ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนเมษายน 2568

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a desk writing on papers

AI-generated content may be incorrect.

นายณัฐพล รังสิตพล

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. อุตฯ เข้มยกระดับมาตรฐานตรวจโรงงานเสี่ยง (ที่มา: สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น., ประจำวันที่ 8 เมษายน 2568)

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายแนวทางการดำเนินงานตามโครงการตรวจโรงงานที่มีความเสี่ยงสูงและมีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมทั้ง 76 จังหวัด ย้ำว่า ปัจจุบันมีโรงงานอุตสาหกรรมจำนวนหนึ่งเป็นต้นเหตุของการสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อสิ่งแวดล้อม ชุมชมและประชาชนในบางพื้นที่มีการประกอบกิจการโรงงานโดยที่ไม่ได้รับการอนุญาต (โรงงานเถื่อน) พบการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมในพื้นที่ชุมชน มีการครอบครองวัตถุอันตราย หรือจงใจไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย จึงมีนโยบายให้ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่จากทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวข้องทำงานเชิงรุก ด้วยการร่วมออกปฏิบัติการตรวจสถานประกอบการอย่างเข้มข้นหรือทีมสุดซอย เพื่อลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงานที่ได้รับแจ้งร้องเรียนจากประชาชนให้ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งการบริหารจัดการ การกำกับดูแลด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ไม่ใช่เพียงตรวจสอบเพียงประเด็นที่ร้องเรียนมาเท่านั้น เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ได้จัดฝึกอบรมกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการตรวจโรงงานที่มีความเสี่ยงสูงและมีผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้ครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด โดยแบ่งการตรวจโรงงานเป็น 4 กลุ่ม รวม 56,886 โรงงาน จัดลำดับตามประเภทโรงงานที่เสี่ยงจะเกิดผลกระทบกับประชาชน

อย่างไรก็ตาม กระทรวงอุตสาหกรรม มีการปรับแนวทางการกำกับดูแล ด้วยการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยการพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ผ่านมาตรการสนับสนุนต่างๆ ควบคู่ไปกับการลงโทษและดำเนินคดีกับผู้ประกอบการที่กรทำความผิด ฝ่าฝืนกฎหมายตามแนวทางการตรวจสอบโรงงานแบบ  สุดซอย มีการกำหนดพื้นที่นำร่อง “สมุทรสาครโมเดล” ที่มียกระดับมาตรการตรวจกำกับโรงงานตั้งแต่ต้นทางกระบวนการอนุญาตในโรงงานกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง เช่น โรงงานหล่อหลอมโลหะ โรงงานคัดแยกหรือรีไซเคิลวัสดุ ไม่ใช้แล้ว เป็นต้น หลังจากที่พบขบวนการเครือข่ายใหญ่ลักลอบนำเข้าวัตถุอันตรายและพบโรงงานเถื่อนในพื้นที่ดังกล่าวหลายแห่ง ซึ่งได้มีการดำเนินคดีทางกฎหมายและผนึกกำลังร่วมกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) เพื่อยกระดับการกำกับดูแลโรงงานและปราบปรามผู้กระทำความผิด โดยเฉพาะขบวนการลักลอบขนขยะอันตรายเข้าประเทศ

 

A person sitting in a chair

AI-generated content may be incorrect.

นายภาสกร ชัยรัตน์

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

 

2. สศอ.ผนึกกำลัง กลาโหม ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 10 เมษายน 2568)

นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ. ได้เห็นถึงความสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศจึงได้ดำเนินโครงการศูนย์สารสนเทศอัจฉริยะอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการทำงานเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงาน ฝ่ายพลเรือนและหน่วยงานฝ่ายกลาโหมอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อร่วมกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เป็นอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ ส่งผลให้ภาครัฐและเอกชนมีข้อมูลอุตสาหกรรมที่สำคัญและทันสมัย ใช้ในการกำหนดนโยบายและดำเนินธุรกิจเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตยุทโธปกรณ์และอุปกรณ์ทางการทหารในประเทศ ทำให้ไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้ ลดการนำเข้าและพัฒนาสู่การเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก และสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศอย่างยั่งยืน ตามนโยบาย "การปฏิรูปอุตสาหกรรม" ของนายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ สศอ. ได้ร่วมมือกับสถาบันยานยนต์จัดกิจกรรมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านวิชาการระหว่างสถาบันยานยนต์และสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมีพลเอก วัฒนา ฉัตรรัตนแสง ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร และนายเกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ

อย่างไรก็ตาม สำหรับอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเป็นอุตสาหกรรมที่เป็นเทคโนโลยีสองทาง (Dual Use Technology) กล่าว คือ เป็นประโยชน์ทั้งด้านความมั่นคงและสามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ และสนับสนุนอุตสาหกรรมเดิมของไทยในเชิงพาณิชย์ได้ ด้วยความสำคัญนี้ จึงต้องขับเคลื่อนผลักดันอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้มีความแข็งแกร่งและพัฒนาศักยภาพให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมเพื่อเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมเศรษฐกิจใหม่ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

 

A person in a suit with his arms crossed

AI-generated content may be incorrect.

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์

ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า)

 

3. ดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม 'ดิจิทัล' พุ่ง (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 11 เมษายน 2568)

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) เปิดเผยว่า ดีป้าสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลไตรมาส 1/2568 และไตรมาส 4/2567 ใน 5 กลุ่มอุตสาหกรรมย่อย ประกอบด้วย กลุ่มอุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ กลุ่มอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ กลุ่มอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัล กลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ และกลุ่มอุตสาหกรรมโทรคมนาคม โดยดัชนีความเชื่อมั่นไตรมาส 1/2568 อยู่ที่ระดับ 50.1 ปรับตัวดีขึ้นจาก 48.8 ของไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลมาจากปัจจัยด้านผลประกอบการ ด้านปริมาณการผลิตด้านการจ้างงาน และด้านการลงทุนปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่ในทางกลับกัน ปัจจัยด้านคำสั่งซื้อและด้านต้นทุนประกอบการปรับลดลง ทั้งนี้ จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ไม่ว่านโยบายเงินดิจิทัล 10,000 บาท และ Easy E-Receipt 2.0 ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับลดลง การย้ายฐานการผลิตของบริษัทต่างชาติ และการแข่งขันด้านเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระดับโลก ล้วนส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมดิจิทัลไตรมาสแรกปีนี้กลับสู่ระดับเชื่อมั่นอีกครั้ง หลังตกลงไปสู่ระดับไม่เชื่อมั่นเป็นครั้งแรกในรอบ 7 เดือน ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2567 แต่บรรดาผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดิจิทัล ยังมีความกังวลต่อการประกาศปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำของรัฐบาล รวมถึงมาตรการกีดกันทางการค้าต่างประเทศ และการที่ผู้ประกอบการไม่สามารถปรับตัวได้ทันกับเทคโนโลยีเกิดใหม่ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลกระทบต่อระดับความเชื่อมั่น

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนายวาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น กล่าวว่า ดิจิทัลสตาร์ตอัพไทยยังเผชิญความท้าทายการเข้าถึงแหล่งทุน ขาดที่ปรึกษาเชิงลึก เครือข่ายระดับนานาชาติที่จำกัด และกลไกภาครัฐที่ยังไม่ยืดหยุ่นเพียงพอ ภาคธุรกิจดั้งเดิมยังไม่สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างเต็มที่ การพึ่งพาเทคโนโลยีต่างชาติจึงเลี่ยงไม่ได้ โอกาสของไทยคือการพัฒนาโปรแกรมรูปแบบใหม่เชื่อมโยงผู้มีไอเดียธุรกิจกับผู้มีทักษะเทคโนโลยี สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการร่วมมือมากกว่าการแข่งขัน ซึ่งไทยมีศักยภาพในการพัฒนา

 

ข่าวต่างประเทศ

A blue flag with yellow stars

AI-generated content may be incorrect.

 

4. EU ไฟเขียวมาตรการตอบโต้ภาษี "ทรัมป์" (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 10 เมษายน 2568)

สหภาพยุโรป (EU) เปิดเผยว่า ได้ให้การอนุมัติมาตรการตอบโต้ต่อการที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์เรียกเก็บภาษีศุลกากรต่อสินค้านำเข้าจาก EU ในอัตรา 20% ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ EU จะเรียกเก็บภาษีต่อสินค้าส่วนใหญ่จากสหรัฐในอัตรา 25% โดยจะครอบคลุมสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึง ถั่วเหลือง สัตว์ปีก ยาสูบ เหล็กและอะลูมิเนียม โดยสินค้าเหล่านี้คิดเป็นมูลค่าราว 2.2 หมื่นล้านยูโรในปีที่แล้ว

อย่างไรก็ตาม EU จะเรียกเก็บภาษีต่อสินค้าจากสหรัฐเป็น 3 ระยะ โดยระยะแรก จะเรียกเก็บภาษีต่อแครนเบอร์รีและน้ำส้ม โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 15 เมษายน 2568 ส่วนระยะที่ 2 จะเรียกเก็บภาษีต่อเหล็ก เนื้อ ช็อกโกแลตขาว และสารโพลีเอทิลีน โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 16 พฤษภาคม 2568 ส่วนระยะที่ 3 จะเรียกเก็บภาษีต่ออัลมอนด์และถั่วเหลือง โดยมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ธันวาคม 2568

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)