ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤศจิกายน 2566

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. ปั้นกรมอุตสาหกรรมฮาลาล (ที่มา: เดลินวส์, ประจำวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566)

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับกมธ.อุตสาหกรรม สภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา ว่า ได้นำเสนอแผนการขับเคลื่อนนโยบายอุตสาหกรรมเศรษฐกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน การปรับภารกิจเข้าสู่ดิจิทัลอย่างเป็นระบบ การบูรณาการการกำกับดูแลโดยใช้กลไกทางกฎหมาย และกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรม รวมถึงแผนการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยกระทรวงอุตฯพร้อมให้ความร่วมมือ และรับฟังเสียงสะท้อนจากภาคประชาชนผ่านกมธ. เพื่อยกระดับการขับเคลื่อนนโยบายอย่างเต็มศักยภาพ ทั้งนี้ ในที่ประชุมได้หารือในหลายเรื่องทั้งการส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเดิม ให้สามารถปรับไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าในรายที่มีความพร้อมการนำเสนอแนวโน้มทิศทางอุตสาหกรรม เพื่อเป็นแนวทางการทำธุรกิจให้กับผู้ประกอบการที่ยังไม่พร้อมปรับแผนการผลิต การสนับสนุนแหล่งเงินทุนสำหรับการเปลี่ยนผ่าน การส่งเสริมการทำเหมืองโพแตซ ให้สามารถผลิตปุ๋ยได้เองภายในประเทศ ซึ่งช่วยลดรายจ่ายจากการนำเข้าปุ๋ยปีละกว่า 20,000 ล้านบาท โดย กมธ.เน้นย้ำให้ผู้ประกอบการเหมืองแร่ ประกอบธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ และบริหารความสัมพันธ์ให้สามารถอยู่ร่วมกับชุมชนได้อย่างเป็นสุข

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือเกี่ยวกับมาตรการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งมาตรการควบคุมดูแลกากอุตสาหกรรม และการขับเคลื่อนนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาลของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และขอให้พิจารณาเกณฑ์การรับรองมาตรฐานให้เหมาะสม และมีความรวดเร็วเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งอยู่ระหว่างการหารือกับคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ในการยกระดับหน่วยงานดำเนินการขึ้นเป็นกรมอุตสาหกรรมฮาลาล

 

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

 

2. ชูนวัตกรรมพัฒนาอุตฯ ไทย รับเทรนด์ดิจิทัล ทรานฟอร์เมชัน (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 6 พฤศจิกายน 2566)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท. ได้นำคณะสื่อมวลชนเข้าเยี่ยมชมสถาบันนวัตกรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่พระนครศรีอยุธยา เพื่อศึกษาและเรียนรู้เทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งเศรษฐกิจไทยในปัจจุบันกำลังเผชิญกับความท้าทายในหลายปัจจัย อาทิ การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของเทคโนโลยี ภูมิรัฐศาสตร์ที่เปลี่ยนไป รวมถึงดุลอำนาจของโลกที่เปลี่ยนไป โดยสิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยให้ต้องเร่งปรับตัว ซึ่งภาคอุตสาหกรรมได้รับผลกระทบจากเรื่องของการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน โดยเฉพาะเทรนด์และดิจิทัลของโลกหรือดิจิทัล ทรานฟอร์เมชัน ส่งผลให้หลายอุตสาหกรรมต้องปรับเปลี่ยนและปรับตัว รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคก็ต้องเปลี่ยนไปไม่ว่าจะเป็นเรื่องการซื้อขายและการใช้บริการ โดย ส.อ.ท.ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนผ่านทางเทคโนโลยีดิจิทัล เพราะเป็นเรื่องความอยู่รอดของแต่ละอุตสาหกรรมดังนั้นทุกอุตสาหกรรมต้องเร่งปรับตัว ขณะนี้ ส.อ.ท.มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมผ่านการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Transformation 4.0) การสร้างแพลตฟอร์มทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อผลักดันนวัตกรรมสู่เชิงพาณิชย์การพัฒนาศักยภาพบุคลากร เพื่อยกระดับความรู้ ทักษะและความเชี่ยวชาญของ SMEs และ Startup และการร่วมจัดตั้งกองทุนนวัตกรรม เพื่อให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในการพัฒนา ต่อยอดและขยายผลสู่เชิงพาณิชย์

อย่างไรก็ตาม ส.อ.ท.มุ่งยกระดับอุตสาหกรรมด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และดิจิทัล ผ่านการสนับสนุนการเปลี่ยนผ่าน Digital Transformation 4.0 การขับเคลื่อนการสร้างผู้ประกอบการฐานนวัตกรรม (IDE) รายอุตสาหกรรม /ภูมิภาค รวมทั้งการออกมาตรการส่งเสริมภาคเอกชนให้เกิดการซื้อสินค้าในบัญชีนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมการส่งออก การค้า และสนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curves โดยเร่งสร้างกลไกและแผนในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม S-Curves เร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) เพิ่มสิทธิประโยชน์สินค้า Made in Thailand (MiT) และปกป้องสินค้าไทย โดยการควบคุมสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ

 

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

 

3. 'ซาอุฯ' ลงสนามลุยตลาดรถยนต์อีวี 'บีโอไอ' ชวนใช้ไทยฐานผลิตอาเซียน (ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ, ประจำวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566)

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด   อีวี) เปิดเผยว่า ประเทศไทยได้มีการหารือกับประเทศซาอุดีอาระเบียถึงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการลงทุนในหลายด้าน รวมทั้งความร่วมมือในด้านการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) หลังจากที่ซาอุดีอาระเบียมีนโยบายที่มุ่งมั่นในการส่งเสริมการผลิตรถอีวีในประเทศโดยตั้งเป้าจะมีแบรนด์รถอีวีที่สามารถผลิตรถอีวีภายในประเทศให้ได้โดยเร็ว ทั้งนี้ ที่ผ่านมากองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติของประเทศซาอุดีอาระเบีย (PIF) ได้มีการประกาศการลงทุนใน 2 บริษัทรถอีวีที่สำคัญ ได้แก่ “Ceer” และ “Lucid” โดย Ceer นั้น PIF ได้เข้าร่วมทุนกับบริษัท ฟ็อกซ์คอนน์ (Foxconn) ของไต้หวันเพื่อพัฒนา และผลิตแบรนด์รถยนต์ไฟฟ้าประจำประเทศ รวมทั้งได้ร่วมมือกับบริษัท BMW ในการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีเกี่ยวกับรถยนต์ไฟฟ้า และอื่นๆ มาปรับใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์นี้ โดยมีการตั้งเป้าว่าภายในปี 2025 จะสามารถผลิตและส่งมอบรถอีวีให้กับลูกค้าได้ ขณะที่ Lucid นั้น PIF ของซาอุดีอาระเบียได้เข้าซื้อหุ้นกว่า 60% ในบริษัท Lucid Motor ของสหรัฐ เพื่อก่อตั้งโรงงานผลิตรถอีวี ใน ซาอุดีอาระเบีย ได้การประกาศเปิดโรงงานแห่งแรกนอกประเทศในเมืองเขตเศรษฐกิจพิเศษ King Abdullah (King Abdullah Economic City) เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ในการหารือกันระหว่างสองประเทศในเรื่องความร่วมมือเรื่องของอุตสาหกรรมยานยนต์และอีวีนั้นประเทศไทยได้เชิญชวนให้ซาอุดีอาระเบียขยายการลงทุนรถอีวีของแบรนด์ที่มีการลงทุนมายังประเทศไทยโดยเสนอให้ใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกรถอีวีไปยังภูมิภาคอาเซียนเหมือนกับการลงทุนของหลายค่ายรถอีวีในไทยก่อนหน้านี้ ขณะที่ซาอุดีอาระเบียก็เชิญชวนให้ผู้ประกอบการไทยไปเปิดตลาดชิ้นส่วนรถยนต์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในตลาดของซาอุฯ ด้วย

 

ข่าวต่างประเทศ

A flag with a white circle in the center

Description automatically generated

4. อินเดียเล็งผ่อนภาษีอีวีนำเข้า (ที่มา: ข่าวหุ้น, ประจำวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566)

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก เปิดเผยรายงานโดยอ้างอิงแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับเรื่องดังกล่าว ว่า อินเดียกำลังพิจารณาให้เก็บภาษีรถยนต์ไฟฟ้าที่มีการนำเข้าจากสหราชอาณาจักรราว 2,500 คันต่อปี ซึ่งมีราคาสูงกว่า 80,000 ดอลลาร์ โดยต้องการให้เก็บภาษีนำเข้าในอัตรา 30% จากปัจจุบันอินเดียที่เรียกเก็บภาษีระหว่าง 70-100% สำหรับรถยนต์ที่นำเข้าที่สร้าง และประกอบเสร็จพร้อมขับ โดยอัตราการเรียกเก็บนั้นขึ้นอยู่กับมูลค่าของรถยนต์ที่นำเข้ามา ทั้งนี้ อินเดียเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก โดยความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นในกลุ่มผู้ซื้อชนชั้นกลางและผู้มีฐานะร่ำรวย อย่างไรก็ตาม การนำรถยนต์ไฟฟ้ามาใช้ในประเทศชะลอตัวลงเนื่องจากราคารถยนต์ไฟฟ้าที่สูง การขาดแคลนทางเลือก และการขาดสถานีชาร์จ ทั้งนี้การเปิดตลาดรถยนต์ไฟฟ้าจะช่วยส่งเสริมการขนส่งที่สะอาดขึ้น ซึ่งอินเดียนั้นถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีอากาศเป็นพิษมากที่สุดในโลก มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าในอินเดียอยู่ที่ 49,800 คัน ในปีที่ผ่านมา ซึ่งคิดเป็นเพียง 1.3% ของรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่จำหน่ายได้ 3.8 ล้านคัน ทั้งนี้ ตลาดในอินเดียเป็นตลาดที่คำนึงถึงต้นทุนอย่างมาก โดยรถยนต์ไฟฟ้าที่ขายดีที่สุดในประเทศคือ Nexon.ev ของ Tata Motors Ltd. มีราคาต่ำกว่า 1.5 ล้านรูปี (ราว 18,000 ดอลลาร์) ในขณะที่ผู้ผลิตรถยนต์หรูสัญชาติเยอรมันอย่าง BMW AG, Mercedes-Benz Group AG และ Audi ของ Volkswagen AG ขายรถยนต์ไฟฟ้าที่มีมูลค่าสูงกว่า 80,000 ดอลลาร์ในอินเดีย

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของนายโมดีจึงมีการดำเนินการอย่างระมัดระวังในการนำเข้า EV เนื่องจากมีความต้องการที่จะสร้างอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศสำหรับยานพาหนะและชิ้นส่วนไฟฟ้า โดยในปี 2564 รัฐบาลได้ประกาศโครงการส่งเสริมมูลค่า 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในท้องถิ่น

 

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)