ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 5 ของเดือนสิงหาคม 2567

ข่าวในประเทศ

A person in a pink dress

Description automatically generated

นางวรวรรณ ชิตอรุณ

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

 

2. สศอ. เตรียมเยือนบรูไนฯพบปะนักลงทุน เจรจาใต้กรอบขยายตลาดสินค้าฮาลาลไทย (ที่มา: ผู้จัดการรายวัน 360 องศา, ประจำวันที่ 26 สิงหาคม 2567)

นางวรวรรณ ชิตอรุณ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า เตรียมคณะเยือนบรูไนฯ ประกอบด้วย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม สถาบันอาหาร สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และสถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พร้อมทั้งผู้ประกอบการไทย เดินทางเยือนบรูไนดารุสซาราม ระหว่างวันที่ 25-28 สิงหาคม 2567 เพื่อดำเนินกิจกรรมการเจรจาภายใต้กรอบความร่วมมือในการขยายตลาดสินค้าและบริการฮาลาลไทย รวมถึงการจัดงาน Halal Thai Night เพื่อประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ และขยายตลาดสินค้า ฮาลาลไทย สำหรับผลจากการประชุมคณะกรรมการฮาลาลแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2567 กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งขับเคลื่อนการดำเนินงานตาม (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลไทย ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2567-2570) ในระยะ 1 ปีแรก Quick Win ให้บรรลุเป้าหมาย โดยเฉพาะกิจกรรมการเจรจาภายใต้กรอบความร่วมมือในการขยายตลาดสินค้าและบริการฮาลาลไทยกับกลุ่มประเทศเป้าหมาย ได้แก่ มาเลเซียและอินโดนีเซีย เรียบร้อยแล้ว โดยเมื่อวันที่ 5-7 สิงหาคม 2567 กระทรวงอุตสาหกรรมได้เข้าร่วมการประชุมคณะทำงานเฉพาะกิจความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมฮาลาล ครั้งที่ 4 และการประชุมคณะทำงานผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล ครั้งที่ 18 ภายใต้แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษสามฝ่าย อินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (Indonesia-Malaysia Thailand Growth Triangle : IMT-GT) ณ เมืองลังกาวี สหพันธรัฐมาเลเซีย ทั้งนี้ ในปี 2568 ประเทศไทยได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมด้านคณะทำงานผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล เพื่อร่วมแสดงศักยภาพของอุตสาหกรรมฮาลาลไทยอีกด้วย สำหรับแผนงานต่อไป คือ การประชุมความร่วมมือทวิภาคี ไทย-บรูไนดารุสซาลาม เพื่อต่อยอดความร่วมมือด้านเศรษฐกิจตามผลการเยือนระดับผู้นำของทั้งสองฝ่าย

อย่างไรก็ตาม การดำเนินกิจกรรมการเจรจาภายใต้กรอบความร่วมมือในการขยายตลาดสินค้าและบริการฮาลาลไทย-บรูไน ครั้งนี้ จะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในระดับนโยบายที่เห็นผลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อการพัฒนาความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมฮาลาลระหว่างไทยและบรูไน ต่อยอดการพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมกับไทยได้ในหลายด้าน เช่น การขยายตลาดสินค้าฮาลาลไทย การลงทุน การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตฮาลาล และการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้รับประโยชน์สูงสุดร่วมกัน

 

A person in a blue shirt

Description automatically generated

นายภาสกร ชัยรัตน์

อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือดีพร้อม (DIPROM)

 

1. ดีพร้อมหนุนสตาร์ทอัพ พัฒนาทักษะเพิ่มดีกรีการแข่งขัน (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 27 สิงหาคม 2567)

นายภาสกร ชัยรัตน์ อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมหรือดีพร้อม (DIPROM) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลต้องการส่งเสริมด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Soft Power) ร่วมกับการเร่งพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตด้วยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม (Innovation-driven economy) เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ผ่านการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยี ให้มีความสามารถทั้งด้านเทคโนโลยีการบริหาร ธุรกิจ การตลาด และการพัฒนาทักษะในการคิดค้นสินค้า หรือบริการใหม่ๆ ซึ่งมีความ สำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจไทย เพื่อต่อยอดธุรกิจให้มีความแตกต่างเหนือคู่แข่งและมีความเป็นสากลซึ่งมีส่วนช่วยสร้างระบบนิเวศ ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้สามารถออกสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ กรมฯ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น หรือสตาร์ทอัพ (Startup) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการดำเนินธุรกิจ โดยส่งเสริมโอกาสและช่องทางให้แก่สตาร์ทอัพ ในการพัฒนาความรู้และทักษะการดำเนินธุรกิจ ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด เชื่อมโยงเครือข่ายกับอุตสาหกรรมสนับสนุนต่างๆ เพื่อเป็นกลไกในการสร้างนวัตกรรม นอกจากนี้ ยังสร้างโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและการตลาดอย่างเหมาะสม ทำให้ธุรกิจเติบโตอย่างมั่นคงนำไปสู่การสร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจของประเทศในระยะยาวต่อไป โดยกิจกรรมเชื่อมโยงตลาดสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup Connect) เป็นกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาองค์ความรู้ด้านการดำเนินธุรกิจ โดยมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (Seminar & Workshop) ครอบคลุมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะเฉพาะด้านที่เอื้อต่อการเงินและการระดมทุนในตลาดเงิน และตลาดทุนรวมถึงการเติบโตจากภายนอก กระบวนการควบรวมหรือการซื้อกิจการ M&A (Mergers & Acquisitions) การทำพาณิชยกรรมทางการค้า (Commercialization Support) พร้อมยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรมเชิงลึก (Deep technology) หรือเทคโนโลยีทั่วไปที่สนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (BCG Economy)

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ยังมีกลยุทธ์การเชื่อมโยงแหล่งเงินทุนและการขยายตลาด ผสมผสานกับการสร้างนวัตกรรมร่วม (Co-creation) และการปรึกษาแนะนำเชิงลึก เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด พร้อมทั้งมีการนำเสนอโมเดลธุรกิจต่อแหล่งเงินทุน (Pitching) และการจับคู่เจรจาธุรกิจ (Business Matching) เพื่อเชื่อมโยงวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) เข้าสู่ตลาดและเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างเหมาะสม คาดว่าจะสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นกว่า 200 ล้านบาท

 

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์

โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

 

3. หนี้ครัวเรือนป่วนยอดผลิตรถ (ที่มา: ไทยรัฐ, ประจำวันที่ 28 สิงหาคม 2567)

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดการผลิตรถยนต์เดือนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีกำลังการผลิตรวม 124,829 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 16.62% เพราะการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศผลิตได้ 37,291 คัน ลดลง 40.85% ตามยอดขายรถยนต์ในประเทศลดลง 20.58% อยู่ที่ 46,394 คัน เนื่องจากสถาบันการเงินเข้มงวดในการให้สินเชื่อ โดยเฉพาะรถกระบะและรถบรรทุกจากความกังวลเรื่องหนี้ครัวเรือนที่สูงถึง 91% ของอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) และเศรษฐกิจของประเทศไทยที่อยู่ในภาวะอ่อนแอเติบโตต่ำในอัตรา 1.5% ในไตรมาส 1 ที่ผ่านมา เพราะการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 ที่ล่าช้า ขณะที่ยอดผลิตรถยนต์เพื่อส่งออกเดือนกรกฎาคม ปรากฏว่าผลิตได้ 87,538 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.01% แต่การส่งออกอยู่ที่ 83,527 คัน ลดลง 22.70% เพราะปัญหาการขนส่งไปตะวันออกกลางและสหภาพยุโรปมีการติดขัด จากสงครามอิสราเอลกับฮามาสจึงส่งออกลดลงในตลาดเอเชีย ออสเตรเลีย ตะวันออกกลาง สหภาพยุโรป อเมริกากลาง และอเมริกาใต้ ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 56,397.87 ล้านบาท ลดลง 16.56%

อย่างไรก็ตาม สำหรับภาพรวมยอดผลิตรถยนต์ใน 10 เดือนแรก ของปีนี้ (มกราคม - กรกฎาคม) มีจำนวน 886,069 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 17.28% แบ่งเป็นยอดผลิตเพื่อส่งออกได้ 603,721 คัน ลดลง 2.20% และเป็นยอดผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศอยู่ที่ 282,348 คันลดลง 37.80%

 

ข่าวต่างประเทศ

A red circle on a white cloth

Description automatically generated

 

4. ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นเพิ่ม 2.8% อานิสงส์อุปกรณ์ชิป (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 30 สิงหาคม 2567)

กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นในเดือนกรกฎาคม 2567 เพิ่มขึ้น 2.8% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน โดยได้รับแรงหนุนจากการผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์และอุปกรณ์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ สำนักข่าวเกียวโดรายงานข้อมูลดังกล่าวว่า ดัชนีการผลิตของโรงงานและเหมืองแร่ อยู่ที่ระดับ 102.8 เมื่อเทียบกับฐานปี 2563 ที่ระดับ 100 หลังจากลดลง 4.2% ในเดือนมิถุนายน ซึ่งกระทรวงฯ ได้ปรับเปลี่ยนมุมมองจากเดือนมิถุนายน โดยระบุว่า การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีความผันผวนอย่างที่ไม่สามารถคาดเดาได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับผลการสำรวจภาคอุตสาหกรรมที่ครอบคลุม 15 ภาคส่วนบ่งชี้ว่า อุตสาหกรรม 14 ประเภทมีผลผลิตเพิ่มขึ้น และมี 1 ประเภทมีผลผลิตลดลง โดยดัชนีการจัดส่งภาคอุตสาหกรรมปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.4% แตะที่ 101.4 ขณะที่ดัชนีสินค้าคงคลังปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.4% สู่ระดับ 103.0 ทั้งนี้ กระทรวงฯ คาดการณ์โดยอิงจากผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ผลิตว่า ผลผลิตจะเพิ่มขึ้น 2.2% ในเดือนสิงหาคม และลดลง 3.3% ในเดือนกันยายน 2567

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)