ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมิถุนายน 2567

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. อุตเร่งเครื่องหนุนเอสเอ็มอีขายออนไลน์ (ที่มา: ไทยโพสต์, ประจำวันที่ 10 มิถุนายน 2567)

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดงาน "Live commerce กับ TikToker ของแทร่" Get Started With TikTok จัดโดย ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาด ย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank กับ Tik Tok Thailand ว่า หนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงอุตสาห กรรม คือ สนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในทุกมิติ ภายใต้แนวคิด "รื้อ ลด ปลด สร้าง" หมายถึง รื้อ ลด ปลด สิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการให้มากที่สุด และสร้างสิ่งใหม่ๆ ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ ซึ่งการเติมความรู้ด้านทำตลาดที่ทันสมัยผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเฉพาะใช้การไลฟ์ขายสินค้าที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูง ถือเป็นการสร้างมิติใหม่ของการสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็ม อี โดยเฉพาะรายย่อยในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ให้สามารถคว้าโอกาส ผลักดันธุรกิจให้เติบโตก้าวกระโดด จากกำลังซื้อมหาศาลของลูกค้าทั่วโลก

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนายพิชิต มิทราวงศ์ กรรมการผู้จัดการ SME D Bank กล่าวว่า ธนาคารมีความมุ่งมั่นสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ผ่านกระบวนการด้านการเงิน ควบคู่กับด้านการพัฒนา ซึ่งการจัดงาน 'Live commerce กับ TikToker ของแทร่' สร้างประโยชน์ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีศักยภาพสามารถจะขยายช่องทางการขายได้อย่างไร้พรมแดน และมีโอกาสสร้างรายได้มหาศาล ซึ่งปี 2566 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีมูลค่าตลาดออนไลน์กว่า 700,000 ล้านบาท และเติบโตเฉลี่ยปีละ 25% ขณะที่ TikTok เป็นแพลตฟอร์มที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก และที่ผ่านมา SME D Bank และ TikTok Thailand ได้จับมือจัดกิจกรรมเติมความรู้ การทำตลาดออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาอย่างต่อเนื่อง กระจายในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

 

A person sitting at a desk writing on papers

Description automatically generated

นายณัฐพล รังสิตพล

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

 

2. ปรับเคพีไออุตฯ สีเขียว ปี 68 รง. ผ่านจีไอ 100% (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 11 มิถุนายน 2567)

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้ร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับร่างหลักเกณฑ์อุตสาหกรรมสีเขียว หรือจีไอ กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) นำโดย นายจุลพงษ์ ทวีศรี อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และนายพรยศ กลั่นกรอง รองอธิบดี กรอ. โดย กรอ.ได้รายงานสถานการณ์ของจีไอ ข้อมูล ณ วันที่ 30 พฤษภาคม 2567 พบว่า ปัจจุบันมีจำนวนโรงงานทั้งหมดที่แจ้งประกอบการ 62,826 โรงงาน ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว 55,029 โรงงาน คิดเป็น 88% ซึ่งแบ่งเป็น 5 ระดับ ดังนี้ 1. ระดับจีไอ 1 ความมุ่งมั่นสีเขียว จำนวน 48,087 โรงงาน 2. ระดับจีไอ 2 ปฏิบัติการสีเขียว 3,095 โรงงาน 3. ระดับจีไอ 3 ระบบสีเขียว 3,412 โรงงาน 4. ระดับจีไอ 4 วัฒนธรรมสีเขียว 367 โรงงาน และ 5. ระดับจีไอ 5 เครือข่ายสีเขียว 68 โรงงาน ทั้งนี้ มีจำนวนโรงงานที่อยู่ในระดับจีไอ 3-5 จำนวน 3,847 โรงงาน คิดเป็น 7% ของจำนวนโรงงานที่เข้าสู่จีไอ โดย กรอ.ได้ขอคำแนะนำสำหรับแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์อุตสาหกรรมสีเขียวเพื่อให้สอดรับกับนโยบาย MIND ของกระทรวงอุตสาหกรรม

อย่างไรก็ตาม กรอ.ได้เตรียมความพร้อมยกระดับสถานประกอบการเข้าสู่จีไอทั้ง 100% ภายในปี 2568 ผ่านการจัดทำคู่มือ สื่อประชาสัมพันธ์ อบรมสัมมนาถ่ายทอดความรู้ พัฒนาสารสนเทศอุตสาหกรรม สีเขียว ตลอดจนทำความร่วมมือกับ International Center for Environment Technology Transfer (ICETT) ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเตรียมความพร้อมให้เอสเอ็มอีจัดทำคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

3. เร่งสปีดดันไทยฮับลงทุนอาเซียน (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 13 มิถุนายน 2567)

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยภายหลังบีโอไอ และธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อผลักดันประเทศไทยสู่ศูนย์กลางการลงทุนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และส่งเสริมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) ว่า ไทยถือเป็นประเทศที่มีความโดดเด่นมากที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคอาเซียน ด้วยศักยภาพและความพร้อมหลายด้านที่เอื้อต่อการลงทุน ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ดี บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญและทักษะขั้นสูง รวมทั้งมีมาตรการสนับสนุนเชิงรุกจากภาครัฐ ถือเป็นปัจจัยที่ช่วยดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยที่ผ่านมารัฐบาลและบีโอไอได้เดินหน้าออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนด้านต่างๆ ซึ่งในปี 2566 ไทยมีตัวเลขการลงทุนทำสถิติสูงสุดในรอบ 9 ปี ด้วยมูลค่าขอรับการส่งเสริมกว่า 8.48 แสนล้านบาท เติบโต 43% เป็นการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (เอฟดีไอ) กว่า 6.63 แสนล้านบาท เพิ่มกว่า 72% โดยไตรมาสแรก 2567 มียอดขอรับส่งเสริมการลงทุน 724 โครงการ มูลค่า 228,207 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31% คาดปี 2567 ยอดขอรับส่งเสริมการลงทุนไม่ต่ำกว่า 8 แสนล้านบาท ทั้งนี้ เอชเอสบีซี จะใช้เครือข่ายลูกค้าธุรกิจระดับโลก และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการลงทุนในประเทศไทย ยกระดับความสามารถในการแข่งขันและสภาพแวดล้อมการทำธุรกิจ นอกจากนี้ เอชเอสบีซีจะจัดกิจกรรมโรดโชว์ในตลาดสำคัญ เช่น จีน ฮ่องกง อินเดีย ซาอุดีอาระเบีย อาเซียน ยุโรป และสหราชอาณาจักร เป็นต้น เพื่อส่งเสริมไทยให้เป็นศูนย์กลางการลงทุนของภูมิภาค โดยเฉพาะ 5 กลุ่มอุตสาหกรรมตามยุทธศาสตร์ของบีโอไอ ได้แก่ ยานยนต์ไฟฟ้า เซมิคอนดักเตอร์ ดิจิทัล อุตสาหกรรมชีวภาพและพลังงานสะอาด

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนายจอร์โจ กัมบา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย กล่าวว่า บทวิจัย HSBC Global Connections ระบุว่า 37% ของบริษัทที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีการดำเนินธุรกิจในประเทศไทยแล้ว ซึ่งแรงงานที่มีทักษะเป็นปัจจัยทำให้ไทยเป็นตลาดที่น่าสนใจ ไทยยังเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคยาวนาน และเป็นส่วนสำคัญของซัพพลายเชนของโลก ปัจจุบันไทยเป็นผู้ผลิตยานยนต์ใหญ่สุดของอาเซียน มียอดการผลิตสัดส่วนถึง 50% ของภูมิภาค ส่งผลให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางสำหรับการลงทุนขนาดใหญ่ จากประเทศเศรษฐกิจในภูมิภาคและทั่วโลก โดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) โดยธนาคารให้การสนับสนุนบีโอไอในกิจกรรมโรดโชว์ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมาย เช่น อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และเศรษฐกิจดิจิทัล และในรายงานชี้ให้เห็นว่าธุรกิจระหว่างประเทศ 18% ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจในไทย มีแผนขยายธุรกิจเข้ามาในไทยภายใน 2 ปีข้างหน้า

 

ข่าวต่างประเทศ

A red circle on a white cloth

Description automatically generated

 

4. เงินเฟ้อภาคค้าส่งของญี่ปุ่นเพิ่ม 2.4% ในเดือนพ.ค. สูงสุดในรอบ 9 เดือน (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 12 มิถุนายน 2567)

ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาสินค้าผู้ประกอบการ (CGPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดราคาสินค้าและบริการที่สั่งซื้อโดยบริษัทญี่ปุ่นและเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อจากภาคค้าส่ง เพิ่มขึ้น 2.4% ในเดือนพฤษภาคม 2567 เมื่อเทียบเป็นรายปี นับเป็นการเพิ่มขึ้นรายปีที่สูงที่สุดในรอบ 9 เดือน และสูงกว่าระดับ 1.1% ในเดือนเมษายน 2567 ซึ่งตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ระดับ 2.0% ทั้งนี้ ในรายงานระบุว่า ดัชนีราคาส่งออกในเดือนพฤษภาคม 2567 เพิ่มขึ้น 10.9% เมื่อเทียบเป็นรายปี ชะลอลงจากระดับที่ผ่านการปรับค่าแล้วที่ 11% ในเดือนเมษายน 2567 ขณะที่ดัชนีราคานำเข้าในเดือนพฤษภาคม เพิ่มขึ้น 6.9% หลังจากเพิ่มขึ้น 6.6% ในเดือนเมษายน

อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบเป็นรายเดือน ดัชนีราคาผู้ผลิตของญี่ปุ่นขยับขึ้น 0.7% ในเดือนพฤษภาคม 2567 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนเมษายน ที่ขยับขึ้น 0.5%

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)