ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกรกฎาคม 2568

ข่าวในประเทศ

A person holding a microphone

AI-generated content may be incorrect. 

นายเอกนัฏ พร้อมพันธ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

1. "เอกนัฏ" สั่งกนอ. ฟันนิคมศูนย์เหรียญ เพิ่มอุตสาหกรรมดีแทนที่ (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 18 กรกฎาคม 2568)

นายเอกนัฏ พร้อมพันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้มอบนโยบายแก่คณะกรรมการ กนอ.และผู้บริหารระดับสูงของ กนอ. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2568 ที่ผ่านมา โดยประกาศเจตนารมณ์อันแน่วแน่ในการทำงานที่เหมือนเป็นการทำงานวันสุดท้าย เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมย้ำว่า ภาคอุตสาหกรรมคือความหวังของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุน (Investment) ที่จะดึงดูดกลุ่มลูกค้าให้เข้ามาลงทุน สร้างงาน และส่งออกสินค้าสู่ตลาดโลก ซึ่งเปรียบเสมือนการ "จ้างช่างซ่อมที่ชื่อ เอกนัฏ พร้อมพันธ์" มาฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่ขณะเดียวกันภาคอุตสาหกรรมไทย ยังต้องเผชิญความท้าทายจากการแข่งขัน โดยเฉพาะมาตรการภาษีของสหรัฐฯ ที่กำหนดขอบเขตภาษีสูงถึง 36% ในบางสินค้า รวมถึงปัญหาห่วงโซ่อุปทาน(Supply Chain) ที่ซับซ้อน เช่น กรณีปัญหาชายแดนไทย-กัมพูชา ที่อาจเพิ่มต้นทุนการขนส่งจากการปรับเปลี่ยนไปใช้เส้นทางอื่น ทั้งนี้ ได้สั่งการให้ กนอ. ดำเนินการเร่งด่วน คือ 1. ปราบปราม "อุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ" หรือ "โรงงานเถื่อน" อย่างเข้มงวด โดยใช้ พ.ร.บ.โรงงานฯ มาตรา 39 วรรค 1 เพื่อจัดการกับโรงงานที่เข้ามากอบโกยผลประโยชน์แต่ไม่สร้างมูลค่า ลดคุณภาพสินค้า ปล่อยมลภาวะ และทิ้งกากขยะอุตสาหกรรม 2. ป้องกันคุณภาพสินค้าและสิ่งแวดล้อม โดยเน้นย้ำมาตรฐานอุตสาหกรรมและสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะปัญหากากอุตสาหกรรม ที่ขณะนี้ พ.ร.บ.กากอุตสาหกรรมฯกำลังอยู่ในระหว่างการผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งเป็น พ.ร.บ.กากอุตสาหกรรมฉบับแรกของไทย และ 3. อุดช่องว่างทางกฎหมาย ตรวจสอบความผิดพลาดการออกใบอนุญาตและการประกอบกิจการโรงงาน รวมถึงปัญหาช่องว่างการออกใบอนุญาตแรงงานต่างด้าว เพื่อป้องกันการผลิตโดยไม่แจ้งประกอบกิจการ รวมทั้งลดช่องว่างระหว่าง กนอ.และ

อย่างไรก็ตาม กรมโรงงานอุตสาหกรรม ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ BOI จะสนับสนุนการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) แต่ GDP ของประเทศกลับไม่ดีขึ้น สะท้อนถึงปัญหาที่ต้องแก้ไขที่ต้นตอ คือ การจัดการกับ "อุตสาหกรรมศูนย์เหรียญ" และ "โรงงานเถื่อน" ขณะเดียวกันมองว่าแม้ กนอ.จะเป็นรัฐวิสาหกิจแต่ไม่ได้ทำหน้าที่แค่หน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) เท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่สำคัญในการป้องกันความเสียหาย และอำนวยความสะดวกในการลงทุน โดยเชื่อว่า "ทุกการเปลี่ยนแปลง ทุกความท้าทาย ในวิกฤติมักมีโอกาสเสมอ"

 

นายณัฐพล รังสิตพล

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

2. โชว์ผลกองทุนฯ เอสเอ็มอีแนวประชารัฐติดปีกผู้ประกอบการไทยสู่การเติบโต (ที่มา: ผู้จัดการรายวัน 360 องศา, ประจำวันที่ 16 กรกฎาคม 2568)

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงอุตสาหกรรม ยินดีที่เป็นหนึ่งในกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ด้วยการสนับสนุนการเงินและองค์ความรู้แก่ผู้ประกอบการ SME ทั่วประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยผลความสำเร็จที่วัดได้ด้วยการตอบรับที่ดีจากผู้ประกอบการที่เป็นลูกค้าของกองทุนฯ และนำเงินทุนที่ได้ไปต่อยอดให้ธุรกิจดำเนินไปได้ และมีทิศทางเติบโตในอนาคต สำหรับตัวแทนของผู้ประกอบการไทยที่ได้เป็นลูกค้าของกองทุนเปิดเผยถึงประสบการณ์การเข้าร่วมโครงการฯ ที่ได้รับการสนับสนุนทั้งเงินทุน และเสริมสร้างเป็นโอกาสเรียนรู้การจัดการธุรกิจด้วยมุมมองใหม่ คือ นายวิธิชัย ตัณฑพฤกษ์ กรรมการผู้จัดการ เจ้าของและผู้ก่อตั้งแบรนด์ K Garden Fence ซึ่งดำเนินธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายรั้วตาข่ายคุณภาพสูงด้วยเทคโนโลยีจากออสเตรเลีย ได้แบ่งปันประสบการณ์ว่า จุดเริ่มต้นของธุรกิจมาจากการแก้ปัญหาที่พบเจอในการทำฟาร์มของตนเอง ทำให้เกิดการพัฒนาระบบรั้วที่ทนทาน ใช้งานได้นานถึง 40 ปี ช่วยประหยัดต้นทุนระยะยาวให้เกษตรกรซึ่งสินค้าของ K Garden Fence มีจุดเด่นด้านความทนทานต่อทุกสภาพอากาศ เป็น มิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นสนิม และได้รับมาตรฐาน มอก. อย่างถูกต้อง นอกจากนี้ ยังมีการต่อยอดผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น เสาเข็มเหล็ก และพัดลมอุตสาหกรรมประหยัดพลังงาน พร้อมบริการหลังการขายครบวงจร สำหรับอุปสรรคสำคัญที่ K Garden Fence เผชิญ คือ กำลังการผลิตไม่เพียงพอ และขาดแคลนเครื่องจักรที่ทันสมัย รวมถึงเงินทุนในการลงทุนต่อยอด ทำให้ไม่สามารถขยายตลาดได้ตามที่วางแผนไว้

อย่างไรก็ตาม ตอนนั้นเรารู้สึกเหมือนธุรกิจถูกเบรก ทั้งที่ความต้องการของลูกค้ากำลังมาแรง และทางบริษัทฯ ได้เล็งเห็นโอกาสจากโครงการ "โตไว ไทยยั่งยืน" จึงตัดสินใจสมัครเข้าร่วมทันที โดยได้รับสินเชื่อเพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่มูลค่า 2.8 ล้านบาท ซึ่งช่วยเพิ่มกำลังการผลิตได้อย่างชัดเจน และต่อยอดด้วย "โครงการสินเชื่อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถธุรกิจ" หรือ "โครงการเสือติดปีก" อีก 10 ล้านบาท สำหรับลงทุนเครื่องจักรในสายการผลิตพัดลมอุตสาหกรรม ทำให้ K Garden Fence สามารถเปิดตลาดใหม่ โดยเฉพาะกลุ่มโรงงานและฟาร์มที่ต้องการพัดลมประหยัดพลังงาน ส่งผลให้ยอดขายเพิ่มขึ้นกว่า 30% และในวันนี้ K Garden Fence ยังคงมีแผนพัฒนามอเตอร์พัดลมรุ่นใหม่ระดับโลก ที่ประหยัดพลังงานมากขึ้น โดยเชื่อมั่นว่าจะเติบโตได้อีกไกลด้วยการสนับสนุนจากภาครัฐ

 

A person sitting in a chair

AI-generated content may be incorrect.

นายภาสกร ชัยรัตน์

ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

3. สศอ. จัดงาน"Halal Food & Fashion of the World" เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาลไทยสู่ระดับสากล (ที่มา: สยามรัฐ, ประจำวันที่ 18 กรกฎาคม 2568)

นายภาสกร ชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมฮาลาลไทยสู่ระดับสากล ผ่านการจัดงาน "Halal Food & Fashion of the World"  สำหรับวัตถุประสงค์ของการจัดงาน "Halal Food & Fashion of the World" เพื่อสร้างการรับรู้เกี่ยวกับศักยภาพของอุตสาหกรรมฮาลาลไทย ตลอดจนยกระดับผลิตภัณฑ์ฮาลาลไทย โดยใช้จุดแข็งของอัตลักษณ์ไทย (Soft Power) เพื่อส่งออกสู่ตลาดสากล ทั้งนี้ อาหารฮาลาล เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์เป้าหมายในการยกระดับผลิตภัณฑ์ฮาลาลไทย ซึ่งในปัจจุบัน มีผู้นับถือศาสนาอิสลาม (มุสลิม) จำนวนประชากรกว่า 2,000 ล้านคน หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 25 ของประชากรโลก หรือ 1 ใน 4 ของประชากรโลก อัตราการเติบโตของประชากรมุสลิม ทั่วโลกอยู่ที่ราว ร้อยละ 1.5 ต่อปี ซึ่งสูงกว่าการเติบโตของประชากรศาสนาอื่นๆ ที่อยู่ประมาณ ร้อยละ 0.7 ต่อปี และคาดว่าตลาดสินค้าฮาลาลทั่วโลกในปี พ.ศ. 2571 จะมีมูลค่า 11.2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยกว่า 360 ล้านล้านบาท ซึ่งจะส่งผลต่อการขยายตัวของตลาด พฤติกรรรมผู้บริโภค ลักษณะการจับจ่ายใช้สอย ตลอดจนสินค้าและบริการที่จะได้รับความนิยมในอนาคต สำหรับจัดงานในครั้งนี้ มีผู้ประกอบการอาหารฮาลาลไทยที่ได้รับการรับรองมาตรฐานฮาลาล มากกว่า 50 ราย ร่วมแสดงสินค้า พร้อมทั้งยังมีกิจกรรมสาธิตการปรุงอาหารด้วยวัตถุดิบจากผู้ประกอบการ และกิจกรรม Business Matching การจับคู่ธุรกิจกับผู้ซื้อ ทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนการจัดแสดงสินค้าฮาลาลประเภทเสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย และเครื่องประดับ เพื่อเป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนาสินค้าและเข้าสู่ตลาดฮาลาลได้อย่างมั่นใจและมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม จึงนำ Halal One Stop Service Center หรือศูนย์บริการอุตสาหกรรมฮาลาลแบบเบ็ดเสร็จ มาให้คำปรึกษาภายในงาน โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญ ให้คำแนะนำอย่างครบวงจร อาทิ การขอรับรองตราสัญลักษณ์ฮาลาลจากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย กฎระเบียบในการนำเข้าและส่งออกสินค้าฮาลาล การยกระดับสินค้า ให้ได้มาตรฐานฮาลาลเพื่อการส่งออก การพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมถึงการให้บริการด้านสินเชื่อและ ที่ปรึกษาทางการเงินสำหรับผู้ประกอบการฮาลาลไทย พร้อมกันนี้ ภายในงานวันนี้ ยังมีการประกาศเจตนารมณ์ความร่วมมือด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาล ระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กับสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจการฮาลาล ยกระดับ การผลิตให้เป็นไปตามมาตรฐานฮาลาล พัฒนาบุคลากร เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้อง พัฒนาช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนบูรณาการการทำงาน เพื่อแนะนำ/ส่งต่อผู้ประกอบการระหว่างกัน

 

ข่าวต่างประเทศ

A flag with a yellow star and a crescent moon

AI-generated content may be incorrect.

4. มาเลเซียคุมเข้มส่งออกชิปเอไอจากสหรัฐ ป้องกันลักลอบส่งต่อไปจีน (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 15 กรกฎาคม 2568)

กระทรวงการลงทุน การค้า และอุตสาหกรรมของมาเลเซีย เปิดเผยแถลงการณ์ว่า การส่งออก การส่งต่อ (transshipment) และการขนส่งผ่าน (transit) ชิปปัญญาประดิษฐ์                   (เอไอ) สมรรถนะสูง ซึ่งมีแหล่งกำเนิดจากสหรัฐ จะต้องได้รับใบอนุญาตการค้ากลยุทธ์ (strategic trade permit) ก่อนดำเนินการ ซึ่งมาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ทันที เพื่อปิดช่องโหว่ทางกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ขณะเดียวกัน หน่วยงานรัฐทุกแห่งที่เกี่ยวข้องของมาเลเซียอยู่ระหว่างการเร่งหารือ และพิจารณากันเพิ่มเติมเป็นการภายใน ว่าจะขึ้นบัญชีชิปเอไอสมรรถนะสูงของสหรัฐ ไว้ในรายการสินค้ากลยุทธ์ของประเทศด้วยหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ รัฐบาลวอชิงตันแสดงความวิตกกังวลอย่างเปิดเผยต่อมาเลเซีย ว่าเป็น “ประเทศทางผ่าน” ของการส่งออกชิปจากสหรัฐไปยังจีน ซึ่งรัฐบาลวอชิงตันยังคงคว่ำบาตรรัฐบาลปักกิ่งในภาคส่วนนี้อยู่ ขณะที่ เดอะ วอลล์ สตรีท เจอร์นัล รายงานเมื่อเดือนมีนาคม 2568 ที่ผ่านมา ว่ารัฐบาลมาเลเซียกำลังตรวจสอบข้อมูลว่า บริษัทจีนอาจหลีกเลี่ยงข้อจำกัดการส่งออกของสหรัฐในเรื่องนี้ โดยใช้เซิร์ฟเวอร์ที่ติดตั้งชิปของเอ็นวิเดีย ซึ่งตั้งอยู่ในมาเลเซีย ทั้งนี้ สหรัฐขู่เรียกเก็บภาษีอัตรา 25% จากมาเลเซีย ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2568 นี้ หากทั้งสองประเทศไม่สามารถเจรจาเพื่อบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้         

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)