ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 1 ของเดือนมิถุนายน 2567

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. พิมพ์ภัทราเยือนหูหนาน กระชับความร่วมมืออุตฯ และการลงทุน (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 4 มิถุนายน 2567)

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตนและคณะผู้บริหารกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เข้าพบ นายเหมา เว่ยหมิง ผู้ว่าการมณฑลหูหนาน และคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศมณฑลหูหนาน กรมพาณิชย์หูหนาน ณ นครฉางซา มณฑลหูหนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคำเชิญของกรมพาณิชย์หูหนาน พร้อมทั้งหารือกับนักลงทุนจีน เพื่อกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมและการลงทุนสนับสนุนโดยกองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง สาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับการเข้าพบครั้งนี้ ทางผู้ว่าการมณฑลฯ ได้นำเสนอศักยภาพของมณฑลหูหนานที่มีความสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะโลหะและอโลหะ อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่ ดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศ หุ่นยนต์ เครื่องจักรกลอัตโนมัติ ก่อสร้าง รถไฟ อากาศยาน และอุตสาหกรรมเกษตร การท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ รวมถึงความพร้อมด้านสถานศึกษาเพื่อรองรับภาคอุตสาหกรรม โดยเห็นว่าไทยและหูหนานสามารถเกื้อกูลกันในศักยภาพสาขาในหลายสาขาอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนได้สนับสนุนการเข้ามาลงทุนภาคอุตสาหกรรมในไทยเป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนนโยบายการสนับสนุนและพัฒนาในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทยผ่านมาตรการภาครัฐ อาทิยานยนต์ไฟฟ้าและพลังงานสะอาดเพื่อสิ่งแวดล้อม นอกจากด้านอุตสาหกรรม การค้าและการลงทุน โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องในการพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษา วัฒนธรรม และการท่องเที่ยว รวมทั้งความร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม ในช่วงปลายปี 2567 ในงานแสดงสินค้า Hunan Equipment and Manufacturing ครั้งที่ 3 เพื่อแสดงศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมมณฑลหูหนานให้กับผู้ประกอบการไทยเพื่อสร้างเครือข่ายการผลิตกับมณฑลหูหนาน

 

A person in a blue shirt

Description automatically generated

นายภาสกร ชัยรัตน์

อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.)

 

2. ลุยญี่ปุ่นลงทุน-แลกเทคฯ ดันเศรษฐกิจโต 3 พันล้านบ. (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 5 มิถุนายน 2567)

นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) เปิดเผยว่า ได้เดินทางไปเปิดงานเชื่อมโยงธุรกิจโอตาไก ฟอรัม อิน ซาเซโบะ ที่เมืองซาเซโบะ จังหวัด นางาซากิ เพื่อสานต่อความสำเร็จของแนวคิดการดำเนินงานร่วมกันระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น มีผู้ประกอบการญี่ปุ่นและไทยเข้าร่วมกว่า 100 ราย หลายสาขาอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการต่อเรือ ผลิตภัณฑ์จากเหล็ก เทคโนโลยีการจัดการ และบำบัดน้ำเสีย ดิจิทัลแพลตฟอร์ม อาหารและสินค้าเกษตรแปรรูป ยังเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการนำเสนอสินค้าและบริการของตนเอง เพื่อสร้างโอกาสในการเชื่อมโยงและขยายช่องทางการค้าขายระหว่างกัน ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการไทยให้มีขีดความสามารถประกอบธุรกิจที่เป็นเลิศ ทั้งนี้ คาดว่า จะเชื่อมโยงเครือข่ายผู้ประกอบการและการเจรจาธุรกิจระหว่างสองประเทศ และเกิดการสร้างมูลค่าเศรษฐกิจได้กว่า 3,000 ล้านบาท ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมระหว่างสองประเทศในอนาคตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน และดีพร้อม ได้สานสัมพันธ์กับหน่วยงานต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นมาตั้งแต่ปี 2552 ทั้งในระดับรัฐบาลกลาง 6 แห่ง รัฐบาลท้องถิ่น 23 แห่ง และภาคเอกชน 3 แห่ง รวม 31 แห่ง ผ่านความร่วมมือรูปแบบต่างๆ

อย่างไรก็ตาม สำหรับคำว่าโอตาไก ความหมายว่า การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีจุดกำเนิดตั้งแต่ปี 2554 ที่ทั้งสองประเทศต้องเผชิญกับภัยธรรมชาติครั้งใหญ่ ทำให้ห่วงโซ่อุปทานและภาคการผลิตหยุดชะงัก ส่งผลกระทบเป็นลูกโซ่มาถึงเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงได้พูดคุยกับหน่วยงานพันธมิตรในประเทศญี่ปุ่น เพื่อบรรเทาปัญหาดังกล่าว

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

 

3. บีโอไอชวนฉางอานซื้อชิ้นส่วนยานยนต์ (ที่มา: ข่าวสด, ประจำวันที่ 7 มิถุนายน 2567)

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ผลสำเร็จจากความร่วมมือระหว่าง บีโอไอ กับบริษัท ฉางอาน ออโต้ เซ้าท์อีส เอเชีย จำกัด ในการจัดงาน "CHANGAN Sourcing Day" เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2567 เพื่อจัดหาชิ้นส่วนจากผู้ผลิตในประเทศ สำหรับสายการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าของบริษัท ฉางอาน พบว่าเกิดการเจรจาธุรกิจ 78 คู่ มีมูลค่าซื้อขายชิ้นส่วนในประเทศกว่า 3,600 ล้านบาท โดยการจัดงานในครั้งนี้ มีผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมงานกว่า 400 คน จาก 233 บริษัท ซึ่งในจำนวนนี้มีบริษัทที่ได้รับคัดเลือกให้ร่วมเจรจาธุรกิจในครั้งนี้ครอบคลุมชิ้นส่วนหลักๆ ตามความต้องการของฉางอาน เช่น High Voltage Harness, Outside Door Handle, E-Drive, Cross Car Beam (Die Casting), Intelligent Thermal, Outside Door mirror และ Headlining/Carpet โดยฉางอานประกาศแผนลงทุนในไทยเฟสแรก 10,000 ล้านบาท ในการสร้างโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าพวงมาลัยขวาแห่งแรกของบริษัทที่อยู่นอกประเทศจีน และเป็นศูนย์กลางการผลิตเพื่อส่งออกไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร และแอฟริกาใต้ ซึ่งโรงงานจะตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง กำลังการผลิตรวม 100,000 คันต่อปี และจ้างงานกว่า 2,000 คน วางศิลาฤกษ์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 และคาดว่าจะเริ่มเดินเครื่องการผลิตได้ในช่วงต้นปี 2568 ทั้งนี้ ฉางอานแสดงถึงความตั้งใจจริงที่จะใช้ชิ้นส่วนในประเทศ โดยได้ประกาศเป้าหมายการใช้ชิ้นส่วนในประเทศมากถึง 60% ภายในปีแรก และจะเพิ่มถึง 80% ภายใน 5 ปีด้วย

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา บีโอไอได้จัดกิจกรรม Sourcing Day ร่วมกับผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้าไปแล้ว 4 ราย ได้แก่ BYD, NETA, MG และ BMW ได้ทำให้เกิดมูลค่าซื้อขายชิ้นส่วนในประเทศกว่า 42,000 ล้านบาท โดยการจัดงาน CHANGAN Sourcing Day ครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมสำคัญที่จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับซัพพลายเชนของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศใน Tier ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการจัดซื้อชิ้นส่วน การว่าจ้างผลิต หรือการร่วมมือเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีมาสู่ผู้ประกอบการไทย

 

ข่าวต่างประเทศ

A flag with a blue and red stripe

Description automatically generated

 

4. PMI ภาคการผลิตรัสเซียขยายตัวต่อเนื่องในเดือนพ.ค. หลังดีมานด์ฟื้นตัว (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 4 มิถุนายน 2567)

เอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของรัสเซียขยายตัวเล็กน้อยในเดือนพฤษภาคม 2567 โดยได้แรงหนุนจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น อันเนื่องมาจากความต้องการที่เพิ่มขึ้น โดยรายงานระบุว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตของรัสเซียอยู่ที่ระดับ 54.4 ในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้นจากระดับ 54.38 ในเดือนเมษายน โดยดัชนีที่สูงกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคการผลิตยังอยู่ในภาวะขยายตัว โดยเป็นการขยายตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 25

อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ที่แข็งแกร่งหนุนผลผลิตที่เพิ่มขึ้น แต่การขยายตัวยังคงขึ้นอยู่กับอุปสงค์ภายในประเทศ ยอดคำสั่งส่งออกใหม่ลดลงเป็นครั้งที่ 6 ในรอบ 7 เดือน แม้จะลดลงเพียงเล็กน้อยก็ตาม ทั้งนี้ รัสเซีย ทุ่มงบมหาศาลในการผลิตอุปกรณ์และอาวุธทางทหารนับตั้งแต่บุกโจมตียูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งช่วยพยุงภาคส่วนที่อาจได้รับผลกระทบจากมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย

 

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)