ข่าวประจำวันที่ 7 พฤษภาคม 2567

ข่าวในประเทศ

A person sitting at a microphone

Description automatically generated

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. "พิมพ์ภัทรา" ดันซอฟต์พาวเวอร์ (ที่มา: ไทยรัฐ, ประจำวันที่ 7 พฤษภาคม 2567)

น.ส.พิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้ประกาศใช้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เพิ่มเติมด้านการท่องเที่ยว เพื่อสนับสนุนนโยบายซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) อีกจำนวน 6 มอก. ได้แก่ 1. มอก.การเยี่ยมชมสถานที่ทางธรรมชาติ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ 2. มอก.การดำเนินงานเกี่ยวกับชายหาด 3. มอก.โรงแรมย้อนยุค 4. มอก.ร้านอาหารแบบดั้งเดิม 5. มอก.การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ และ 6. มอก.การบริการนักท่องเที่ยวเพื่อสาธารณประโยชน์ โดยหน่วยงานคุ้มครองพื้นที่คุ้มครองธรรมชาติ พร้อมทั้งทบทวนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) ที่เชื่อมโยงกับนโยบาย Soft Power จำนวน 10 มอก. เช่น ข้าวเกรียบกรือโป๊ะ สุรากลั่นชุมชน ไวน์ผลไม้ เป็นต้น และได้จัดทำมาตรฐานผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อรองรับการขับเคลื่อนนโยบายฮาลาล จำนวน 3 มอก. คือ 1. แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด 2. เส้นหมี่ 3. โยเกิร์ตกรอบ สำหรับผลการดำเนินงานของ สมอ. ในรอบ 6 เดือน ประจำปีงบประมาณ 2567 (เดือนตุลาคม 2566 – มีนาคม 2567) สมอ.ได้เน้นในการกวาดล้างสินค้าด้อยคุณภาพให้หมดไปจากท้องตลาด โดยเฉพาะสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่ได้ มอก. สร้างผลกระทบให้กับผู้ประกอบการภายในประเทศเป็นวงกว้าง ซึ่งได้ดำเนินการตรวจควบคุมการจำหน่ายสินค้าที่อยู่ในข่ายการควบคุมของสมอ.จำนวน 144 รายการ อย่างเข้มข้นและต่อเนื่องในทุกช่องทาง ทั้งการลงพื้นที่ตรวจสอบและตรวจติดตามการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ โดยตรวจจับผู้ประกอบการที่ทำผิดกฎหมายลักลอบผลิตและนำเข้าสินค้าไม่ได้ มอก. 191 ราย ยึดอายัดสินค้าเป็นมูลค่ากว่า 220 ล้านบาท โดย 3 อันดับแรก ได้แก่ 1. เหล็กและวัสดุก่อสร้าง 87.70 ล้านบาท 2. ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ 73.23 ล้านบาท 3. ยานยนต์ 54.09 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ขณะเดียวกันในการกำหนดมาตรฐาน สมอ.ตั้งเป้ากำหนดมาตรฐานในปีงบประมาณ 2567 รวม 1,000 เรื่อง โดยระหว่างเดือนตุลาคม 2566 – มีนาคม 2567 สามารถกำหนด มอก.ได้ รวม 469 เรื่อง เช่น เครื่องวัดปริมาณแอลกอฮอล์จากลมหายใจ ฝารองนั่งสุขภัณฑ์ไฟฟ้า หลอดฟลูออเรสเซนต์สำหรับเปลี่ยนสีผิวเป็นสีแทน และมาตรฐานวิธีทดสอบยานยนต์ (อีวี) เป็นต้น และได้ประกาศให้สินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของประชาชนเป็นสินค้าควบคุมเพิ่มอีก 24 ผลิตภัณฑ์ เช่น บันไดเลื่อน ลิฟต์ คาร์ซีต แบตเตอรี่อีวี ภาชนะพลาสติก และภาชนะสเตนเลส เป็นต้น

 

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายบรรจง สุกรีฑา

รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

 

2อุตฯดึงจีนลงทุนไทย พร้อมเป็นฐานผลิตรถไฟฟ้า (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 7 พฤษภาคม 2567)

นายบรรจง สุกรีฑา รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นผู้แทนร่วมงานสัมมนา "ส่งเสริมเศรษฐกิจการค้าการท่องเที่ยวและวัฒนธรรมจีน (เหอหนาน)-ไทย เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ไทย-จีน ด้านการค้าการลงทุน แลกเปลี่ยนความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศไทยกับมณฑลเหอหนาน โดยมีนายซุน โซวกัง กรรมการประจำคณะกรรมการกรมการเมืองถาวร มณฑลเหอหนาน ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน และรองผู้ว่าการมณฑลเหอหนานเป็นประธาน ซึ่งการพบกับนายซุน โซวกัง ถือเป็นโอกาสอันดีต่อการพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือของไทยและจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระชับความร่วมมือกับมณฑลเหอหนาน ซึ่งเป็นมณฑลที่มีความน่าสนใจ มีความล้ำหน้าในทางเศรษฐกิจแห่งหนึ่งของจีน โดยประเทศจีนถือเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของประเทศไทยมีการติดต่อเป็นเวลากว่า 11 ปี ภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง มีการประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 14 พ.ศ. 2564-2568 เน้นให้ความสำคัญกับการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศ เสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจเป็นรายมณฑล รวมถึงการพัฒนาเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม ทางด้านสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้รายงานภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 4 ปี 2566 และแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2567 ของไทย โดยส่วนหนึ่งของรายงานดังกล่าวระบุถึงสถานการณ์การลงทุน โดยเฉพาะแนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) สำหรับกำลังการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในไทยที่เป็นบริษัทรถจากประเทศจีน ทั้งนี้หากกำลังการผลิตของโรงงานรถยนต์ไฟฟ้า สามารถผลิตได้ตามเงื่อนไขของมาตรการจะช่วยส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนไฟฟ้าที่สำคัญของโลกได้ ในส่วนนโยบาย EV 3.0 มาจนถึง EV 3.5 รัฐบาลยังมีการเดินหน้าตามแผน และมาตรการช่วยเหลือนักลงทุน และมีมาตรการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าระยะที่ 2 โดยพิจารณาสิทธิประโยชน์มาตรการ EV3.5 ในอัตราภาษีและเงินอุดหนุนที่เหมาะสม เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทยเพิ่มขึ้นปัจจุบันรถไฟฟ้าจากจีนสามารถทำตลาดที่ไทยได้อย่างต่อเนื่องและมีท่าทีที่ได้รับความนิยมมากขึ้น เห็นได้จากยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนที่เพิ่มขึ้นในงานมหกรรมยานยนต์ต่างๆ ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมขอบคุณผู้ประกอบการจากจีนที่ให้ความสำคัญกับไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อ     การพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ และไทยมีความพร้อมในการรองรับการลงทุนจากต่างชาติโดยเฉพาะจากจีน ขอให้เชื่อมั่นในการเลือกไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมที่สำคัญทั้งในแง่ของการลงทุนใหม่และการขยายการลงทุนเพิ่มเติมในอนาคตด้วย

 

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล

ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท)

3. “ส.อ.ท.” ประเมินศก.ครึ่งปีหลังทยอยฟื้นตัวแนะรัฐกระตุ้นท่องเที่ยว-ส่งออก-ช่วย SMEs (ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์, ประจำวันที่ 4 พฤษภาคม 2567)

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท) เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจครึ่งปีหลังจะทยอยฟื้นตัวสูงโดยภาครัฐควรเร่งผลักดันการใช้งบประมาณปี 2567 ที่ล่าช้ามา 7-8 เดือน ขณะที่ งบฯ ปี 2568 ก็ผ่านคณะรัฐมนตรีแล้ว คาดว่าจะเร่งเสนอ สภาฯ และสามารถใช้ได้ตามกำหนดการปกติที่จะเริ่มเดือนตุลาคม 2567 พร้อมกับขับเคลื่อนเครื่องยนต์เศรษฐกิจหลักทั้งภาคการท่องเที่ยว การส่งออกและการลงทุนให้มากขึ้น สำหรับเครื่องยนต์หลักที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี 2567 ได้แก่ ภาคการท่องเที่ยวซึ่งหากดึงนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าได้ตามเป้าหมาย 35-36 ล้านคน และหากมีการโปรโมทการท่องเที่ยวเพิ่มเช่นเทศกาลสงกรานต์ โดยมีการจัดงานเทศกาลต่างๆ ที่จะส่งเสริมการลงทุนแล้วดึง Soft Power เข้ามาสร้างอัตลักษณ์เพิ่มตัวก็จะช่วยให้ตัวเลขนักท่องเที่ยวอาจกลับไปเช่นเดียวกับปี 2562 ก็เป็นไปได้สูง ทั้งนนี้ การส่งออกเดือนมีนาคม 2567 ของไทยมีมูลค่า 24,960.6 ล้านดอลลาร์ หดตัว 10.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ติดลบครั้งแรกรอบ 8 เดือน ขณะที่ภาพรวม 3 เดือนแรกของปี 2567 มีมูลค่า 70,995.3 ล้านดอลลาร์ หดตัว 0.2% ซึ่งมากจากการลดลงของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร 5.1 % เนื่องจากเจอภาวะภัยแล้ง และสินค้าอุตสาหกรรมบางส่วนได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอซึ่งคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) คาดว่าการส่งออกปี 2567 ยังโต 2-3% แต่ยอมรับว่ายังมีปัจจัยเสี่ยงและความไม่แน่นอนสูงจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ภาครัฐควรมองหาตลาดใหม่ๆ ส่งเสริมการใช้สินค้าไทย ฯลฯ

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้รัฐต้องเร่งช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (SMEs) เร่งด่วน เนื่องจากยังคงเผชิญกับสินค้าไร้มาตรฐานเข้ามาดัมพ์ราคาโดยมีทั้งเข้ามาแบบถูกกฎหมาย และไม่ถูกหมายโดยสำแดงเท็จขณะนี้ 46 กลุ่มอุตสาหกรรมส.อ.ท.ได้รับผลกระทบแล้ว 20 กว่ากลุ่มหากไม่เร่งแก้ไขอาจเป็น 30 กว่ากลุ่มได้ ขณะเดียวกัน SMEs ยังมีปัญหาขาดสภาพคล่องขอเงินกู้ได้ยาก ควรช่วยเหลือมีมาตรการการคลังมาเพิ่มเติม เช่น บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.). มาค้ำประกันเงินกู้ให้ธนาคารพาณิชย์ไว้วางใจ เพราะขณะนี้ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดการปล่อยสินเชื่อมาก ทั้ง 2 เรื่องนี้หากไม่เร่งแก้ปัญหาอาจทำให้การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ผลเท่าที่ควร

 

ข่าวต่างประเทศ

A red flag with yellow stars

Description automatically generated

 

4. PMI ภาคบริการจีนขยายตัวต่อเนื่องเดือนที่ 16 หนุนความหวังศก.ฟื้นตัวยั่งยืน (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 7 พฤษภาคม 2567)

ผลสำรวจซึ่งจัดทำโดยไฉซินและเอสแอนด์พี โกลบอล เปิดเผยว่า ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนชะลอตัวลงในเดือนเมษายน 2567 ท่ามกลางต้นทุนที่ปรับสูงขึ้น โดยยอดสั่งซื้อใหม่ในภาคบริการปรับตัวเพิ่มขึ้นและความเชื่อมั่นทางธุรกิจเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง ซึ่งทำให้ตลาดมีความหวังมากขึ้นว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ดัชนี PMI ภาคบริการเดือนเมษายน 2567 ชะลอตัวลงสู่ระดับ 52.5 จากระดับ 52.7 ในเดือนมีนาคม ทั้งนี้ ดัชนีที่สูงกว่าระดับ 50 บ่งชี้ว่าภาคบริการมีการขยายตัว และนับเป็นเดือนที่ 16 ติดต่อกันที่ดัชนีอยู่เหนือระดับดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม รายงานของไฉซินยังระบุด้วยว่า ธุรกิจใหม่โดยรวมพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2566 ขณะที่อุปสงค์ในต่างประเทศปรับตัวดีขึ้นและกิจกรรมด้านการท่องเที่ยวมีการขยายตัว ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ช่วยหนุนยอดสั่งซื้อใหม่ในภาคบริการพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน และยังช่วยให้ความเชื่อมั่นทางธุรกิจของบรรดาผู้ประกอบการในภาคบริการของจีนในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ทะยานขึ้นแตะระดับสูงสุดในปีนี้ด้วย

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)