ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนมีนาคม 2566

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a desk

Description automatically generated

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. พลาสติก-โฟมแชมป์ไฟไหม้ (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 20 มีนาคม 2566)

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ขอให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานทุกประเภทกว่า 70,000 โรงงาน โดยเฉพาะใน 8 กลุ่มอุตสาหกรรม ที่มีสถิติเกิดเหตุเพลิงไหม้สูงในปีที่ผ่านมา ระมัดระวัง ตรวจสอบ ตรวจตราอุปกรณ์เครื่องจักรให้พร้อมใช้งานได้อย่างปลอดภัย โดยให้เตรียมมาตรการรองรับการเกิดอัคคีภัย จัดทำข้อปฏิบัติในการป้องกันอัคคีภัยในโรงงานช่วงฤดูแล้ง และแบบตรวจสอบและประเมินตนเองด้านอัคคีภัย รวมถึงรณรงค์การป้องกันอัคคีภัยในช่วงฤดูร้อน เนื่องจากช่วงฤดูร้อนเป็นช่วงที่อากาศแห้ง ทำให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย ทั้งนี้ ทางด้านนายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ข้อมูลสถิติอุบัติเหตุปี 2565 มีอุบัติเหตุในโรงงานใน 8 กลุ่มอุตสาหกรรมกว่า 76% เป็นการเกิดเพลิงไหม้ 81 ครั้ง มากที่สุดในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2565 และเกิดมากสุดในอุตสาหกรรมพลาสติก โฟม กระดาษ ยาง 26% อุตสาหกรรมสิ่งทอและเส้นใย 14% อุตสาหกรรมโกดังและคลังสินค้า 14% อุตสาหกรรมอาหาร 8% อุตสาหกรรมกากหรือขยะ 6% อุตสาหกรรมแปรรูปไม้ 6% อุตสาหกรรมสี ไวไฟ 4% และอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี สารเคมี 3%

 

อย่างไรก็ตาม ได้ขอความร่วมมือ ให้โรงงานจัดเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ตรวจสอบโรงงานตามแบบเซลเช็กลิสต์ และปฏิบัติตามข้อปฏิบัติในการป้องกันอัคคีภัยในโรงงานช่วงฤดูแล้ง โดยตรวจสอบ บำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า และสายไฟฟ้า ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งานอย่างปลอดภัยเป็นประจำ การก่อสร้าง ต่อเติม หรือซ่อมแซม อาคารหรือเครื่องจักร เป็นการปฏิบัติงานที่มีการเชื่อมตัด หรือเจียชิ้นงานหากมีการเกิดประกายไฟหรือสะเก็ดไฟ ต้องมีวัสดุหรืออุปกรณ์ทนไฟเพื่อควบคุม

 

 

A person folding the arms

Description automatically generated with medium confidence

นายวีริศ อัมระปาล

ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

2. การนิคมฯร่วมหารือเจโทร หวังช่วยเพิ่มการลงทุนของญี่ปุ่นในไทย (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 21 มีนาคม 2566)

 

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ร่วมประชุมกับ นายคุโรดะ จุน ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น สำนักงานกรุงเทพฯ (เจโทร กรุงเทพฯ) ถึงผลการสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ของหอการค้าญี่ปุ่น-กรุงเทพ (JCCB) ซึ่งพบว่า ภูมิภาคอาเซียนยังคงเป็นแหล่งห่วงโซ่อุปทาน ที่นักลงทุนญี่ปุ่นให้ความสำคัญทั้งเรื่องความพร้อมและการพัฒนาระบบห่วงโซ่อุปทานที่สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุน โดยช่วงครึ่งปีแรก ปี 2566 ตัวเลขคาดการณ์ดัชนีแนวโน้มเศรษฐกิจ (Diffusion Index : DI) ยังเป็นไปในแดนบวกต่อเนื่องจากปี 2565 ภาคอุตสาหกรรมการผลิตมีแนวโน้มว่าจะลงทุนเพิ่มด้านโรงงานและเครื่องจักรคิดเป็น 31% และบริษัทที่คาดว่าจะลงทุนคงที่ 46% ซึ่งมีเพียง 16% ที่คาดว่าอาจจะลงทุนลดลง ขณะเดียวกันยังมีการพูดถึงการคาดการณ์กิจกรรมการลงทุนในอนาคต หลังจากประเทศไทยได้มีการปรับปรุงระบบห่วงโซ่อุปทาน โดยบริษัทส่วนใหญ่จะยังคงขนาดกิจการปัจจุบัน และขยายกิจการ รวมทั้งขยายกิจการโดยการย้ายฐานจากประเทศอื่นด้วย สำหรับสิ่งที่ทางเจโทรนำมาเป็นหัวข้อหารือในครั้งนี้ ทาง กนอ. ได้ชี้แจงไปหลายเรื่อง โดยเฉพาะปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมบางปูนั้น กนอ.ได้เดินหน้าโครงการก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมแล้ว ทั้งการสร้างกำแพงกันน้ำ ปรับปรุงรางระบายน้ำ เพิ่มพื้นที่บ่อหน่วงน้ำ และติดตั้งระบบตรวจวัดปริมาณน้ำฝนอัตโนมัติ คาดว่าการก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายในเดือนกันยายน 2567

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของปัญหาราคาพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นไปตามกลไกของตลาดโลกนั้น กนอ.พยายามที่จะหาลู่ทางพัฒนาโครงสร้างพลังงานเพื่อรองรับนิคมอุตสาหกรรมอัจฉริยะ โดย กนอ.ร่วมมือกับ PEA Encom ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ในการส่งเสริมระบบบริหารจัดการพลังงานและโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ รูปแบบการลงทุนในด้าน Smart Energy และ Smart Grid เพื่อยกระดับการพัฒนาธุรกิจ และการบริการผู้ประกอบการให้ได้ใช้ไฟฟ้าพลังงานสะอาดและราคาถูก ขณะที่ปัญหาราคาค่าขนส่งโลจิสติกส์ ค่าแรง และการขาดแคลนแรงงานนั้น กนอ.จะประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางแก้ไขให้ตรงจุด ทั้งนี้ เรื่องไหนที่ กนอ.สามารถดำเนินการเองได้ จะนำข้อคิดเห็นในการประชุมมาปรับปรุงและพัฒนา เพื่อให้นิคมอุตสาหกรรมเป็นฐานของการลงทุนที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีการหารือถึงการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ซึ่งทั้ง กนอ.และ เจโทรมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน โดยการเปลี่ยนหรือปรับปรุงอุปกรณ์เครื่องจักรให้เป็นแบบประหยัดพลังงาน และการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ เช่น การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ การส่งเสริมการกำจัดและลดปริมาณกากอุตสาหกรรมอย่างถูกวิธี และการรีไซเคิลขยะที่นำกลับมาใช้ใหม่ได้

 

A person in a suit

Description automatically generated with low confidence

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์

รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

 

3. อุตสาหกรรมรถยนต์ฟื้นตัว ยอด 'ผลิต-ขาย' เพิ่มหลังปัญหาชิพขาดคลี่คลาย (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 24 มีนาคม 2566)

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีทั้งสิ้น165,612 คัน เพิ่มขึ้น 6.39% จากช่วงเดียวกันปี 2565 เพราะได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์เพิ่มขึ้น จึงผลิตเพื่อส่งออกเพิ่มขึ้น 16.17% และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศเพิ่มขึ้น 6.39% และเพิ่มขึ้น 2.02% จากเดือนมกราคม ปี 2566 โดยจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ 2 เดือนแรกของปีนี้ (มกราคม - กุมภาพันธ์ 2566) มีจำนวนทั้งสิ้น 327,939 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้น 6.68% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 95,612 คัน เท่ากับ 57.73% ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้น 16.17% จากเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ทำให้ 2 เดือนแรกของปีนี้ ผลิตเพื่อส่งออกได้ 187,144 คัน เท่ากับ 57.07% ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้น 11.73% จากปี 2565 ขณะที่การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ผลิตได้ 70,000 คัน เท่ากับ 42.27% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลง 4.58% จากเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ทำให้ 2 เดือนแรกของปีนี้ผลิตได้ 140,795 คัน เท่ากับ 42.93% ของยอดการผลิตทั้งหมด เพิ่มขึ้น 0.64% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 71,551 คัน เพิ่มขึ้น 9.11% จากเดือนมกราคม 2566 แต่ลดลง 3.94% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน เนื่องจากการผลิตรถกระบะ เพื่อการขนส่งลดลงถึง 54.13% เพราะขาดชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ ส่งผลให้ยอดขายรถกระบะลดลง 23.5% ทำให้ 2 เดือนแรกของปีนี้มียอดขาย 137,130 คัน ลดลง 4.73% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปเดือนกุมภาพันธ์ 2566 ส่งออกได้ 88,525 คัน เพิ่มขึ้น 2% จากเดือนมกราคม 2566 และเพิ่มขึ้น 11.42% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เพราะได้รับชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์มากขึ้นจึงผลิตส่งออกรถยนต์นั่งและรถกระบะเพิ่มขึ้น 50.04% และ 7.44% ตามลำดับ ทำให้ส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย ออสเตรเลียและโอเชียเนีย ตะวันออกกลาง อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ โดยใน 2 เดือนแรกของปีนี้สามารถส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 175,311 คัน เพิ่มขึ้น 17.43% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

อย่างไรก็ตาม สำหรับสถานการณ์การส่งออกหลังได้รับชิพเพิ่มและสถานการณ์ชิพโลกเริ่มคลี่คลาย หลังจากการเปิดประเทศทำให้การทำงานที่บ้านน้อยลง และความต้องการโน้ตบุ๊ค มือถือ ฯลฯ ลดลงตามจึงทำให้ชิพกลับมาใช้   ในด้านยานยนต์มากขึ้น แต่ปัจจัยในการส่งออกที่ต้องจับตา คือ การขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่จะกระทบต่อการถดถอยของเศรษฐกิจโลก รวมถึงการเข้มงวดของสถาบันการเงินในไทยเพื่อการปล่อยสินเชื่อที่จะกระทบต่อแรงซื้อได้ นอกจากนี้ ยังคงต้องติดตามปัญหาเศรษฐกิจโลกหากไม่ไม่ขยายวงกว้าง ก็คาดว่าการผลิตรถยนต์ของไทยจะกลับไปสู่ระดับ 2 ล้านคันได้ในปี 2567 โดยในปีนี้ยังมั่นใจว่าเป้าการผลิตรถยนต์อยู่ที่ 1.95 ล้านคัน เพิ่มขึ้น 3.53% จากปีก่อน ซึ่งแบ่งเป็นยอดผลิตเพื่อส่งออก 1.05 ล้านคัน และยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 9 แสนคัน

 

ข่าวต่างประเทศ

A close-up of a flag

Description automatically generated with medium confidence

 

4. แบงก์ชาติสหรัฐขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ท่ามกลางวิกฤติธนาคาร (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 23 มีนาคม 2566)

ธนาคารกลางสหรัฐ เปิดเผยว่า ได้มีการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อในประเทศ แม้ยังคงมีความกังวลว่า อาจยิ่งเพิ่มความปั่นป่วนให้กับภาคการธนาคารอีก โดยสำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 ว่านายเจอโรม พาวเวลล์ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) แถลงว่า คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน ( เอฟโอเอ็มซี ) มีมติเป็นเอกฉันท์ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.25% สู่ระดับ 4.50%- 4.75% ทั้งนี้ นับเป็นครั้งที่ 9 ตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2565 ที่เฟดปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อ และเกิดขึ้นหลังธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีก 0.5% สู่ระดับ 3.5% เพื่อต่อสู้กับอัตราเงินเฟ้อในภูมิภาค ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 8.5%

 

 

อย่างไรก็ตาม การปรับขึ้นอัตราดอกกเบี้ยของเฟดเกิดขึ้นหลังหน่วยงานกำกับดูแลด้านนโยบายการเงินของสหรัฐสั่งปิดธนาคารอย่างน้อย 2 แห่งในเดือนนี้ คือ ซิลิคอน วัลเลย์ (เอสวีบี) และซิกเนเจอร์ แบงก์ (เอสบี) ขณะที่กลุ่มสถาบันการเงินขนาดใหญ่อันดับต้นของประเทศต้องระดมอัดฉีดสภาพคล่องในรูปแบบเงินฝากเพื่อช่วยเหลือกิจการของ เฟิสต์ รีพับลิก แบงก์ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินระดับภูมิภาค

 

มายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)