ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤษภาคม 2567

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. ไทยร่วมมือซาอุฯ ส่งเสริมพัฒนาสินค้าฮาลาล (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 13 พฤษภาคม 2567)

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้ให้การต้อนรับ นายมาญิด บิน อับดุลเลาะฮ์ อัลกอเศาะบี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียและคณะ เพื่อหารือความร่วมมือและแนวทางการขับเคลื่อนการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลของทั้งสองประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีความโดดเด่นด้านอุตสาหกรรมอาหาร ซาอุดีอาระเบียมีความยินดีที่ได้ร่วมมือและดำเนินการร่วมกันในอุตสาหกรรมฮาลาล เนื่องจากซาอุดีอาระเบียเป็นศูนย์กลางของตลาดฮาลาลในภูมิภาคชาติอาหรับ อีกทั้งมีผู้บริโภคจำนวนมาก นับเป็นเรื่องสำคัญมากหากได้รับความร่วมมือเพื่อขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาลของทั้งสองประเทศให้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้เมื่อเดือนมกราคม 2567 ที่ผ่านมา ได้ไปศึกษาดูงานที่ซาอุดีอาระเบียร่วมกับอธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ โดยประเทศซาอุดีอาระเบีย ถือเป็นตลาดฮาลาลขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และไทยเองก็มีศักยภาพในการผลิตสินค้าฮาลาลที่มีคุณภาพ โดยได้มีการวางแนวทางในการส่งเสริมความร่วมมือด้านฮาลาลระหว่างสองประเทศ เพื่อผลักดันให้สินค้าฮาลาล รวมทั้งสินค้าอุปโภคและบริโภคของไทย สามารถเข้าถึงตลาดซาอุดีอาระเบียได้มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายมีเป้าหมาย ร่วมกันในการส่งเสริมสินค้าฮาลาลระหว่างไทยกับซาอุดีอาระเบีย มุ่งเน้นไปที่สินค้าอาหาร เครื่องดื่ม เวชสำอาง และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาล ขยายโอกาสทางธุรกิจสำหรับผู้ประกอบการไทย สนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทย เข้าถึงข้อมูลและช่องทางการจำหน่ายสินค้าในตลาดซาอุดีอาระเบีย ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยี ร่วมพัฒนากลยุทธ์และมาตรฐานสินค้าฮาลาล เพื่อยกระดับคุณภาพสินค้าและความสามารถในการแข่งขัน

 

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

 

2. กังวลหนักต้นทุนพุ่งดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ ร่วง (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2567)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนเมษายน 2567 อยู่ที่ระดับ 90.3 ปรับตัวลดลงจาก 92.4 ในเดือนมีนาคม 2567 โดยเป็นการปรับตัวลดลงทุกองค์ประกอบ ทั้งยอดขายโดยรวม คำสั่งซื้อโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ ทั้งนี้ความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวลดลงเป็นผลมาจากการชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศ อาทิ สินค้ายานยนต์ เฟอร์นิเจอร์ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ส่งผลให้ประชาชนระมัดระวังการใช้จ่าย ผู้ประกอบการโดยเฉพาะ SMEs มีความกังวลต่อนโยบายการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาทต่อวันเท่ากันทั่วประเทศ ซึ่งจะกระทบต่อต้นทุนการผลิต ขณะที่การสิ้นสุดมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซลของภาครัฐ ส่งผลให้ต้นทุนด้านพลังงานและค่าขนส่งปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันปัญหาภัยแล้งที่ทวีความรุนแรงขึ้น ส่งผลกระทบต่อผลผลิตสินค้าเกษตรและทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังได้รับผลกระทบจากสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศเข้ามาทุ่มตลาดในประเทศไทยและอาเซียน ด้านการส่งออกชะลอลงตามอุปสงค์ประเทศคู่ค้าที่ลดลงจากปัญหาความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก รวมถึงผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งในตะวันออกกลางรุนแรงขึ้น ทั้งนี้ สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังไม่คลี่คลาย ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานในตลาดโลก รวมถึงปัญหาความไม่สงบในประเทศเมียนมา ที่ส่งผลกระทบต่อการค้าชายแดน และจากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,268 ราย ครอบคลุม 46 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในเดือนเมษายน 2567 พบว่าปัจจัยที่ ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ เศรษฐกิจโลก 79.4% ราคาน้ำมัน 56.6 % เศรษฐกิจในประเทศ 56.4% สถานการณ์การเมืองในประเทศ 40.2% อัตราแลกเปลี่ยน

อย่างไรก็ตาม ขณะที่ดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 98.3 ปรับตัวลดลง จาก 100.8 ในเดือนมีนาคม 2567 โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากปัญหาภัยแล้งที่รุนแรง ส่งผลกระทบต่อสินค้าเกษตร และทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนน้ำในการอุปโภค-บริโภค รวมถึงในภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ขณะเดียวกันการเข้าสู่ช่วง Low Season ของภาคการท่องเที่ยวทำให้นักท่องเที่ยวต่างชาติลดลง นอกจากนี้ ปัญหาความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์จากความขัดแย้งในตะวันออกกลางรวมถึงสงครามรัสเซีย-ยูเครน กดดันเศรษฐกิจโลกและภาคการส่งออก

 

A person in a blue shirt

Description automatically generated

นายภาสกร ชัยรัตน์

อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

 

3. ไทยเดินหน้าร่วมมือญี่ปุ่นยกระดับ SME-อุตสาหกรรมเป้าหมาย (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 17 พฤษภาคม 2567)

นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือดีพร้อม (DIPROM) ได้ต้อนรับและร่วมหารือกับนายโกโตดะ มาซาซูมิ ผู้ว่าราชการจังหวัดโทคุชิมะ ประเทศญี่ปุ่น และคณะ โดยการพบปะครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นความร่วมมือกับจังหวัดโทคุชิมะที่ต้องการต่อยอดความตั้งใจในการส่งเสริม พัฒนา และสนับสนุน ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ของทั้งสองประเทศ โดยผ่านกลไกของการขยายเครือข่ายความร่วมมือ หรือ DIPROM Connection ซึ่งเป็นการทำงานร่วมระหว่างองค์กรภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงสร้างเครือข่ายในการขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการและการถ่ายทอดเทคโนโลยีนวัตกรรม อันจะเป็นการเพิ่มการเข้าถึงโอกาสของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทยมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ดีพร้อม และจังหวัดโทคุชิมะ มีแนวทางความร่วมมือในการยกระดับศักยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม และ SMEs รวมทั้งแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการของทั้งสองประเทศ ผ่านการลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ซึ่งจะมีขึ้นในเร็วๆ นี้ โดยมุ่งผลักดัน การเติบโตของอุตสาหกรรมศักยภาพสูงที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน อาทิ อุตสาหกรรมยา และการแพทย์ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฮบริดอีวีที่ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนรายใหญ่เข้าไปลงทุนและตั้งฐานการผลิตในพื้นที่จังหวัดโทคุชิมะแล้วหลายราย ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) ของไทย โดยเฉพาะการเปลี่ยนผ่านสู่อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ยังคงดำเนินควบคู่ไปกับการส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์สันดาป (ICE) แห่งสุดท้ายของโลก

อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้สร้างความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนประเทศญี่ปุ่น ในการยกระดับ   การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมและเอสเอ็มอีของทั้งสองประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเน้นความร่วมมือกับรัฐบาลระดับท้องถิ่นผ่านการลงนามบันทึกความเข้าใจไปแล้ว 23 แห่ง โดยในปัจจุบันมีผู้แทนจากประเทศญี่ปุ่นมาประจำที่โต๊ะญี่ปุ่น (Japan Desk) ตั้งแต่ปี 2552-ปัจจุบัน เพื่อสร้างเสริมโอกาสในการแลกเปลี่ยนบุคลากรผู้เชี่ยวชาญและถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี-นวัตกรรมการผลิตต่างๆ ตลอดจนร่วมกันจัดกิจกรรมเจรจาจับคู่ธุรกิจเพื่อขยายโอกาสในการเชื่อมโยงธุรกิจ ซึ่งสามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ไม่ต่ำกว่า 2,500 ล้านบาท และทั้งนี้ "ดีพร้อม" มีแผนที่จะเดินหน้าเจรจาและต่อยอดความร่วมมือกับรัฐบาลระดับท้องถิ่น ผ่านการลงนามบันทึกความเข้าใจกับหน่วยงานเป้าหมายในปีนี้ อาทิ จังหวัดนางาซากิ (Nagasaki) จังหวัดซางะ (Saga) และเทศบาลเมืองซาเซโบะ (Sasebo) โดยมีเป้าหมายที่อุตสาหกรรมอาหาร ประมง และเกษตรแปรรูป อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักร โลหะ และเส้นใย ตลอดจนอุตสาหกรรมการต่อเรือ

 

ข่าวต่างประเทศ

A red circle on a white cloth

Description automatically generated

 

4. GDP ญี่ปุ่นหดตัว 2% ใน Q1/67 หลังการบริโภค-ดีมานด์ต่างประเทศชะลอตัว (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2567)

สำนักงานคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น เปิดเผยการประมาณการเบื้องต้นว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) หดตัวลง 2% เมื่อเทียบรายปี ซึ่งย่ำแย่กว่าที่นักวิเคราะห์เศรษฐศาสตร์ในโพลสำรวจของสำนักข่าวรอยเตอร์คาดว่าจะหดตัวลงเพียง 1.5% ทั้งนี้ เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาส ตัวเลข GDP ไตรมาส 1 ของญี่ปุ่นหดตัวลง 0.5% ซึ่งย่ำแย่กว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะหดตัว 0.4% โดยการอุปโภคบริโภคซึ่งคิดเป็นสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของเศรษฐกิจญี่ปุ่นนั้น ลดลง 0.7% ในไตรมาส 1 ซึ่งมากกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่าอาจลดลง 0.2% โดยการอุปโภคบริโภคปรับตัวลงติดต่อกัน 4 ไตรมาส ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุดนับตั้งแต่ปี 2552 ทางด้านการใช้จ่ายประเภททุน ซึ่งเป็นปัจจัยขับเคลื่อนอุปสงค์ในภาคเอกชนนั้น ปรับตัวลง 0.8% ในไตรมาส 1 เมื่อเทียบกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะลดลง 0.7% แม้ว่าผลประกอบการของบริษัทเอกชนปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม

อย่างไรก็ตาม BOJ ได้ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2550 แต่ตลาดคาดการณ์ว่า BOJ อาจจะชะลอการตัดสินใจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้ง เมื่อพิจารณาจากเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)