ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 4 ของเดือนตุลาคม 2567

ข่าวในประเทศ

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

 

1. สมอ.ขับเคลื่อนอุตฯใหม่ บอร์ดไฟเขียวลอตแรก 512 มาตรฐาน (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 25 ตุลาคม 2567)

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้เร่งรัดให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กำหนดมาตรฐานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม โดยเฉพาะมาตรฐานในกลุ่มอุตสาหกรรม S-curve และ New S-curve เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมดิจิทัล หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม การเกษตรและเทคโนโลยี และอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เป็นต้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันให้ผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SMEs ฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จำเป็นต้องพัฒนาสินค้าและบริการให้มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค และเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายสินค้าในเวทีการค้าโลก ทั้งนี้ ยังเร่งรัดให้ สมอ. ยกระดับการคุ้มครองความปลอดภัยให้แก่ประชาชน โดยการควบคุมสินค้าที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนให้มาก ยิ่งขึ้น ซึ่งปัจจุบันมี 144 รายการ ครอบคลุมสินค้า 308 ผลิตภัณฑ์ ที่ผู้ประกอบการทั้งทำ นำเข้า และจำหน่าย จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน รวมทั้งเพิ่มความถี่และความ เข้มงวดในการตรวจควบคุมสินค้าที่จำหน่ายอยู่ในท้องตลาดและทางออนไลน์ หากพบการ กระทำความผิดให้ดำเนินการทางกฎหมายอย่างถึงที่สุด

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนายวันชัย พนมชัย เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567 ที่ประชุมคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (กมอ.) หรือ บอร์ด สมอ. ได้มีมติเห็นชอบแผนการกำหนดมาตรฐาน ประจำปี 2568 ที่ สมอ. ขออนุมัติเป็นครั้งแรก จำนวน 512 มาตรฐาน แบ่งเป็นมาตรฐานกลุ่ม S-Curve จำนวน 125 มาตรฐาน ได้แก่ การเกษตรและเทคโนโลยี 65 มาตรฐาน อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร 58 มาตรฐาน เชื้อเพลิงชีวภาพ 2 มาตรฐาน และกลุ่ม New S-Curve จำนวน 94 มาตรฐาน ได้แก่ ยานยนต์สมัยใหม่ 62 มาตรฐาน อุตสาหกรรมดิจิทัล 16 มาตรฐาน หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม 16 มาตรฐาน และกลุ่มส่งเสริมผู้ประกอบการ จำนวน 293 มาตรฐาน นอกจากนี้ ยังเห็นชอบมาตรฐานอีก 68 มาตรฐาน เช่น มาตรฐานหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร เคมี และไฟฟ้าส่องสว่าง เป็นต้น ทั้งนี้ ในปี 2567 ที่ผ่านมา สมอ. ได้ขออนุมัติบอร์ดจัดทำมาตรฐานทั้งสิ้น 1,685 มาตรฐาน ดำเนินการแล้วเสร็จ 1,495 มาตรฐาน แบ่งเป็นมาตรฐานกลุ่มนโยบายที่รัฐส่งเสริม 64 มาตรฐาน กลุ่ม S-Curve 389 มาตรฐาน กลุ่ม New S-Curve 261 มาตรฐาน กลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญ 153 มาตรฐาน และกลุ่มส่งเสริมผู้ประกอบการ 628 มาตรฐาน ยังคงเหลืออีก 190 มาตรฐานที่อยู่ระหว่างดำเนินการ

 

A person sitting at a desk writing on papers

Description automatically generated

นายณัฐพล รังสิตพล

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

 

2. ปลัดอุตฯถกบอร์ดกองทุนเอสเอ็มอี ธุรกิจแห่ขอสินเชื่อเสือติดปีก 800 ล. (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 24 ตุลาคม 2567)

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ เปิดเผยว่า ประชุมคณะกรรมการ ครั้งที่ 1/2568 ได้ติดตามการดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถธุรกิจ (เสือติดปีก) วงเงิน 1,200 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ประกอบการยื่นคำขอสินเชื่อแล้ว กว่า 800 ล้านบาท ส่วนโครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องธุรกิจ (คงกระพัน) วงเงิน 700 ล้านบาท มีผู้ประกอบการยื่นคำขอสินเชื่อแล้วกว่า 200 ล้านบาท พร้อมกำชับธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เร่งวิเคราะห์อนุมัติสินเชื่อให้เร็วขึ้น ทั้งนี้ สำหรับรูปแบบการให้สินเชื่อนั้น จะมีกรอบวงเงินรวม 1,200 ล้านบาท วงเงินกู้สูงสุดไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อราย และเป็นเงินกู้ระยะยาว อัตราดอกเบี้ยคงที่ 3-5% ต่อปี (ขึ้นอยู่กับหลักประกัน) ระยะเวลากู้สูงสุด 10 ปี ปลอดชำระคืนเงินต้นสูงสุด 12 เดือน มีหลักประกัน เช่น ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง เครื่องจักร หรือหลักประกันทางธุรกิจหรือมีบุคคลค้ำประกัน เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ติดตามการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยพิบัติ ตามรายงานสถานการณ์สาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2567) ใน 11 จังหวัด คือเชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน พะเยา ลำพูน สุโขทัย ภูเก็ต อุดรธานี หนองคาย และ                    บึงกาฬ รวม 48 ราย มูลค่าความเสียหายประมาณ 35.21 ล้านบาท โดยความเสียหายที่เกิด ได้แก่ โรงงาน เครื่องจักร วัตถุดิบ เป็นต้น

 

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์

เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

 

3. "บีโอไอ" ปลื้มขอลงทุน 7.2 แสนล้าน (ที่มา: ไทยรัฐ, ประจำวันที่ 22 ตุลาคม 2567)

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า 9 เดือนแรกของปีนี้(มกราคม - กันยายน) ตัวเลขคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจำนวนโครงการและเงินลงทุน โดยมี 2,195 โครงการ เพิ่มขึ้น 46% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมูลค่าเงินรวม 722,528 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 42% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นยอดลงทุนที่สูงสุดในรอบ 10 ปี สะท้อนถึงศักยภาพและพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ดีของไทย ทำให้เกิดการลงทุนโครงการใหญ่ในอุตสาหกรรมใหม่ๆ เช่น เซมิคอนดักเตอร์และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ดาต้าเซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ ยานยนต์ไฟฟ้า ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีมูลค่าเงินลงทุนสูงสุด 5 อันดับแรก อาทิอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มูลค่า 183,444 ล้านบาท รองลงมา ได้แก่ ดิจิทัล มูลค่า 94,197 ล้านบาท ยานยนต์และชิ้นส่วน มูลค่า 67,849 ล้านบาท ขณะที่กิจการที่มีการลงทุนสูงและอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เช่น กิจการ Data Center จำนวน 8 โครงการ เงินลงทุนรวม 92,764 ล้านบาท และมีการลงทุนจากบริษัทรายใหญ่สัญชาติอเมริกัน ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย,กิจการผลิตอิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูง ได้แก่ การผลิต Wafer ,การประกอบเซมิคอนดักเตอร์ และวงจรรวมจำนวน 15 โครงการลงทุน 19,856 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ขณะที่การลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ยังขยายตัวต่อเนื่องมีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริม 1,449 โครงการ เพิ่มขึ้น 66% รวม 546,617 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 38% โดยประเทศที่มีมูลค่าขอรับการส่งเสริมสูงสุด ได้แก่ สิงคโปร์ 180,838 ล้านบาท ในแง่พื้นที่เงินลงทุนส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกรวม 408,737 ล้านบาท สำหรับการออกบัตรส่งเสริม 9 เดือนแรก ปีนี้มี 2,072 โครงการ เพิ่มขึ้น 59% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเงินลงทุน 672,165 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 101% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโครงการที่ได้รับอนุมัติ 9 เดือนแรก มีการจ้างงานคนไทย 170,000 คน ใช้วัตถุดิบในประเทศ 800,000 ล้านบาทต่อปี และเพิ่มมูลค่าส่งออกของประเทศอีก 2 ล้านล้านบาทต่อปี

 

ข่าวต่างประเทศ

A blue and white logo

Description automatically generated

 

4. IMF คาดช่วง 5 ปีข้างหน้า เศรษฐกิจโลกพึ่งพา BRICS หนัก จีนนำโด่งรันการเติบโต (ที่มา: ประชาชาติธุรกิจ, ประจำวันที่ 24 ตุลาคม 2567)

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund : IMF) เปิดเผยคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะพึ่งพากลุ่มบริกส์ (BRICS) ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ เพื่อขับเคลื่อนการเติบโต มากกว่ากลุ่มประเทศตะวันตกที่มีฐานะร่ำรวย โดยการคาดการณ์ใหม่ล่าสุดของ IMF ซึ่งคำนวณบนฐานความเสมอภาคของอำนาจซื้อ (Purchasing power parity : PPP) คาดว่า การเติบโตของเศรษฐกิจโลกตลอดช่วง 5 ปีข้างหน้าจะมาจากกลุ่มประเทศ BRICS ที่มีเศรษฐกิจแข็งแกร่ง อย่างเช่น จีน อินเดีย รัสเซีย และบราซิล ในทางตรงกันข้าม การคาดการณ์การมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกของประเทศสมาชิกกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำของโลก (G7) เช่น สหรัฐ เยอรมนี และญี่ปุ่น ถูกปรับลดลง

อย่างไรก็ตาม ตามการคำนวณของบลูมเบิร์กที่ใช้คาดการณ์ใหม่ของ IMF พบว่า จีนจะเป็นประเทศที่มีส่วนขับเคลื่อนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกสูงสุดในช่วง 5 ปีข้างหน้า (จาก 2024 ถึง 2029) โดยมีส่วนแบ่ง 21.7% ในการสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจโลกโดยรวม ซึ่งมากกว่าทั้งกลุ่ม G7 รวมกัน และอินเดียเป็นอีกประเทศหนึ่งที่เติบโตเร็วที่สุด ซึ่งคาดว่าจะมีส่วนขับเคลื่อนการเติบโตเกือบ 14.8% ของการเติบโตของเศรษฐกิจโลกทั้งหมดจากปี 2024 จนถึงปี 2029    

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)