ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 1 ของเดือนมีนาคม 2567

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. “พิมพ์ภัทรา” ดันไทยศูนย์กลางผลิตรถสันดาป-รถอีวี หวังยานยนต์ไทยผงาดเวทีโลก (ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, ประจำวันที่ 8 มีนาคม 2567)

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “ยุทธศาสตร์ยานยนต์ไทย สู่...ท็อปเทนโลก”ในงานเสวนา "เดลินิวส์ ทอล์ก 2024" ว่า ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะรักษาการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ ทั้งรถยนต์สันดานและรถยนต์ไฟฟ้าของภูมิภาคนี้ต่อไป ซึ่งที่ผ่านมาได้เริ่มมีการวาง รากฐานการดึงดูดการลงทุน และส่งเสริมการผลิตรถยนต์อีวีมาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่แล้ว เช่น มาตรการสิทธิประโยชน์อีวี 3.0 ด้วยการลดภาษี ให้เงินอุดหนุนแก่ผู้ซื้อ และมาในรัฐบาลชุดนี้ก็มีการสานต่อเป็นนโยบายอีวี 3.5 รวมถึงได้รับส่งเสริมการลงทุนจากบีโอไอ จึงมั่นใจว่าในด้านสิทธิประโยชน์ประเทศไทยเป็นรองใครในโลกแน่ นอกจากนี้ รัฐบาลกำลังดูแลและส่งเสริมระบบนิเวศในด้านอื่นๆ เพื่อส่งเสริมผลิตยานยนต์ไฟฟ้าเพิ่มเติม ควบคู่กับการดูแลอุตสาหกรรมรถยนต์สันดาปที่เป็นฐานผลิตสำคัญของไทยควบคู่กันไปด้วย ล่าสุดได้มีการหารือกับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ถึงแนวทางการส่งเสริมและการบริหารจัดการแบตเตอรี่ภายในประเทศ เบื้องต้นจะให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จัดเตรียมพื้นที่รองรับการลงทุนเอกชน ให้เข้ามาบริหารจัดการแบตเตอรี่ทั้งการผลิตและรีไซเคิลอยู่ในเขตพื้นที่อีอีซีโดยตรงเพื่อให้มีการดูแลอย่างครบวงจร และไม่กระทบต่อชุมชน นอกจากนี้ยัง มีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนการตั้งสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าต่างๆ เพิ่มขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ใสส่วนของการดูแลรถยนต์สันดาปกำลังหาวิธีจัดการดูแลซากรถเก่าให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนยังเข้าไปส่งเสริมการปรับตัวของเอสเอ็มอีที่เป็นซัพพลายเชนรถยนต์รุ่นเก่าให้ปรับตัวไปสู่อุตสาหกรรมใหม่ ด้วยการเติมความรู้คู่ทุน รวมถึงการร่วมมือกับกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ดูการพัฒนาเรื่องแรงงานและหลักสูตรการเรียนการสอนให้อัพเดททันสมัยกับการใช้เทคโนโลยีการผลิตรถยนต์ที่เปลี่ยนไป ทั้งนี้จาก 20 ปีที่ผ่านมาอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยนับเป็นดาวเด่นเป็นฐานผลิตรถ Product champion เช่น รถกระบะ รถ ECO Car โดยในปี 65 ไทยผลิตยานยนต์รวม 1.9 ล้านคัน เป็นอันดับที่ 10 ของโลก และอันดับ 1 ของอาเซียน มีมูลค่าการส่งออกรวม 1.07 ล้านล้านบาท

 

นายจุลพงษ์ ทวีศรี

อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)

 

2. โซลาร์รูฟท็อปแปลงเป็นเงิน กรอ.เพิ่มสภาพคล่องเอสเอ็มอี (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 5 มีนาคม 2567)

 

นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า ขานรับนโยบายอุตสาหกรรมเศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืนคู่ชุมชน ของ น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่สนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด มุ่งพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยอยู่ระหว่างขั้นตอนการแก้ไขกฎหมายปลดล็อกให้การติดตั้งระบบผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ชนิดติดตั้งบนหลังคา (โซลาร์รูฟท็อป) ไม่เข้าข่ายโรงงานที่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานจากความต้องการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ปัจจุบันมีจำนวนมาก กรอ.จึงเตรียมผลักดันให้มีการแปลงเครื่องจักร เป็นทุนจากโซลาร์รูฟท็อป ช่วยเหลือธุรกิจเอสเอ็มอี โดยผู้ประกอบการนำโซลาร์รูฟท็อป เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันในการขอสินเชื่อ อีกทั้งผู้ประกอบการที่ไม่มีทุนสำหรับ ติดตั้งโซลาร์รูฟท็อป นำโครงการไปขอสินเชื่อสำหรับติดตั้งโซลาร์รูฟท็อปจากสถาบันทางการเงินได้ อาทิ ธนาคาร กรุงไทย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ในปี 2566 มีผู้ประกอบการอุตสาหกรรมนำโซลาร์รูฟท็อป มาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร 169 ราย เพิ่มขึ้นกว่า 90% จากปีก่อนหน้า และในปี 2567 นี้ คาดว่าจะมีการนำมาจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร เพิ่มขึ้นกว่า 100%

 

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

 

3. กกร.ห่วงศก.อ่อนแอส่งออกฟื้นตัวต่ำฉุดภาคการผลิต (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 7 มีนาคม 2567)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรม แห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ว่า กกร.ยังคงประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยปีนี้ที่ 2.8-3.3% การส่งออกขยายตัว 2-3% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ที่ 0.7-1.2% แต่ยังเป็นห่วงว่าเศรษฐกิจไทยยังอ่อนแอจากหลายปัจจัย โดยการส่งออกยังฟื้นตัวได้ช้า การท่องเที่ยวยังไม่กลับเข้าสู่ระดับเดิม และกำลังซื้อภายในประเทศถูกกดดันจากปัญหาหนี้ครัวเรือน แม้ภาคการส่งออกมี แนวโน้มกลับมาขยายตัวได้แต่คาดว่าทั้งปีมูลค่าการส่งออกจะเติบโตได้ในระดับต่ำ รวมทั้งความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกประเทศยังมีสูง ขณะที่อุตสาหกรรมที่พึ่งพาการส่งออกมีอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ในระดับต่ำ สำหรับการท่องเที่ยวยังฟื้นตัวได้แต่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนยังต่ำกว่าระดับก่อนโควิดถึง 50% เนื่องจากชาวจีนหันไปท่องเที่ยวในประเทศเป็นหลัก โดยคาดว่าปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศประมาณ 34-35 ล้านคน นอกจากนี้ปัญหาหนี้และกำลังซื้อภายในประเทศที่มีแนวโน้มอ่อนแอจะเป็นปัจจัยกดดันการบริโภคของครัวเรือนต่อไป ส่วนการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐมีแนวโน้มปรับดีขึ้นในไตรมาสที่ 2 จากปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ปรับเร็วขึ้น เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายได้ตั้งแต่ต้นไตรมาสที่ 2 ซึ่งจะเป็นตัวช่วยในการประคองเศรษฐกิจให้ขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่อง และจะหนุนการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในระยะข้างหน้า

อย่างไรก็ตาม สำหรับเศรษฐกิจโลกปี 2567 มีแนวโน้มเติบโตได้แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงอยู่มาก กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศหลักเดือนกุมภาพันธ์มีแนวโน้มเติบโตจากภาคบริการเป็นหลัก ซึ่งเครื่องชี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ด้านแรงงานเริ่มมีแนวโน้มแผ่วลง ส่วนจีนนั้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจยังมีจำกัด สำหรับปัญหาวิกฤตในทะเลแดง ส่งผลให้ค่าระวางเรือยังอยู่ในระดับสูง ปัจจัยเหล่านี้ถือเป็นแรงกดดันต่อการฟื้นตัวของภาคการส่งออกสินค้าไทย สำหรับมาตรการตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บาทต่อลิตร ที่จะสิ้นสุดใน วันที่ 19 มีนาคม 2567 นี้ มองว่า หากมีความเป็นไปได้อยากให้รัฐบาลต่อมาตรการดังกล่าวออกไป แต่ทั้งนี้ คงต้องขึ้นอยู่กับการพิจารณาของภาครัฐ เนื่องจากมาตรการดังกล่าวยอมรับเป็นการสร้างภาระ และส่งผลต่อกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงด้วย ดังนั้นต้องให้ภาครัฐพิจารณาว่าจะดำเนินการอย่างไรในเรื่องการจัดสรรงบประมาณ การจัดสรรเงิน

 

ข่าวต่างประเทศ

A flag with a red circle and blue circle

Description automatically generated

 

4. ผลผลิตภาคอุตฯ เกาหลีเพิ่ม 3 เดือนติด แม้ลงทุนอ่อนแอในเดือนม.ค. 67 (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 4 มีนาคม 2567)

สำนักงานสถิติเกาหลี เปิดเผยว่า ผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ในเดือนมกราคม 2567 แม้ว่าการผลิตเซมิคอนดักเตอร์จะลดลงอย่างเห็นได้ชัดก็ตาม นอกจากนี้ ยอดค้าปลีกก็ขยับขึ้นเป็นเดือนที่ 2 ติดต่อกัน ขณะที่การลงทุนในสิ่งอำนวยความสะดวกและการลงทุนด้านการก่อสร้างร่วงลง ท่ามกลางดีมานด์ในประเทศที่อ่อนแอ ทั้งนี้ ทางด้านสำนักข่าวยอนฮัปรายงานว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนมกราคม 2567 เพิ่มขึ้น 0.4% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนธันวาคม 2566 และ 0.3% ในเดือนพฤศจิกายน 2566 นับเป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี ที่ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 3 เดือนติดต่อกัน

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผลผลิตในภาคการผลิตและเหมืองแร่โดยรวมลดลง 1.3% โดยเกิดจากการผลิตชิปที่ลดลง 8.6% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ผลผลิตเซมิคอนดักเตอร์ลดลงเมื่อเทียบเป็นรายเดือนเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2566 ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ระบุว่าเป็นผลมาจากปัจจัยฐานสูงและปัจจัยทางฤดูกาล ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ได้เห็นการทยอยฟื้นตัวของดีมานด์ทั่วโลกตั้งแต่ช่วงปลายปีที่แล้ว หลังจากการชะลอตัวเป็นเวลาหลายเดือน

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)