ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม 2566

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a desk writing on papers

Description automatically generated with medium confidence

นายณัฐพล รังสิตพล

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. สั่งเข้มมาตรฐาน 'ยาริส เอทีฟ' (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 11 พฤษภาคม 2566)

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังนายอากิโอะ โตโยดะ ประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น เข้าพบเพื่อชี้แจงกรณีรถยนต์ ยาริส เอทีฟ พบรอยบากบริเวณด้านข้างแผงประตูรถยนต์ฝั่งคนขับ ซึ่งเกิดขึ้นก่อนนำรถไปทดสอบตามมาตรฐานการชนด้านข้าง หรือ UN R95 ว่า จากการหารือร่วมกันได้รับทราบถึงความเสียใจของโตโยต้า ที่ทำให้ผู้บริโภคคนไทยเกิดความไม่มั่นใจในมาตรฐานความปลอดภัยในรถยนต์ยาริส เอทีฟ ทั้งนี้ ต้องขอชื่นชมโตโยต้าที่รีบแจ้งให้ผู้บริโภคคนไทยทราบในทันที รวมทั้งส่งรถยนต์ที่ผลิตและจำหน่ายจริงในประเทศไปทดสอบยืนยันที่ประเทศญี่ปุ่นอีกครั้งเพื่อความมั่นใจผู้ใช้รถ โดยปัจจุบัน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) อยู่ระหว่างออกประกาศกำหนดให้คุณสมบัติในการป้องกันผู้โดยสารกรณีที่เกิดจากอุบัติเหตุการชนด้านข้าง หรือ UN R95 และคุณสมบัติในการป้องกันผู้โดยสารกรณีที่เกิดจากอุบัติเหตุการชนด้านหน้า หรือ UN R94 ให้เป็นมาตรฐานบังคับสำหรับรถยนต์นั่งทุกประเภท รวมทั้งอยู่ระหว่างการจัดซื้ออุปกรณ์และเครื่องมือทดสอบมาตรฐานด้านหน้าและด้านข้าง เพื่อให้บริการทดสอบที่ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ ณ อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ ได้สั่งการให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม หรือ สศอ. และ สมอ. ไปตรวจสอบชิ้นส่วนแผงด้านข้างประตูรถยนต์ฝั่งคนขับ และชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง ณ โรงงานผลิตรถยนต์โตโยต้า ที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมเกตเวย์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ภายในสัปดาห์นี้ เพื่อให้ผู้บริโภคชาวไทยมั่นใจได้ว่า รถยนต์ ยาริส เอทีฟ ที่จำหน่ายในประเทศไทย มีมาตรฐานด้านความปลอดภัย รวมทั้งมีการใช้ชิ้นส่วนหรือใช้วัสดุสำหรับผลิตชิ้นส่วนเช่นเดียวกับรถยนต์ที่ออกแบบไว้ทุกประการ หลังจากนั้น บริษัท โตโยต้าฯ จะกลับมาผลิตรถยนต์รุ่นดังกล่าวเพื่อจำหน่ายและส่งมอบให้กับผู้บริโภคชาวไทยได้ต่อไป

 

A person standing at a podium with a microphone

Description automatically generated with medium confidence

นายจุลพงษ์ ทวีศรี

อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)

 

2. กรอ.เดินเครื่อง GIS ระยะที่ 2 เพิ่มดึงศักยภาพพื้นที่ 8 เขตประกอบการ (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 12 พฤษภาคม 2566)

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า กรมฯ ได้จัดทำระบบภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS Application) เพื่อจัดเก็บฐานข้อมูลของพื้นที่อุตสาหกรรมในเขตประกอบการเป้าหมาย สร้างแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมให้เชื่อมโยงในการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ โครงข่ายคมนาคม ขนส่งและโครงสร้างพื้นฐานที่มีผลต่อภาคการผลิต การค้า การลงทุน ส่งเสริมและพัฒนาในพื้นที่เขตประกอบการอย่างเหมาะสมด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน พร้อมผลักดันโครงการฯ ระยะที่ 2 เพื่อประโยชน์ในการจัดการพื้นที่อุตสาหกรรมใน 8 เขตประกอบการเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นโดยเริ่มดำเนินการเมื่อต้นปี 2566 ทั้งนี้ กรอ.จัดทำ GIS Applicationระยะที่ 1 เมื่อปี 2564 ในพื้นที่ 5 จังหวัด 8 เขตประกอบการ ได้แก่ 1. เขตประกอบการอุตสาหกรรมชัยนันท์-บางพลีพาร์คแลนด์ จังหวัดสมุทรปราการ 2. เขตประกอบการอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 3. เขตประกอบการอุตสาหกรรมปราจีนอินดัสเตรียลปาร์ค จังหวัดปราจีนบุรี 4. เขตประกอบการอุตสาหกรรมอีสเทิร์นอินดัสเตรียลพาร์ค จังหวัดระยอง 5. เขตประกอบการอุตสาหกรรม จี.เค.แลนด์ จังหวัดระยอง 6. เขตประกอบการอุตสาหกรรมบริษัท ไออาร์พีซี จังหวัดระยอง 7. เขตประกอบการอุตสาหกรรมนวนคร จังหวัดนครราชสีมา และ 8. เขตประกอบการอุตสาหกรรมเครือซีเมนต์ไทย จังหวัดสระบุรี

อย่างไรก็ตาม ในระยะที่ 2 ประกอบด้วยพื้นที่ 5 จังหวัด 8 เขตประกอบการ ได้แก่ 1. เขตประกอบการอุตสาหกรรมสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดระยอง 2. เขตประกอบการอุตสาหกรรมเครือซีเมนต์ไทย จังหวัดระยอง 3. เขตประกอบการอุตสาหกรรมสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 4. เขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์วังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 5. เขตประกอบการอุตสาหกรรมไทยซัมมิท จังหวัดสมุทรปราการ 6. เขตประกอบการอุตสาหกรรมแอล พีเอ็น จังหวัดสมุทรปราการ 7. เขตประกอบการอุตสาหกรรมซันโย จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 8. เขตประกอบการอุตสาหกรรมทีพีไอโพลีน จังหวัดสระบุรี มาร่วมให้ข้อคิดเห็น พร้อมเสนอแนะแนวทางเพื่อนำไปประกอบการศึกษาพัฒนาพื้นที่เขตประกอบการอุตสาหกรรม

 

A person in a suit with his arms crossed

Description automatically generated with medium confidence

นายวีริศ อัมระปาล

ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

 

3. ทัพไทยแลนด์ไม่อยู่เฉยอัดโรดโชว์ (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 9 พฤษภาคม 2566)

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์การลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมไทยทั่วประเทศถือว่าคึกคักอย่างมาก ล่าสุด กนอ.มียอดขาย/เช่าที่ดินช่วงครึ่งปีงบประมาณ 2566 (1 ตุลาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566) เบื้องต้นสูงถึง 2,975 ไร่ สูงกว่ายอดรวมตลอดปี 2565 ซึ่งอยู่ที่ 2,016 ไร่ และสูงกว่ายอดรวมตลอดปี 2564 ซึ่งอยู่ที่ 1,222 ไร่ ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดโควิด-19 การลงทุนชะลอตัวตามเศรษฐกิจโลก นักลงทุนต่างชาติไม่สามารถเดินทางเข้าไทยเพื่อศึกษา หรือตัดสินใจลงทุนได้ ดังนั้น จะเห็นว่าการลงทุนช่วง 3 ปีนี้เติบโตขึ้นอย่างมาก สะท้อนความต้องการลงทุนของนักลงทุนทั่วโลก โดยเฉพาะนักลงทุนรายสำคัญที่ต้องการกระจายฐานการผลิตมายังภูมิภาคเอเชีย เพื่อลดความเสี่ยงหลังเกิดปัญหาโรคระบาด ตลอดจนสงคราม และปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจโลกในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ แม้ตัวเลขการลงทุนจากยอดขาย/เช่าของ กนอ.จะถือเป็นสัญญาณดี แต่ กนอ.จะยังคงเดินหน้าชักจูงการลงทุนทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะในช่วงนี้ ที่กำลังอยู่ในช่วงการเลือกตั้ง เพื่อให้ได้รัฐบาลใหม่ แต่ กนอ.ไม่มีเกียร์ว่าง ยังทำงานเต็มที่ โดยเน้นกลยุทธ์การทำงานร่วมกับหน่วยงานด้านการลงทุนเช่นเดียวกัน คือ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ไปโรดโชว์แบบทีมประเทศไทย หรือทีมไทยแลนด์ เพราะการไปแบบทีมนี้ทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น และยังเป็นโอกาสที่ไทยจะได้เสนอแนวทาง นโยบาย สิทธิประโยชน์การลงทุนที่ครอบคลุมตอบคำถามนักลงทุนได้ ช่วยให้นักลงทุนตัดสินใจได้ง่ายขึ้น เพิ่มความเชื่อมั่นลงทุนประเทศไทย

 

อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆ นี้ กนอ.ได้ร่วมกับบีโอไอในนามทีมประเทศไทย ดินทางไปโรดโชว์นครเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน ผลตอบรับเป็นไปด้วยดี และช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2566 จะเดินทางไปโรดโชว์ที่ประเทศเกาหลี เพื่อพบนักลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยเช่นกัน เวลานี้การโรดโชว์เน้นเอเชียเป็นหลัก เพราะนักลงทุนรายใหญ่สนใจย้ายฐานผลิตเข้าไทยเช่นกัน อย่างญี่ปุ่น ไต้หวัน ก็สนใจย้ายมาไทย ดังนั้น เราจะเร่งสร้างความเชื่อมั่นและดึงลงทุนให้เร็วและมากที่สุด ซึ่งมั่นใจว่าแนวโน้มการลงทุนไทยยังสดใสไปอีก 1-2 ปีจากนี้ และช่วงปลายปีประเทศไทยจะได้รัฐบาลใหม่ การโรดโชว์จะเข้มข้นขึ้น มั่นใจว่าจะเพิ่มน้ำหนักความเชื่อมั่นลงทุนไทยมากขึ้นแน่นอน

 

ข่าวต่างประเทศ

A red flag with yellow stars

Description automatically generated with medium confidence

 

4. ตลาด SUV/EV จีนแข่งกันหนักหน่วง (ที่มา: ข่าวหุ้น, ประจำวันที่ 9 พฤษภาคม 2566)

สำนักข่าวรอยเตอร์ เปิดเผยว่า จีนเริ่มทำสงครามราคาในตลาดยานยนต์ไฟฟ้า และสมรภูมิรบกำลังเปลี่ยนมาสู่ยานยนต์ไฟฟ้าแบบ SUV หรือรถสปอร์ตอเนกประสงค์ ซึ่งเป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของตลาด โดยปัจจุบันเทสลาและ BYD ครองส่วนแบ่งสูงที่สุดในตลาด ทั้งนี้ นักวิเคราะห์และผู้บริหารกล่าวว่า ตลาดรถ SUV ที่เป็นยานยนต์ไฟฟ้าเป็นตลาดที่มีความหนาแน่นด้วยจำนวนรุ่นมากกว่า 90 รุ่น และยิ่งไปกว่านั้น มีอย่างน้อย 20 รุ่นจากทั้งแบรนด์จีนและแบรนด์ต่างประเทศเปิดตัวในเดือนเมษายน 2566 ที่ผ่านมา และกดราคารวมถึงมาร์จิ้นลงมา ทั้งส่วนที่ขายภายในประเทศและส่วนที่ขับเคลื่อนตลาดส่งออก โดยผู้ผลิต EV ในจีน ได้หั่นราคายานยนต์ไฟฟ้า SUV ลงตามเทสลาที่ลดราคาลงอย่างกล้าหาญ ซึ่งยอดขาย EV กำลังกินส่วนแบ่งยอดขายของรถยนต์ที่มีการสันดาปภายใน เนื่องจากช่องว่างราคาระหว่าง 2 เทคโนโลยีดังกล่าวแคบลงมากขึ้น แนวโน้มสงครามราคาดังกล่าวนี้กำลังขยายไปตลาดต่างประเทศด้วยยอดส่งออกรถยนต์ไฟฟ้า SUV ของจีนที่เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนาย Tu Le ผู้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาของจีนชื่อ ซิโน ออโต้ อินไซท์ กล่าวว่า จะได้เห็นยอดส่งออกของ EV ที่เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากตลาดที่แข่งขันรุนแรงอย่างมากในจีน แท้จริงแล้วจะเป็นการเร่งให้ตลาดส่งออกเติบโตขึ้น ตลาดรถยนต์สำหรับ SUV ได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่องในจีนตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และปัจจุบันคิดเป็นเกือบ 40% ของรถยนต์ทั้งหมดที่ขายได้ ด้วยจำนวนรุ่นของรถ SUV ที่มากถึง 400 รุ่น ในทุกประเภทของเครื่องยนต์ ทั้งนี้ ความนิยมของรถยนต์ไฟฟ้า SUV เติบโตแบบฉับพลันนับตั้งแต่เทสลาส่งมอบรถรุ่นโมเดล Y ที่ผลิตภายในประเทศเมื่อ 2 ปีที่แล้วในจีน ทำให้กลายเป็นส่วนตลาดที่เติบโตเร็วที่สุดในตลาดอุตสาหกรรมรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของโลก

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)