ข่าวประจำวันที่ 8 พฤษภาคม 2567

ข่าวในประเทศ

A person in a suit leaning on a railing

Description automatically generated

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี

 

1. 'นายกฯ' เร่งตั้งศูนย์วันสต็อปเซอร์วิส (ที่มา: เดลินิวส์, ประจำวันที่ 8 พฤษภาคม 2567)

นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี โพสต์ภาพและข้อความผ่านโซเชียล โดยเป็นภาพร่วมประชุมกับรัฐมนตรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายพิชัย ชุนหวชิระ รองนายก รัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า ศูนย์บริการค้าชายแดนเบ็ดเสร็จ หรือ One Stop Service ต้องเสริมศักยภาพการส่งออกสินค้าโดยเฉพาะภาคเกษตร ต้องมีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว ก่อนเข้าประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาประชุม เรื่อง การจัดตั้งศูนย์ One Stop Service ซึ่งตนได้มอบหมายให้กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งวางแผนการให้บริการแก่ประชาชน และผู้ประกอบการในรูปแบบ Single Submission ซึ่งได้กำหนดให้มีการทดลองระบบ วันที่ 1 กันยายน 2567 นี้  ที่ด่านศุลกากรหนองคาย และให้แล้วเสร็จเต็มรูปแบบในวันที่ 1 ตุลาคม 2567 นี้ โดยให้คณะอนุกรรมการฯ ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน เร่งพิจารณาในด่านศุลกากรอื่นๆ ที่มีความพร้อมให้เร่งดำเนินการคู่ขนานกันไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายเศรษฐา ให้สัมภาษณ์ ว่า ในที่ประชุมได้เน้นย้ำให้มีการเร่งวางแผนการจัดตั้งศูนย์บริการการค้าชายแดนเบ็ดเสร็จ หรือวันสต็อปเซอร์วิส เพื่อให้บริการประชาชนและผู้ประกอบการ โดยให้มีการทดลองระบบในวันที่ 1 กันยายน 2567 นี้ ที่ด่านศุลกากรหนองคาย เพราะจากการลงพื้นที่ จังหวัดหนองคาย เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เราไม่อยากให้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เป็นหมื่นเป็นแสนล้านแล้วต้องไปเสียเวลาที่ด่าน และไม่อยากให้ผู้ประกอบการเสียประโยชน์ตรงนี้ไป ซึ่งได้เน้นย้ำให้ใช้บริการเต็มรูปแบบในทุกด่านหลักวันที่ 1 ตุลาคม 2567 และอยากให้ด่านศุลกากรอื่นๆ ที่มีความพร้อมดำเนินการคู่ขนานไปด้วย

A person in a suit and tie

Description automatically generated

นายชัยชาญ เจริญสุข

ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)

2สรท.มั่นใจส่งออกปี 67 ยังโตได้ 1-2% (ที่มา: ข่าวสด, ประจำวันที่ 8 พฤษภาคม 2567)

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยถึงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนมีนาคม 2567 ว่า การส่งออกมีมูลค่า 24,960.6 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน หดตัว 10.9% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 892,290 ล้านบาท หดตัว 6.6% ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 26,123.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 5.6% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 944,828 ล้านบาท ขยายตัว 10.7% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมีนาคม 2567 ขาดดุลเท่ากับ 1,163.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเท่ากับ 52,538 ล้านบาท ส่วนภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยในไตรมาสแรก (มกราคม - มีนาคม) ของปี 2567 ไทยส่งออกรวมมูลค่า 70,995.3 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหดตัว 0.2% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 2,504,009 ล้านบาท ขยายตัว 4.2% ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 75,470.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 3.8% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 2,692,023 ล้านบาท ขยายตัว 8.2% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม - มีนาคม 2567 ขาดดุลเท่ากับ 4,475.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 188,014 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม สรท.ยังคงเป้าหมายส่งออกปี 2567 ไว้ที่ 1-2% สินค้าเกษตรไทยยังส่งออกได้ดี โดยเฉพาะข้าวความต้องการตลาดโลกเพิ่มขึ้น ยางพารายังขยายตัวดีปีนี้คาดว่าจะโต 10% อาหารจะขยายตัวได้ 2-3% ขณะที่สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกหลัก คือ ยานพาหนะ อุปกรณ์ และส่วนประกอบและเครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ยังขยายตัว 1-2% และ 5% ตามลำดับ ทั้งนี้ สำหรับปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยืดเยื้อส่งผลกระทบไปยังประเทศอื่น กระทบต่อการค้าและเศรษฐกิจโดยรวม, ความกังวลเรื่องต้นทุนภาคการผลิตคือ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท, ต้นทุนพลังงานที่ปรับเพิ่มขึ้น, อัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงทรงตัวระดับสูง และค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้นทุกเส้นทาง และปัญหาภัยแล้ง

 

A person in a suit smiling

Description automatically generated

นายสุรพงษ์ ไพรสิฐพัฒนพงษ์

โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)

 

3. ยานยนต์วอนรัฐหันมาเหลียวแลบ้าง (ที่มา: ไทยรัฐ, ประจำวันที่ 8 พฤษภาคม 2567)

 

นายสุรพงษ์ ไพรสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า กลุ่มยานยนต์ตลอดทั้งปีนี้คาดว่ายอดการปฏิเสธสินเชื่อรถกระบะของประเทศไทยจะใกล้เคียงระดับเดียวกับปี 2566 ประมาณ 30-40% ถือว่าอยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยผลดังกล่าวทำให้ยอดจำหน่ายลดลงตาม ดังนั้น หากเป็นไปได้ต้องการให้รัฐบาลได้มีการพิจารณามาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมยานยนต์เช่นเดียวกับภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ออกมาเพราะอุตสาหกรรมยานยนต์มีความเกี่ยวข้องอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (Supply Chain) จำนวนมาก เช่นเดียวกับภาคอสังหาฯ เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก หนัง กระจก ปิโตรเคมี ยางล้อ ชิ้นส่วน เป็นต้น นอกจากนี้ กรณีที่สถาบันการเงินที่ปล่อยสินเชื่อ เพื่อรถยนต์ยังมีความกังวลเรื่องหนี้เสีย (NPL) จึงเพิ่มความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อมากเพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) ที่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ที่ผ่านมา ซึ่งเดิม ปีนี้คิดว่ายอดปฏิเสธสินเชื่อรถกระบะจะอยู่ในระดับ 10% แต่ขณะนี้ยอดปฏิเสธยังคงสูงต่อเนื่องและใกล้เคียงกับปีก่อน รวมๆ กันจึงทำให้กระบะที่เคยยอดขายนำรถยนต์นั่งก็กลายเป็นลดลง และที่สำคัญประเทศไทยเป็นฐานการผลิตรถกระบะเพื่อการส่งออกคิดเป็นสัดส่วน 55% ของยอดการผลิตรวมจึงอยากให้รัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาครถยนต์เช่นเดียวกับอสังหาฯ

อย่างไรก็ตาม ขณะเดียวกัน กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์คาดหวังว่ารัฐบาลจะเร่งเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท โดยเร็วหลังจากที่ล่าช้าที่ปกติต้องเริ่มใช้วันที่ 1 ตุลาคมของทุกปีตามปฏิทินงบประมาณหรือล่าช้าออกไปถึง 6 เดือน เนื่องจากมีการเลือกตั้งและจัดตั้งรัฐบาลใหม่และรัฐบาลเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจท่องเที่ยวการลงทุนเพื่อให้คนไทยมีงานทำและมีรายได้เพิ่มขึ้นและต่อเนื่องในการเบิกงบประมาณปี 2568 ต่อเนื่องในเดือนตุลาคมนี้ เพื่อทำให้เศรษฐกิจครึ่งปีหลังทยอยฟื้นตัวก็จะทำให้ยอดขายรถยนต์โดยรวมครึ่งปีหลังฟื้นตัวขึ้น ทั้งนี้ ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศเดือนมีนาคม 2567 ที่ผ่านมามี 56,099 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันของปีก่อน 29.83% โดยเฉพาะรถกระบะยอดขายเดือนมีนาคมมีจำนวน 16,212 คันลดลงถึง 45.27%

 

ข่าวต่างประเทศ

A red circle on a white cloth

Description automatically generated

 

4. ผู้ว่า BOJ ส่งสัญญาณปรับนโยบายการเงิน หากเยนอ่อนกระทบเงินเฟ้อ (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 8 พฤษภาคม 2567)

นายคาซูโอะ อุเอดะ ผู้ว่าการธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ได้แถลงต่อรัฐสภาญี่ปุ่นในวันนี้ว่า BOJ อาจจะใช้นโยบายการเงิน หากความเคลื่อนไหวของเงินเยนส่งผลกระทบต่อเงินเฟ้อ ซึ่งถ้อยแถลงดังกล่าวถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนว่า BOJ จะป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากเงินเยนที่ร่วงลงอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ เงินเยนที่อ่อนค่าลงได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในหลายทาง ซึ่งรวมถึงการทำให้ต้นทุนการนำเข้าปรับตัวสูงขึ้น อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่ออุปสงค์สินค้าและการบริการ ในขณะที่ BOJ ไม่ต้องการใช้นโยบายการเงินในการควบคุมความเคลื่อนไหวของเงินเยนโดยตรงนั้น BOJ ก็จะทำการตรวจสอบว่า ความเคลื่อนไหวของเงินเยนส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญหรือไม่

อย่างไรก็ตาม ค่าจ้างของบรรดาบริษัทเอกชนและพฤติกรรมการกำหนดราคาของบริษัทเหล่านี้ กำลังเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ BOJ จึงจำเป็นต้องจับตาเพื่อประเมินว่าความเสี่ยงของผลกระทบที่เกิดจากความผันผวนของค่าเงินนั้น จะรุนแรงเหมือนในอดีตหรือไม่ ซึ่งความเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนจะมีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่ BOJ จะตอบสนองเรื่องนี้ด้วยการใช้นโยบายการเงิน ทั้งนี้ การแสดงความเห็นของนายอุเอดะหลังการประชุมนโยบายการเงินของ BOJ ในเดือนที่แล้วเป็นสาเหตุที่ทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากทำให้ตลาดคาดการณ์ว่า BOJ จะเลื่อนเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยออกไป โดยปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยของ BOJ อยู่ที่ 0-0.1%

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)