ข่าวเด่นประจำสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคม 2568

ข่าวในประเทศ

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร

นายกรัฐมนตรี

 

1. นายกฯ ปลื้มยอดลงทุนทะลุ 1.13 ล้านล. รอบ 10 ปี (ที่มา: สยามรัฐ, ประจำวันที่ 13 มีนาคม 2568)

น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษเปิดงานเผยแพร่ยุทธศาสตร์และนโยบายส่งเสริมการลงทุน ในหัวข้อ "Ignite Thailand : Invest in Endless Opportunities โอกาสการลงทุนไร้ขีดจำกัดในประเทศไทย" โดยมี นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายมาริษ เสงี่ยมพงษ์ รัฐมนตรีว่าการการต่างประเทศ นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม โดยรัฐบาลยังตั้งเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่นักลงทุนให้ความสนใจในฐานะศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์และอากาศยานของภูมิภาคเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับการค้าการลงทุนของประเทศไทยต่อประเทศอื่นๆ ทั่วโลกได้มากขึ้นเราพยายามที่จะสร้างและมุ่งเน้นในเรื่องของทางรัฐบาลและเอกชนในประเทศของเราให้ความร่วมมือซึ่งกันและกันฉะนั้นการลงทุนที่ชาวต่างชาติจะเข้ามาตัดสินใจจะลงทุนที่ประเทศไทยหรือไม่จะได้มีความมั่นใจเพิ่มมายิ่งขึ้น ขณะเดียวกันรัฐบาลให้ความสำคัญเน้นการลงทุนในเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัล หรือธุรกิจในอนาคต รัฐบาลไม่ได้ละเลยคิดว่าการพัฒนาศักยภาพบุคคลสำคัญมากและการให้นักลงทุนเข้ามา ให้ชาวต่างชาติเข้ามาทำงานเพราะเราเข้าใจดีว่าการศึกษาเรายังไม่สมบูรณ์แบบในเรื่องของเทคโนโลยี จึงมีนโยบายหนึ่งอำเภอหนึ่งทุน (ODOS) รวมถึงรัฐบาลมีแผนผลิตบุคลากรเพิ่มมากกว่า 80,000 คนและดึงดูดบุคลากรจากทั่วโลก เพื่อแลกเปลี่ยนการเรียนรู้และทำงานไปด้วย ทั้งนี้ การดึงดูดนักลงทุนให้เพิ่มมากขึ้น ทำให้การลงทุนง่ายมากยิ่งขึ้นและบรรยากาศน่าลงทุน เป็นสิ่งที่เวลาไปที่ไหนได้พบกับบริษัทต่างชาติ เขาจะพูดว่าขั้นตอนมันเยอะ อยากจะทำให้เป็นวันสต็อปเซอร์วิสให้เร็วที่สุด เราพยายามจะตัดขั้นตอน ที่ไม่จำเป็น เช่น การส่งเอกสาร 1 ครั้งต้องส่งไป 10 ที่ เพราะทุกองค์กรต้องการเอกสารฉบับนี้ เราส่ง 10 ที่ ทำให้เสียเวลาพอสมควร ซึ่งเราจะทำให้กระชับสั้นมากยิ่งขึ้น ดิฉันอยู่เอกชนมาก่อนเวลาส่งเอกสารต้องส่งไป 10 ที่ คิดว่าทุกคนก็คงเข้าใจเหมือนกันทุกองค์กรต้องการเอกสารฉบับนี้ส่ง 10 ที่จะทำอะไรที ก็เสียเวลาพอสมควร ฉะนั้นทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) พยายามจะทำในเรื่องนี้ให้กระชับมากยิ่งขึ้น เป็นบรรยากาศที่น่าลงทุนเพิ่มมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม วันนี้เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยทำลายสถิติใหม่ คือ ประเทศไทยได้รับส่งเสริมการลงทุนมีมูลค่ามากกว่า 1.13 ล้านล้านบาท ถือเป็นตัวเลขการลงทุนที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปี ซึ่งที่ผ่านมาต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่มีส่วนในการผลักดันในเรื่องนี้ และขอบคุณบีโอไอที่ทำงานอย่างหนัก ทำให้เห็นผลงานเป็นประจักษ์ตัวเลขที่สูงขึ้นในรอบ 10 ปีนี้ถือเป็นความน่าภาคภูมิใจของประเทศไทย จึงขอเน้นย้ำว่าการพัฒนาเศรษฐกิจการขับเคลื่อนเศรษฐกิจต้องอาศัยทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ภาคประชาชน ถ้าเราทำบรรยากาศของประเทศให้เป็นที่น่าลงทุนได้ เราจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจให้มั่นคงและยังยืนต่อไปได้

 

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

2. 'เอกนัฏ' บินถก 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ 'จีน' (ที่มา: มติชน, ประจำวันที่ 11 มีนาคม 2568)

นายเอกนัฏ พร้อมพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้นำคณะผู้บริหารระดับสูงเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 4-7 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา เพื่อกระชับความสัมพันธ์และหารือความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมกับบริษัทยักษ์ใหญ่ของจีน ได้แก่ GAC Group, BYD และ Huawei โดยชูจุดแข็งด้านยุทธศาสตร์ของไทย พร้อมส่งเสริมการลงทุน เพื่อไทยก้าวสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ พร้อมเน้นย้ำให้บริษัทมุ่งเน้นการพัฒนาซัพพลายเชนของไทย และยกระดับอุตสาหกรรมไทยสู่เวทีโลก ทั้งนี้ ในการหารือร่วมกับ GAC Group ได้ยืนยันความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการสนับสนุนการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในประเทศไทย เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ ซึ่ง GAC Group มีโรงงานตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดระยอง ส่วนการประชุมหารือร่วมกับ บริษัท BYD Auto Industry Co., Ltd. ได้ย้ำถึงนโยบายสนับสนุนรถยนต์พลังงานใหม่ของรัฐบาล แสดงความเชื่อมั่นว่า BYD จะเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า เอื้อให้ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญ พร้อมสนับสนุนแต่ก็ต้องการให้ BYD พัฒนาด้านต่างๆ ของไทย อาทิ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาธุรกิจ และการวิจัยและพัฒนา (R&D) มุ่งเน้นการร่วมมือ เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ ได้รับปาก BYD ว่าจะหารือเรื่องมาตรการลดภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการและผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางซัพพลายเชนยานยนต์ไฟฟ้า หรือดีทรอยต์แห่งเอเชีย ขณะที่การหารือกับบริษัท Huawei Technologies Co., Ltd. ได้ชื่นชมการพัฒนาเทคโนโลยีของบริษัท ซึ่งสามารถนำมาพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีของไทย เช่น ระบบ 5G AI Robotics และ Green Energy เพื่อตอลสนองต่อนโยบาย BCG และความเป็นกลางทางคาร์บอน พร้อมสนับสนุน Huawei ลงทุนในไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การพัฒนาดาต้าเซ็นเตอร์ และการพัฒนาฝีมือแรงงาน เพื่อสร้างบุคลากรรองรับในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ภาษีสรรพสามิตสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ปัจจุบันลดเหลือ 4% สำหรับรถยนต์ไฟฟ้าที่เข้าร่วมโครงการลงทุน มาตรการนี้จะหมดลงในปี 2025 กระทรวงจะนำเรื่องนี้ไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาต่อไป นอกจากนี้ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้ยืนยันว่าการส่งเสริมการลงทุนจะไม่ใช่แค่เรื่องของภาษี แต่รวมถึงการพัฒนาบุคลากรและซัพพลายเชนในประเทศไทยให้แข็งแกร่งขึ้น รวมถึงส่งเสริมการวิจัยและพัฒนา (R&D) เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรม ยานยนต์ไทย กระทรวงก็จะนำเรื่องดังกล่าวไปดำเนินการรวมถึงเรื่องของการปรับนโยบายภาษีเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและช่วยให้ บริษัทต่างชาติประสบความสำเร็จในการลงทุนในประเทศไทย

 

นายณัฐพล รังสิตพล

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

 

3. เพิ่มดีกรีการแข่งขันของเอสเอ็มอี บอร์ดกองทุนฯ เคาะ 4 โครงการสนับสนุน (ที่มา: แนวหน้า, ประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568)

นายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้เป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ครั้งที่ 3/256 โดยที่ประชุมได้มีการพิจารณาและเห็นชอบในหลักการ ร่างโครงการส่งเสริมและพัฒนาเอสเอ็มอี กองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 กรอบวงเงิน 20 ล้านบาท จำนวน 4 โครงการ เพื่อช่วยเหลือเพิ่มโอกาส และเสริมศักยภาพให้กับเอสเอ็มอีที่ต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ได้แก่ 1) โครงการเสริมแกร่งการเงิน เพิ่มทุนหนุนธุรกิจ (สุขใจ) วงเงิน 1.08 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนองค์ความรู้ SME ด้านการบริหารจัดการเงิน (Financial Literacy) และการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพ 2) โครงการยกระดับธุรกิจเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน (เปิดใจ) วงเงิน 10 ล้านบาท เพื่อยกระดับขีดความสามารถของ SME ในการปรับเปลี่ยนกระบวนการทางธุรกิจและการบริหารจัดการโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล หรือการปรับปรุงกระบวนการผลิตและบริการให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน 3) โครงการพัฒนาฮาลาลไทย รับรองได้ขายส่งออกชัวร์ (มั่นใจ) วงเงิน 7 ล้านบาท เพื่อเสริมสร้างศักยภาพอุตสาหกรรมฮาลาลไทยให้มีประสิทธิภาพและมาตรฐานในการขอรับรองเครื่องหมายฮาลาล และมีองค์ความรู้ในด้านการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลไปยังตลาดต่างประเทศ และ 4) โครงการพลิกชีวิต ฟื้นธุรกิจ ปรับหนี้ให้อยู่รอด (สู้สุดใจ) วงเงิน 1.92 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐกลุ่มเปราะบาง หรือลูกหนี้กลุ่ม NPL ที่ต้องการคำปรึกษาแนะนำในการแก้ปัญหาหนี้ หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้

อย่างไรก็ตาม ทางด้านนางสาวณิรดา วิสุทธิชาติธาดา ผู้ช่วยปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ กล่าวว่า ในการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐประจำกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 2/2568 ที่ประชุมฯได้มีมติอนุมัติสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ SME จำนวน 4 ราย รวมวงเงินทั้งสิ้น 7,800,000 บาทดังนี้ 1) โครงการสินเชื่อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ (เสือติดปีก) จำนวน 1 ราย และ 2) โครงการสินเชื่อเสริมสภาพคล่องธุรกิจ (คงกระพัน) จำนวน 3 ราย ซึ่งเป็นการพิจารณาเป็นไปตามกรอบหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อของกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีตามแนวประชารัฐ

 

ข่าวต่างประเทศ

A red flag with yellow stars

AI-generated content may be incorrect.

 

4. ส่งออกจีนพุ่ง 5.4 แสนล้านดอลลาร์ ธุรกิจเร่งล้างสต๊อกหนีผลกระทบภาษีทรัมป์ (ที่มา: สำนักข่าวอินโฟเควสท์, ประจำวันที่ 10 มีนาคม 2568)

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก เปิดเผยตัวเลขมูลการค่าส่งออกของจีนได้พุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์เมื่อช่วงต้นปีที่ผ่านมา หลังจากการที่สหรัฐฯ ตั้งกำแพงภาษีสูงขึ้นเรื่อยๆ ผลักดันให้ธุรกิจรีบขนส่งสินค้าก่อนที่ค่าขนส่งจะเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จากคำแถลงการณ์ของกรมศุลกากรจีนในช่วงสองเดือนแรกของปี พ.ศ. 2568 ยอดส่งออกจากจีนพุ่งขึ้น 2.3% หรือมูลค่า 5.4 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ยอดนำเข้าร่วงลงไป 8.4% ทำให้ยอดเกินดุลการค้าพุ่งขึ้นไปสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.71 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งพยากรณ์ตัวเลขโดยเฉลี่ยจากนักเศรษฐศาสตร์ คาดว่ายอดส่งออกจะโตขึ้น 5.9% และยอดนำเข้าโตขึ้น 1% ชี้ให้เห็นถึงสภาวะของประเทศค้าขายที่ใหญ่ที่สุดในโลกตั้งแต่ที่ประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ โดยเริ่มตั้งกำแพงภาษีต่อสินค้าจีน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ผ่านมา สหรัฐฯ เริ่มเก็บภาษีนำเข้า 10% กับสินค้าจีนทั้งหมด ซึ่งต่อมาได้เพิ่มเป็น 20% เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ทางด้านจีเหว่ย จาง ประธาน และหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ที่ Pinpoint Asset Management กล่าวว่า ความเสียหายต่อการส่งออกจีนจากภาษีนำเข้าสหรัฐฯ คาดว่าเผยออกมาในเดือนหน้า ซึ่งถึงแม้ภาคเทคโนโลยีจะยังเติบโตอยู่ก็ตาม อุปสงค์ภายในประเทศยังคงต่ำอยู่เนื่องจากภาคอสังหาริมทรัพย์ ยังไม่ฟื้นตัว ทั้งนี้ ยอดนำเข้าที่ลดลงแสดงให้เห็นถึงอุปสงค์ที่ยังคงอ่อนแอในประเทศ และยังแสดงให้เห็นว่าสภาวะของเศรษฐกิจจีนนั้นส่งผลกระทบถึงประเทศอื่นๆ ด้วย ซึ่งยอดนำเข้าของจีนตกลงไปต่ำที่สุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563

 

หมายเหตุ : ค่าเงินบาท อ้างอิงจากธนาคารแห่งประเทศไทย ราคาทองคำ อ้างอิงจากสมาคมค้าทองคำ ราคาน้ำมันและราคา NGV อ้างอิงจากราคาน้ำมันขายปลีกบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)