ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกรกฎาคม 2567

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

 

1. พัฒนาศก.ฐานราก อุตฯ ดึงเทคโนโลยีช่วยเกษตรกร (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 15 กรกฎาคม 2567)

นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ดำเนินการตามนโยบาย RESHAPE THE FUTURE: โลกเปลี่ยน อุตสาหกรรมปรับ พร้อมรับอนาคต ในหลากหลายมิติ โดยเฉพาะโลกที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเทคโนโลยี (Digital Disruptions) จึงจำเป็นต้องเร่งให้ผู้ประกอบการหรือเกษตรกรได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำเทคโนโลยีดิจิทัล มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตที่เกิดขึ้น การพัฒนาเชิงพื้นที่ (RESHAPE THE AREA) เพื่อสร้างชุมชนเปลี่ยนก็เป็นสิ่งสำคัญ การเตรียมชุมชนให้ดีพร้อม เพื่อเป็นต้นแบบให้กับชุมชนรอบข้างอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรฐานราก ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรม ส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้ดำเนินกิจกรรม "ส่งเสริม และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบให้น้ำอัตโนมัติ" ภายใต้การพัฒนาพื้นที่นำร่องเพาะปลูกทุเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่เกษตรกร เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีระบบการให้น้ำแบบอัตโนมัติในพื้นที่การเกษตร เป็นโมเดลต้นแบบการนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลมาประยุกต์ในสวนเกษตรให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย และช่วยลดต้นทุนให้กับเกษตรกร โดยกระทรวงอุตสาหกรรมได้บูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานท้องถิ่น สถาบันการศึกษา และผู้ประกอบการเอกชน เพื่อมุ่งเน้นการยกระดับชุมชนเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมให้เกษตรกรได้ปรับตัวให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและเปลี่ยนผ่านสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งในกระบวนการผลิต และการพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับระยะเริ่มแรก ได้นำร่องในพื้นที่ของตำบลฉลอง อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งภายในจังหวัดนครศรีธรรมราชมีพื้นที่การปลูกทุเรียนกว่า 100,000 ไร่ (ที่มา: ข้อมูลพื้นฐานของจังหวัดนครศรีธรรมราช,สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประจำเดือนมีนาคม 2567) เพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ต้นแบบ โดยดำเนินการให้คำปรึกษาด้านการปรับปรุงระบบแนวท่อ จุดจ่ายน้ำด้วย มินิสปริงเกอร์ ระบบการใช้พลังงานด้วยโซลาร์เซลล์ การควบคุมการเปิด-ปิดอุปกรณ์ด้วยระบบ IoT ซึ่งถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจได้เข้ามาศึกษาและนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป็นการเพิ่มผลิตภาพการผลิต ลดจำนวนแรงงาน ลดเวลาการทำงาน และในอนาคตจะเร่งขยายผลไปสู่ชุมชนรอบข้าง และในผลผลิตอื่นๆ ต่อไป โดยผลจากการดำเนินงาน จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของสมาชิกชุมชน ตลอดจนถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้กับชุมชนอื่นๆ ที่สนใจอีกด้วย

 

A person in a suit sitting at a table

Description automatically generated

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

 

2. ภาคการผลิตยังไม่ฟื้น ต้นทุนพุ่งฉุดดัชนีอุตฯ ต่ำสุดรอบ 2 ปี (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 18 กรกฎาคม 2567)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2567 อยู่ที่ระดับ 87.2 ปรับตัวลดลงจาก 88.5 ในเดือนพฤษภาคม 2567 โดยปรับตัวลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และต่ำสุดรอบ 24 เดือน และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบของดัชนีฯ พบว่า ปรับตัวลดลงทุกองค์ประกอบ ทั้งยอดคำสั่งซื้อโดยรวมยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ โดยมีปัจจัยลบจากเศรษฐกิจในประเทศยังฟื้นตัวช้า จากอุปสงค์ในประเทศที่ยังฟื้นตัวไม่ทั่วถึงขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคยังอ่อนแอ จากปัญหาหนี้เสีย (NPL) ที่เร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะที่อยู่อาศัย รถยนต์บัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคล ส่งผลให้การบริโภคในประเทศชะลอลง ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการ SMEs ประสบปัญหาสภาพคล่อง ขาดเงินหมุนเวียนในกิจการ และเข้าถึงสินเชื่อได้ยากขึ้น เนื่องจากสถาบันการเงินมีความระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์และเรือขนส่งสินค้ายังเป็นปัญหาต่อเนื่อง ทำให้ค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ความไม่แน่นอนทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการ ทั้งนี้ ในเดือนมิถุนายน ยังมีปัจจัยสนับสนุนมาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศช่วง Low season และมาตรการฟรีวีซ่าช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติขณะที่การขยายตัว ของอุปสงค์จากต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดสหรัฐฯ อาเซียน อินเดีย และจีนที่เริ่มฟื้นตัว ตลอดจนการอ่อนค่าของเงินบาท ส่งผลดีต่อภาคการส่งออก

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจผู้ประกอบการ 1,341 ราย ครอบคลุม 46 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในเดือนมิถุนายน 2567 พบว่า ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ ราคาน้ำมัน 62.4% เศรษฐกิจในประเทศ 63.4% สถานการณ์การเมืองในประเทศ 49.4% ส่วนปัจจัยที่มีความกังวลลดลง ได้แก่ เศรษฐกิจโลก 61.9% อัตราดอกเบี้ยเงินกู้57.1% อัตราแลกเปลี่ยน (มุมมองผู้ส่งออก) โดยอัตราแลกเปลี่ยนอ้างอิงค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ 35.1% ทั้งนี้ สำหรับดัชนีฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 93.4 ปรับตัวลดลง จาก 95.7 ในเดือนพฤษภาคม 2567 ต่ำสุดในรอบ 33 เดือน นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากนโยบายการปรับ ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นด้านต้นทุนประกอบการ โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ขณะที่ความไม่แน่นอนของปัญหาทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงาน และห่วงโซ่การผลิตในตลาดโลก นอกจากนี้ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน รอบใหม่ จากการ ที่สหรัฐฯ ประกาศขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนเพิ่มเติม อาจทำให้สินค้าจากจีนเข้ามาแข่งขันในไทยเพิ่มขึ้น ซึ่งยังมีปัจจัยบวก จากการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 3 ปี 2567 ช่วยหนุนเศรษฐกิจให้เติบโต

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

 

3. ดันไทยฐานผลิตแผงวงจรฯ (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 17 กรกฎาคม 2567)

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า กลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ และแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (พีซีบี) เป็นอุตสาหกรรมใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างภูมิศาสตร์เศรษฐกิจของโลก ทำให้เกิดการโยกย้ายฐานการผลิตครั้งใหญ่ในหลายอุตสาหกรรมเข้าสู่ประเทศไทย เนื่องจากศักยภาพและความพร้อมในด้านต่างๆ ของไทย ไม่ว่าจะเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐาน บุคลากรทักษะสูง และห่วงโซ่อุปทานที่แข็งแกร่ง ทำให้ประเทศไทยได้รับเลือกให้เป็นจุดหมายของการลงทุน โดยที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้ามีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมาก เป็นสินค้าส่งออกอันดับ 1 มีสัดส่วนถึง 1 ใน 4 ของการส่งออกทั้งประเทศ และเป็นอุตสาหกรรมที่ดึงดูดการลงทุนจำนวนมาก โดยช่วง 3 ปีที่ผ่านมา มีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมนี้กว่า 535,000 ล้านบาท เฉพาะในปี 2566 มีมูลค่าคำขอสูงถึง 334,800 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.5 เท่า เมื่อเทียบกับปี 2565 สัดส่วน 40% ของคำขอรับการส่งเสริมทั้งหมด หากพิจารณาเฉพาะกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ และแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (พีซีบี) จะเห็นว่า การลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด จากมูลค่า 15,600 ล้านบาท ในปี 2564 และ 15,900 ล้านบาท ในปี 2565 เพิ่มเป็น 100,860 ล้านบาท ในปี 2566 และยังเติบโตต่อเนื่องในปี 2567 โดยในช่วง 5 เดือน (มกราคม - พฤษภาคม) ของปี 2567 มีคำขอรับการส่งเสริมพีซีบี และ เซมิฯ 27 โครงการ มูลค่ารวม 36,044 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของบริษัทชั้นนำจากจีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น และฮ่องกง

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนายพิธาน องค์โฆษิต นายกสมาคมแผ่นวงจรพิมพ์ไทย กล่าวว่า การได้รับสนับสนุนจากบีโอไอ ทำให้ประเทศไทยได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการทั่วโลกสนใจ ปัจจุบันแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของไทยมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ที่ประมาณ 4% แต่หากเปิดโรงงานจากผู้ลงทุนในโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากบีโอไอ อีก 50 โรงงาน จะทำให้ส่วนแบ่งการตลาดของไทยเติบโตได้ถึง 10% เป็นอันดับที่ 4 ของโลก รองจากจีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ส่งผลดี หลายด้านต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างอาชีพและการจ้างงานภายในประเทศที่จะเพิ่มสูงขึ้น 50,000-80,000 ตำแหน่งงาน เฉพาะภาคอุตสาหกรรมแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยตลาดพีซีบีทั่วโลก คาดว่า จะมีมูลค่า 3 ล้านล้านบาท ภายในปี 2569 เพิ่มขึ้น 3.3% มีการเติบโตสูงถึง 11.1% เนื่องจากมีขนาดเล็ก ประสิทธิภาพสูง และน้ำหนักเบา รวมทั้งแผงวงจรที่มีความยืดหยุ่น กำลังเป็นที่ต้องการมากขึ้นในสินค้าเทคโนโลยีสวมใส่และอุปกรณ์อัจฉริยะ คาดว่า จะมีมูลค่า 5.3 แสนล้านบาท ในปี 2569

 

ข่าวต่างประเทศ

A red circle on a white cloth

Description automatically generated

 

4. เงินเฟ้อพื้นฐานญี่ปุ่นเดือนมิ.ย.พุ่ง 2.6% พลังงาน-อาหารแพงทำพิษ (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 19 กรกฎาคม 2567)

รัฐบาลญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (core CPI) ซึ่งเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่ไม่นับรวมราคาอาหารสด ปรับตัวขึ้น 2.6% ในเดือนมิถุนายน 2567 เมื่อเทียบเป็นรายปี เนื่องจากราคาพลังงานและอาหารสูงขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อครัวเรือน โดยดัชนี core CPI ดังกล่าวขยับขึ้นจากระดับ 2.5% ในเดือนพฤษภาคม และอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ที่หรือสูงกว่าเป้าหมาย 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2565 เป็นต้นมา ขณะเดียวกัน ดัชนี core-core CPI ซึ่งไม่นับรวมทั้งราคาพลังงานและอาหารสดและแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มราคาพื้นฐาน เพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือนมิถุนายน ส่วนราคาพลังงานปรับตัวขึ้น 7.7% ในเดือนมิถุนายน เร่งตัวขึ้นจากระดับ 7.2% ในเดือนพฤษภาคม เนื่องจากผลกระทบจากเงินอุดหนุนของรัฐบาลคลายตัวลง

อย่างไรก็ตาม ทางด้านสำนักข่าวเกียวโดรายงานว่า ค่าครองชีพที่สูงขึ้นส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค โดยอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นจำกัดผลกระทบของการเติบโตของค่าแรง ทั้งนี้ ในบรรดารายการหลัก ราคาอาหารเพิ่มขึ้น 2.8% และราคาสินค้าคงทนเพิ่มขึ้น 3.9%

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)