางการค้าใหม่พร้อมขยายช่องทางการตลาด โดยเฉพาะในตลาดที่มีศักยภาพ เช่น เอเชียใต้ ทวีปออสเตรเลีย และตะวันออกกลางเป็นตลาดขนาดใหญ่และมีกำลังซื้อสูง และการขยายช่องทางการตลาดเพิ่มเติมผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ แอปพลิเคชั่นต่างๆ รวมทั้งสื่อดิจิทัล ที่มีส่วนช่วยให้โปรโมทสินค้าได้ง่ายขึ้น ช่วยให้การทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง

 

A person speaking into a microphone

Description automatically generated

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี

อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม)

 

2. ดีพร้อม - เดลต้า เร่งเอสเคิร์ฟสตาร์ตอัพ ปั้นผู้ผลิตนวัตกรรมช่วยภาคอุตฯ (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 14 มีนาคม 2566)

นายใบน้อย สุวรรณชาตรี อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ดีพร้อม) เปิดเผยว่า จากนโยบายของ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่มุ่งเน้นการพัฒนา 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายหรือ S - Curve ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่สำคัญทางเศรษฐกิจและสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ด้วยการสร้างมูลค่าที่สูงขึ้นให้กับผลิตภัณฑ์ บริการ แบรนด์ธุรกิจ อันจะทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นทางด้านอุตสาหกรรมไทยก้าวสู่ในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้ ภายใต้การพัฒนาดังกล่าวยังพบว่าการปรับกระบวนการของผู้ประกอบการหลายรายยังคงต้องพึ่งพาเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงจากต่างชาติ ซึ่งทำให้ต้นทุนในด้านเครื่องจักรงานวิจัย และเครื่องมืออันทันสมัยที่ใช้ในการผลิตเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องรักษาความสมดุลของประเด็นดังกล่าวด้วยการดึงเทคโนโลยี – นวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในประเทศมาต่อยอดหรือพัฒนาให้ตรงบริบทกับภาคอุตสาหกรรม และสนับสนุนให้เครื่องมืออันทันสมัยเหล่านี้เติบโตได้ควบคู่กัน ทั้งนี้ เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของ ดร.ณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในมิติที่ 3 การตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม สู่อุตสาหกรรมสีเขียว เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) ซึ่งจะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้ทั้งชุมชน สังคม และอุตสาหกรรมเติบโตไปด้วยกัน โดยเฉพาะการสร้างโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG

 

อย่างไรก็ตาม ดีพร้อม จึงได้สานต่อโครงการ DIPROM x DELTA ANGEL FUND ต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 ด้วยกระบวนการ Acceleration Program หรือการบ่มเพาะสตาร์ทอัพที่กำลังพัฒนาผลิตภัณฑ์ - บริการในกลุ่ม S-curve ร่วมกับ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ของไทย ร่วมกันเตรียมความพร้อมทางธุรกิจ การจัดแฮกกาธอน (Hackathon) เพื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์พัฒนานวัตกรรมหรือเทคโนโลยีในระยะเวลาจำกัด รวมทั้ง การสร้างโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนต่อยอดธุรกิจ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ รวมทั้งส่งต่อนวัตกรรมใหม่ๆ ไปยังภาคอุตสาหกรรมที่ต้องการ ซึ่งครอบคลุมทั้งกลุ่มการแพทย์ครบวงจร การผลิตแห่งอนาคต (Industry Tech) อุตสาหกรรมการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีบริการ อุตสาหกรรมดิจิทัล เทคโนโลยีการเงิน อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เทคโนโลยีการท่องเที่ยว การบินและโลจิสติกส์ อสังหาริมทรัพย์และเทคโนโลยีเมือง และอุตสาหกรรมกลุ่มธุรกิจภาครัฐและการศึกษา

 

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

 

3. หลายปัจจัยดันศก.ในประเทศฟื้น ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯก.พ.พุ่งทุบสถิติ 47 เดือน (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2566)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 อยู่ที่ระดับ 96.2 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 93.9 ในเดือนมกราคม สูงสุดในรอบ 47 เดือน นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2562 โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกองค์ประกอบ ทั้งดัชนีฯ คำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการผลิต ตามการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศการบริโภคและภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัวชัดเจน และอานิสงส์การเปิดประเทศของจีน ขณะเดียวกันการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐผ่านโครงการต่างๆ ตลอดจนการเร่งการใช้จ่ายภาครัฐ ช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในประเทศ ขณะที่ต้นทุนประกอบการประเภทราคาวัตถุดิบปรับตัวลดลงจากเดือนก่อน สำหรับปัจจัยกดดันความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการในเดือนนี้มาจากอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่หดตัวเศรษฐกิจโลกเข้าสู่สภาวะถดถอย ขณะที่สถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครนยังยืดเยื้อปัญหาเงินเฟ้อสูงในประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่อย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป รวมทั้งความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน และผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ราคาน้ำมันและค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของภาคเอกชน

อย่างไรก็ตาม สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าคาดจะปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 103.6 เนื่องจาก ผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจไทยมีทิศทางดีขึ้น โดยมีแรงผลักดันจากภาคการท่องเที่ยว การบริโภคในประเทศ และการลงทุน รวมถึง การจัดการเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม ซึ่งคาดว่า จะมีเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคของจีนจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวของไทย ทั้งนี้ เอกชนได้เสนอให้ภาครัฐเร่งการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนงานเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจหยุดชะงักในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล และให้บูรณาการความร่วมมือกับภาคเอกชนและ ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 รวมทั้งให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไข

 

ข่าวต่างประเทศ

A close-up of a flag

Description automatically generated with medium confidence

 

4. 'มูดีส์' ปรับลดความน่าเชื่อถือระบบธนาคารสหรัฐเป็น 'เชิงลบ' เตรียมทบทวนเครดิตอีก 6 แบงก์ดัง (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 16 มีนาคม 2566)

'มูดีส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส' หรือ 'มูดีส์' สถาบันการจัดอันดับเครดิตระดับโลก เปิดเผยว่า ได้มีการปรับลดความน่าเชื่อถือของระบบธนาคารสหรัฐฯ จากมีเสถียรภาพเป็น 'เชิงลบ' และเตรียมพิจารณาทบทวนเพื่อปรับลดความน่าเชื่อถือของธนาคารสหรัฐฯ 6 แห่ง หลังการล่มสลายของธนาคาร ซิลิคอน วอลเลย์ แบงก์ (SVB) เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งธนาคารทั้งหมดประกอบด้วย เฟิสต์ รีพับลิก แบงก์, ไซออนส์, เวสเทิร์น อลิอันซ์, โคเมริกา, ยูเอ็มบี ไฟแนนเชียล และทรัสต์ ไฟแนนเชียล โดยก่อนหน้านี้ 'มูดีส์' ประกาศ ปรับลดความน่าเชื่อถือของธนาคาร ซิกเนเจอร์ แบงก์ สู่ระดับ 'ขยะ' และถอนการจัดอันดับอื่นๆ ทั้งหมดด้วย หลังทางการสหรัฐฯ สั่งปิดธนาคารแห่งนี้เมื่อวันอาทิตย์ นอกจากนี้ 'มูดีส์' เตือนด้วยว่า อาจมีธนาคารหลายแห่งในสหรัฐฯประสบปัญหาตามมา โดยเฉพาะธนาคารที่มีเงินฝากที่ไม่มีประกันจำนวนมาก และพันธบัตรระยะยาวที่มีมูลค่าลดลง นอกจากนี้ภาคธนาคารจะเผชิญแรงกดดันมากยิ่งขึ้นเมื่อธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟดจะยังคงปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเพื่อต่อสู้กับเงินเฟ้อ

 

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์ มองว่า ความผันผวนในระบบการเงินที่เกิดจากธนาคารล้ม อาจทำให้เฟดชะลอหรือระงับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุม

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)